วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2561
ซึ้งในรสพระทำ!อีสปอร์ต : 'อี' ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาวะเด็ก
วันพฤหัสบดีที่ 21ธันวาคม 2561 เฟซบุ๊ก Phramaha Boonchuay Doojai ได้โพสต์ข้อความว่า 11th National Health Assemble (4) “อีสปอร์ต : ‘อี’ ปลอดภัย ใส่ใจสุขภาวะเด็ก”
ในเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 พ.ศ.2561 ปีนี้ ยังมีระเบียบวาระที่สำคัญอีกวาระหนึ่งที่นำเข้าสู่การพิจารณา เพื่อเสนอนโยบายสาธารณะในการจัดการปัญหา ได้แก่ “ความรับผิดชอบร่วมทางสังคมเกี่ยวกับอีสปอร์ตต่อสุขภาวะเด็ก” (E-Sports: Social Responsibility for Child Health)
ประเด็นสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นข้อเสนอเพื่อสร้าง “ความรับผิดชอบร่วมเกี่ยวกับอีสปอร์ตต่อสุขภาวะเด็ก” ครั้งนี้ เกิดขึ้นจากปรากฏการณ์การจัดการแข่งขันอีสปอร์ตที่เป็นไปอย่างกว้างขวาง แพร่หลาย โดยขาดมาตรการ กฎเกณฑ์ หรือกติกาในการปกป้องคุ้มครองเด็กอย่างเหมาะสม ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล ความแพร่หลายของการสื่อสารเพื่อการโฆษณาเชิญชวนให้เด็กเข้าร่วมการแข่งขันอีสปอร์ต ทั้งยังมีจำนวนเด็กติดเกมที่ใช้แข่งขันอีสปอร์ตเพิ่มมากขึ้น อันเป็นปัญหาสำคัญที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น นับจากการรับรองให้อีสปอร์ตเป็นกีฬา โดยการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.)
ดังนั้น จึงสามารถแยกวิเคราะห์ประเด็นปัญหาต่าง ๆ ได้ดังนี้
ปัญหาเรื่องความไม่พร้อมของการมีมาตรการ กฎเกณฑ์และกติกา ในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอีสปอร์ต
ปัญหาเรื่องการสื่อสารเกี่ยวกับความหมายของอีสปอร์ต ที่นำไปสู่การจัดการแข่งขันอย่างแพร่หลาย
ปัญหาการขาดความรู้เท่าทันและถูกต้องเกี่ยวกับอีสปอร์ต รวมถึงนิเวศเศรษฐกิจของอีสปอร์ต
เพื่อให้เกิดความรับผิดชอบร่วมทางสังคมเกี่ยวกับอีสปอร์ต อันจะนำไปสู่การปกป้องคุ้มครองเด็กและสร้างสุขภาวะให้แก่เด็กตามช่วงวัยอย่างเหมาะสม จึงเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
การเตรียมความพร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ
เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล
เกมออนไลน์กิจการโทรคมนาคม การศึกษา การดูแลสุขภาวะเด็ก ให้สามารถป้องกัน ปกป้องคุ้มครอง และเยียวยาปัญหาอันเนื่องมาจากผลกระทบทางสุขภาวะจากอีสปอร์ตได้ โดยควรร่วมกันกำหนดแนวปฏิบัติ หรือมาตรการป้องกันเด็กและเยาวชนในการเข้าถึงเกมออนไลน์
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อศึกษา ทบทวน และกำหนดแนวทางการสื่อสารเกี่ยวกับอีสปอรต์ ในมิติต่าง ๆ ที่ถูกต้อง หลากหลาย และครอบคลุมทุกด้าน รวมทั้งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ได้รับการยอมรับจากสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
การส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ
