วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สื่ออินเดียตีข่าว!"เมืองมุมไบ"จัดใหญ่วันวิสาขบูชาวันสากลของโลก



วันที่ 21 พ.ค.2561 ตามที่ พระมหานพดล ปุญญัสสวัฑฒโก  ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพฯ รองคณบดีคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)  ได้เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 18-23 พฤษภาคม 2561 ได้รับความเมตตาจากพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดี มจร มอบหมายให้ไปปฏิบัติศาสนกิจแทน ในฐานะแขกรับเชิญกิตติมศักดิ์ผู้ทรงเกียรติคุณในการสัมมนาพุทธศาสนานานาชาติ เรื่องสันติภาพวัฒนธรรมและการสวดมนต์เฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสากลของโลก ประจำปี 2561 ณ เมืองมุมไบ และเมืองนาคปุระ รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย

งานสัมมนานานาชาติครั้งนี้ จัดขึ้นโดย...Ahilyabai Holkar Multipurpose Education Society โดยความร่วมมือและการสนับสนุนจาก...Yogeshwar Multipurpose Education Society,Mahatma Pule Vikas Mahamandal, World Alliance of Buddhists Nagpur Regional Center and The Buddhist Society of India.

การไปสัมมนาครั้งนี้ ได้เตรียมพระไตรปิฏกฉบับสากลหรือ Common Buddhist Text (CBT) ผลงานนวัตกรรมของ มจร ร่วมกับและสมาคมวิสาขบูชาโลก   (ICDV) และหนังสือประวัติของ มจร ไปเผยแพร่แนะนำต่อที่ประชุมสัมมนาพระพุทธศาสนานานาชาติด้วย 

"การสนองงานพระพุทธศาสนาสถาบันการศึกษา มจร ของคณะสงฆ์ไทย รัฐบาลไทย และสถาบันการศึกษาของพุทธศาสนิกชนไทยและชาวพุทธทั่วโลกครั้งนี้ เพื่อร่วมเชิดชูพระเกียรติคุณพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าและคุณูปการของพระพุทธศาสนาที่มีต่อการพัฒนามนุษย์ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันด้วยความรักความเมตตาความเข้าใจอันดีในกาส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือกันสร้างสันติภาพโลก" 

ปรากกว่า หนังสือพิมพ์ฉบับวันที่ 20 พ.ค.นี้ได้รายงานสกู๊ปข่าวเหตุการณ์การเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสากลของโลกดังกล่าว

ขณะที่พิธีเฉลิมฉลงวันวิสาขบูชาโลก ครั้งที่ 15 ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพหลัก ตั้งแต่วันที่ 25-27 พฤษภาคม 2561  โดยมีการประชุมวิชาการนานาชาติที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา  ทั้งนี้จะมีการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการ ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ราชดำเนินนอก กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2561 

สำหรับการจัดงานเฉลิมฉลองครั้งนี้ ได้มีการประชุมวิชาการนานาชาติแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ (1) พระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์ (Buddhist Contribution to Human Development) (2) การศึกษาเชิงพุทธกับการเสริมสร้างพลังของเยาวชน Empowering youth through Buddhist Education (3) การอนุรักษ์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในโลกที่เชื่อมโยงกัน (Preservation Cultural Identity in Inter-Connected World) และ (4) พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างสวัสดิการสังคม (Engaged Buddhist for Social Welfare) พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีมติให้เชิญนักวิชาการที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกมานำเสนอประสบการณ์ทำงานมานำเสนอในเวทีของการเฉลิมฉลองครั้งนี้ด้วย

พร้อมกันนี้ได้มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฏกฉบับสากลภาษาไทย เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญของโลก ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนรับได้ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 ตามลิ้งค์นี้  

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSeusMGUjj0gQAUiKpq72vRQgaRGNGs-QozKBg36CImTBtQoKw/viewform



............


(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากเฟซบุ๊ก Nopadol Saisuta)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์สาราณิยาทิวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์

  วิเคราะห์สาราณิยาทิวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ปฐมปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ ในพ...