วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561
สติศึกษาเป็นฐานพัฒนาทักษะศตวรรษที่21
วันที่ 19 ธ.ค.2561 เฟซบุ๊ก Hansa Dhammahaso ได้โพสต์ข้อความว่า
#สติศึกษา #MindfulnessEducation
#สตินวัตกรรม #MindfulnessInnovation
#การเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน
#MindfulnessBasedLearning
17-20 ธันวาคม 2561 โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ: นักวิชาการ และนักปฏิบัติ ด้านพระพุทธศาสนา ด้านการศึกษา ด้านจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก ด้านสังคม ด้านสื่อ ด้านกิจกรรม ด้านการฝึกอบรม ทั้งระดับประถม มัธยม มหาวิทยาลัย กำลังผนึกกำลังกันสร้างนวัตกรรมด้านสติศึกษา อันมีการออกแบบและพัฒนาการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน เป็นเครื่องมือสำคัญในการนำไปใช้เป็นกระบวนการเรียนรู้ของเด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ครั้งนี้จึงเป็นครั้งแรกที่มีการระดมและหลอมรวมผู้เชี่ยวชาญจากทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมแรงร่วมใจระสมองกันทำงานมาอย่างต่อเนื่อง ตั่งแต่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นมา ผ่านการประชุมอย่างเป็นทางการมา 4 ครั้ง ภายใต้การสนับสนุนการทำงานของ สพฐ. กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อมุ่งหวังให้ทันการใช้งานจริงในภาคการศึกษาที่ 1/2562
สติศึกษาที่มีการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน เป็นการประยุกต์จากแนวทางที่ปรากฏในมหาสติปัฏฐานสูตร อันเป็นการถอดฐานทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม มาออกแบบเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน โดยเริ่มจากการใช้สติเข้าไปกำหนดให้รู้เท่าอิริยาบทย่อยผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวของร่างกาย การวาดภาพ จัดดอกไม้ การเล่นเกม เล่นกีฬา ปลูกต้นไม้ ร้องเพลงสติ และอื่นๆ
การเรียนรู้พระพุทธศาสนาในวิถีชีวิต จึงเป็นเน้นไปที่การเรียนเพื่อพัฒนาตัวรู้ให้เกิด เพื่อให้ตัวรู้ไปกระตุ้นความรู้อันเกิดจากการปฏิบัติและทดลอง สติจะทำหน้าที่เป็นฐานสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถรู้สึกตัวทั่วพร้อม รู้เท่าทัน ไม่หวั่นไหว และมีปัญญาในการดำเนินชีวิต แนวทางนี้ จึงสะท้อนพัฒนาการขององค์ธรรมตั้งแต่สติ สมาธิ และปัญญาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนในทุกวินาทีของการใช้ชีวิต ทั้งในบ้าน ชุมชน และโรงเรียน
จุดเริ่มต้นของชีวิตมีสติเป็นรากฐานสำคัญ การเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐานจึงสอดรับกับวิถีแห่งพุทธะตั้งแต่วัยเยาว์ตราบจนบรรลุนิพพาน แรกตรัสรู้ทรงตรัสสอนเรื่องสัมมาสติ แล้วขยายเป็นสติปัฏฐาน จนล่วงสู่ก่อนการบรรลุนิพพานได้ฝากมรดกธรรมเรื่องความไม่ประมาท อันหมายถึงการมีสติทุกห่วงเวลาของลมหายใจ การกลับมามุ่งเน้นสติจึงการกลับมาหารากฐานสำคัญของชีวิต
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปลูกสติให้เกิดขึ้นในจิตใจของนักเรียนที่เป็นอนาคตของชาติ เด็กรักษาสติเอาไว้ไม่ได้ ก็ไม่สามารถรักษาชีวิตเอาไว้ได้ เมื่อนั้น จึงเป็นการยากที่เด็กจะทำหน้าที่รักษาครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"สำนักสงฆ์ป่าสิริจันทร์" ยังฝึกกรรมฐานศพ พบเป็นอารมณ์กรรมฐานในพระไตรปิฎก
อารมณ์กรรมฐาน 40 ประการในพระไตรปิฎกมีคุณค่าในการพัฒนาจิตใจและส่งเสริมความสงบสุขในสังคม การประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องและรอบคอบจะช่วยให้สังคมไทยม...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น