วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

นักวิชาการระดับโลกชาวอังกฤษเผยเคล็ดฝรั่งสนใจพุทธ



นักวิชาการระดับโลกชาวอังกฤษเผยเคล็ดฝรั่งสนใจพุทธ  เหตุเรียนปริยัติควบคู่ปฏิบัติอย่างสมดุล แนะหากเรียนไม่ปฏิบัติเกิดภาวะปริยัติงูพิษ 


วันที่ 14 พ.ค.2561 ศ.ดร.ปีเตอร์ ฮาร์วีย์ (Prof. Dr. Peter Harvey) นักวิชาการระดับโลก จากประเทศอังกฤษ บรรณาธิการหนังสือพระไตรปิฏกฉบับสากลที่ทำงานร่วมกับพระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)   หลังจากเดินทางมารับประทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนา ของ มจร จากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (อัมพร อัมพโร) ในพิธีประสาทปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต ประจําปี 2561 ของ มจร  แบ่งเป็นบรรพชิต  2,706 รูป และคฤหัสถ์ 2,215 คน รวมทั้งหมด 4,921 รูป/คน เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2561 ที่อาคาร มวก. 48 พรรษา  มจร  อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยาที่ผ่านมา 




ในโอกาสอันดียิ่งนี้วิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติ มจร ภายใต้การนำของพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา ในฐานะผู้ประสานงานและทีมกองบรรณาธิการ มจร เชิญ ศ.ดร.ปีเตอร์ ฮาร์วีย์ บรรยายแก่นิสิต วิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติ สาขาสันติศึกษา และประชาชนทั่วไป ในจำนวนนี้มีพระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร เข้าร่วมรับฟังด้วย

พระอาจารย์ปราโมทย์ กล่าวว่า ถือเป็นโอกาสรับฟังแนวคิดมุมมองแรงบันดาลใจจาก Prof. Dr. Peter Harvey ในฐานะที่ท่านได้สร้างงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนาและเป็นอาจารย์สอนสมถะกรรมฐานมากว่า ๑๐ ปีที่ประเทศอังกฤษ พร้อมทั้งเป็นบรรณาธิการหนังสือพระไตรปิฏกฉบับสากล ฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งกำลังจัดพิมพ์ฉบับปรับปรุงครั้งที่ ๒ เพื่อแจกในงานวิสาขโลก




ศ.ดร.ปีเตอร์ ฮาร์วีย์ มีพื้นฐานทางปรัชญาจบปริญญาตรี-โท-เอกในสาขาปรัชญาเป็นนักวิชาการและนักปฏิบัติในเวลาเดียวกัน กล่าวว่า "ปริยัติหรือวิชาการเป็นเหมือนกับแผนที่ ในขณะที่การปฏิบัตินั้นเป็นเหมือนกับการเดินตามแผนที่โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการเข้าถึงความสุขที่แท้จริง" ในเชิงวิชาการได้่เขียนหนังสือหลายเล่ม เช่น ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พุทธจริยศาสตร์ หลักการและวิธีการปฏิบัติสมถกรรมฐาน และรวมถึงการเป็นบรรณาธิการหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสากล แสดงว่าปริยัติเป็นสะพานเพื่อเชื่อมไปสู่การปฏิบัติพระพุทธเจ้าจึงทรงย้ำว่า ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ แต่ถ้าศึกษาปริยัติไม่ปฏิบัติจะทำให้เกิดปริยัติงูพิษ จึงต้องปฏิบัติควบคู่กันอย่างสมดุล มหาจุฬาฯจึงเรียนปริยัติและศึกษาปฏิบัติควบคู่กัน ภายใต้คำว่า "วิชายอด จรณะเยี่ยม" 

มหาจุฬาฯจึงเป็นแหล่งรวมของนักปราชญ์จากทั่วโลกในด้านพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นไปตามความมุ่งหวังของท่านอธิการบดีว่า "เราไม่ได้สร้างมหาจุฬาฯเพื่อประโยชน์ของชาวมหาจุฬาฯเท่านั้นแต่เราสร้างมหาจุฬาฯเพื่อประโยชน์ของชาวโลก: Mahachula was not built for just the benefit of fellow Mahachulians, but forthe benefit of all beings of the world."มหาจุฬาจึงตั้งวิทยาลัยพุทธศาสตรนานาชาติเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวโลกในมิติทางพระพุทธศาสนาเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขผ่านพระพุทธศาสนาทุกนิกาย 

คำถามทำไมฝรั่งจึงมีความสนใจเรียนรู้พระพุทธศาสนาทั้งปริยัติและปฏิบัติ คำตอบคือ พระพุทธศาสนาสามารถตอบโจทย์ชีวิตของมนุษย์ในมิติทางด้านจิตใจและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ทำให้ศาสตราจารย์"ได้ศึกษาวิชาการและการปฏิบัติ" ด้วยวัย 67 ปี มีการเจริญสติ หัวเราะ สวดมนต์ ทำสมาธิ ท่านจึงเป็นแบบอย่าง จึงสะท้อนว่าคำสอนทางพระพุทธศาสนาสามารถตอบโจทย์ชีวิตคนทั้งโลก ถ้าเราศึกษาให้เข้าถึงแก่นแท้ และปฏิบัติอย่างถูกต้อง เสน่ห์ของท่านคือ ไม่ใช่เก่งเฉพาะวิชาการแต่ท่านนำวิชาการมาสู่การปฏิบัติจนเป็นวิถีชีวิตวิถีพุทธอย่างแท้จริง สมกับที่มหาจุฬาฯมอบปริญญากิตติมศักดิ์ สาขาพระพุทธศาสนาในบุคคลระดับโลกเพื่อสร้างโลกให้เกิดสันติสุข ดังนั้น เมื่อเราเจอบุคคลที่ศึกษาในมิติทางพระพุทธศาสนาจนเป็นที่ยอมรับของโลก เราจึงควรเรียนรู้เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ 

"Ibsc จึงเป็นแหล่งรวมของนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมิติทางพระพุทธศาสนาเถรวาท มหายาน วัชรยาน จึงเป็นบรรยากาศแห่งความสุขในการเรียนรู้ ทำให้พระพุทธศาสนามีชีวิต"พระอาจารย์ปราโมทย์ ระบุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: สัจจะคู่ชีวิตแห่งปติพพตาวิมาน

   ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ในชีวิตที่ข้าเดินผ่านมา มั่นในศรัทธา รักเดียวต่อคนคู่ใจ จิตไม่...