ที่มีเนื้อหาเป็นเกมการแข่งขันออนไลน์ ควรมีการส่งเสริมการให้การรู้เท่าทันสื่อ เท่าทันอีสปอร์ต ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและทั่วถึง ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัวโรงเรียน ชุมชน และระดับชาติ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ อีสปอร์ตในทุกมิติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบทางลบ เช่น โรคติดเกม การพนันจากเกม อาชญากรรมทางเทคโนโลยี ผลการเรียนตกต่ำ และสุขภาพร่างกายและจิตใจของเด็กและเยาวชน
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ได้เห็นชอบมติ “ความรับผิดชอบร่วมทางสังคมเกี่ยวกับอีสปอร์ตต่อสุขภาวะเด็ก” (E-Sports: Social Responsibility for Child Health) โดยในมตินี้ “องค์กรศาสนา” ซึ่งหมายรวมถึง “องค์กรพระพุทธศาสนา” ด้วยนั้น ได้ถูกระบุในนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ให้ร่วมกับหน่วยงานองค์กรเจ้าภาพและภาคีเครือข่ายได้กำหนดแนวปฏิบัติ หรือมาตรการและแนวทางการบังคับใช้เกี่ยวกับการจัดกิจกรรมอีสปอร์ตที่ปลอดภัย เป็นธรรม โปร่งใส โดยเปิดเผยและครบถ้วนรอบด้าน เพื่อปกป้องและคุ้มครองเด็กทั้งในฐานะผู้ชมและผู้เข้าแข่งขันอีสปอร์ต
ส่วนในรายละเอียดว่าจะเข้าไปมีส่วนร่วมลักษณะไหน แค่ไหน อย่างไรนั้น เป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก เพราะไม่แน่ใจว่า “องค์กรศาสนา” ที่โดยทั่วไปจะให้ความสนใจใน “คำสอนทางศาสนา” เป็นหลักนั้น จะรู้จัก “อีสปอร์ต” แค่ไหน เพียงไร ???
หากได้เริ่มศึกษาเพื่อให้รู้จัก “อีสปอร์ต” เสียแต่ตอนนี้ ก็จะเป็นที่พึ่งของ
สังคมยุคดิจิทอล
ได้ ในการร่วมสร้างระบบและกลไกการเฝ้าระวัง เพื่อให้เกิดการสอดส่องดูแล เป็นหูเป็นตา ร้องเรียน หรือบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อปกป้องเด็กเยาวชนซึ่งเป็นศาสนิกได้
สถานศึกษา ศูนย์การเรียนรู้ไอซีทีชุมชน (ซึ่งจำนวนไม่น้อยตั้งอยู่ในวัดและศาสนสถาน) ร้านเกม ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพให้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับอีสปอร์ตอย่างถูกต้องและทั่วถึง โดยผ่าน
กระบวนการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
สำหรับเด็กเป็นการเฉพาะ รวมถึงการบรรจุเรื่อง “อีสปอร์ต” เป็นสาระการเรียนรู้ในรายวิชาพื้นฐานในหลักสูตรของสถานศึกษา ด้วย
เมื่อทุกภาคส่วนรู้เท่าทัน “อีสปอร์ต” ก็สามารถร่วมรับผิดชอบสังคม ปกป้อง คุ้มครอง และสร้างความปลอดภัยให้แก่เด็ก ให้มีสุขภาวะที่ดี เพื่อ “อนาคตที่ดี” ของประเทศชาติด้วย
ขอบคุณข้อมูล ภาพ และสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่:
https://www.samatcha.org/…/default/files/…/1102_res_11_3.pdf
http://nha11.samatcha.org/…/20c0068b-6647-43c4-a55d…/preview
http://nha11.samatcha.org/…/4bce1c52-0c17-4970-a5ec…/preview
https://www.healthstation.in.th/action/viewvideo/4633/
https://www.youtube.com/watch?v=QWscOzYAMU4
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"สำนักสงฆ์ป่าสิริจันทร์" ยังฝึกกรรมฐานศพ พบเป็นอารมณ์กรรมฐานในพระไตรปิฎก
อารมณ์กรรมฐาน 40 ประการในพระไตรปิฎกมีคุณค่าในการพัฒนาจิตใจและส่งเสริมความสงบสุขในสังคม การประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องและรอบคอบจะช่วยให้สังคมไทยม...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น