วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

"รองอธิการบดีมจร"แนะบัณฑิตนำความรู้คู่คุณธรรมนำดำเนินชีวิต นับเป็นความงดงามของมหาบัณฑิตและดุษฏีบัณฑิตทางพระพุทธศาสนา




วันที่ 5 พ.ค.2561 ตามที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เป็นมหาวิทยาลัยในคณะสงฆ์ไทย กำหนดจัดพิธีประสาทปริญญาบัตรระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค. 2561 ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุทธยา โดยมีผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ จนถึงระดับปริญญาเอกทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติรวมทั้งสิ้น 5,062 รูปคน โดยแบ่งเป็น 1. ระดับปริญญาตรี บรรพชิต 1,983 คฤหัสถ์ 1,810  รวม 3,793 รูป/คน 2. ระดับปริญญาโท บรรพชิต 588 คฤหัสถ์ 243       รวม 831 รูป/คน
3. ระดับปริญญาเอก บรรพชิต 135 คฤหัสถ์ 162      รวม 297 รูป/คน รวมทั้งหมด บรรพชิต 2,706 คฤหัสถ์ 2,215          เป็น 4,921 รูป/คน ในจำนวนนี้มีนิสิตของหลักสูตรสันติศึกษาปริญญาโท จำนวน  10  รูป/คนสำเร็จการศึกษา 



และวันนี้(5พ.ค.) ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ได้มีพิธีซ้อมรับปริญญามหาบัณฑิตดุษฏีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย  โดยพระราชปริยัติกวี ศ.ดร.รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ  มจร กล่าวในการปิดพิธีซ้อมความว่าขอแสดงความยินดีกับมหาบัณฑิตและดุษฏีบัณฑิตทุกท่าน กับการสำเร็จการศึกษาถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิต บัณฑิตในความหมายทางพระพุทธศาสนาหมายถึง การดำเนินชีวิตด้วยปัญญา บัณฑิตจึงต้องมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิตในการใช้ชีวิต 



"พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่าบัณฑิตเป็นบุคคลที่มีปกติด้วยการ "คิดดี พูดดี ทำดี" ถือว่าเป็นคุณลักษณะของบัณฑิต ในทางพระพุทธศาสนา และสิ่งที่เป็นตัวชี้วัดของบัณฑิตทางพระพุทธศาสนา คือ "ฟังมาก จำได้ พูดคล่อง ขึ้นในใจและสามารถขบคิดต่อยอดความรู้ในเชิงวิชาการ" คุณภาพชีวิตของบัณฑิตในทางพระพุทธศาสนาจะต้องประกอบด้วย " ไม่วิตกกังวลใจ มีความปิติ มีความอิ่มใจ มีความสงบใจ" ปีติจึงเป็นอาหารที่หล่อเลี้ยงชีวิตในการจบการศึกษา ชีวิตเราจึงพยายามสร้างปีติในแต่ละวัน ถ้าทั้งชีวิตไม่มีปีติต้องถามตนเองว่าเกิดมาทำไม"  



ดังนั้น ความเป็นบัณฑิตในทางพระพุทธศาสนาจะต้องดำเนินชีวิตด้วยปัญญาไม่ว่าชีวิตจะมีความทุกข์อย่างไรก็ตามจะต้องใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาชีวิต ไม่ใช้อารมณ์ในการแก้ปัญหาชีวิต นี่คือสิ่งที่บัณฑิตมหาจุฬามีความแตกต่างจากบัณฑิตจากที่อื่นๆ ด้วยคำว่า "แม้จะทุกข์ปานใดก็ไม่ทิ้งธรรม" ธรรมะของพระพุทธเจ้าจึงเป็นเครื่องนำพาชีวิตให้มีความสุขและเป็นเครื่องมือป้องกันจากภัยต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต





......................

(หมายเหตุ : ขอบคุณข้อมูลจากPramote OD Pantapat พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร)




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย

การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...