วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561
#พระพุทธศาสนา ได้รับการโหวตให้เป็น #ศาสนาที่ดีที่สุดในโลก โดย สมบัติ ศีลสาร
คณะกรรมการเพื่อความก้าวหน้าทางศาสนาและจิตวิญญาณ -Internation Coalition for the Advancement of Religious and Spirituality (ICARUS) ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้ลงมติโหวตให้พระพุทธศาสนาเป็น “ศาสนาที่ดีที่สุดในโลก”
จากการรวบรวมสถิติต่างๆประจำปีต่อเรื่องเกี่ยวกับศาสนาที่ได้พัฒนาก้าวหน้าอย่างมากในการก่อให้เกิดความมีมนุษย์สัมพันธ์และสันติภาพ ของสมาพันธ์นานาชาติ เพื่อความก้าวหน้าของศาสนาและจิตวิญญาณที่นครเจนีวา The Geneva- based International – Coalition for the advancement of Religious and Spirituality ( ICARUS ) ได้เลือกที่จะมอบรางวัลพิเศษประจำปีนี้ให้แก่ชุนมชนพุทธศาสนา
คุณ Hans Grochlichen ผู้อำนวยการองค์กร ICARUS กล่าวไว้ในการประชุมทางโทรศัพท์เมื่อวันจันทร์ว่า พวกเรามักนิยมชมชอบศาสนาที่ขับเคลื่อนดำเนินการที่สามารถควบคุมได้ ( an under-the redar approach ) เนื่องจากเราพยายามที่จะยกย่องความพอดีเหมาะสมของเรื่องจิตวิญญาณให้ปรากฏแพร่หลาย แล้วก็ได้พบแล้วในครั้งสำคัญนี้ ด้วยเหตุที่ว่าศาสนาสำคัญๆได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดความแตกแยกและปลุกเร้าให้เกิดความชิงชังมากกว่าที่จะทำให้เกิดความร่วมมือ สามัคคีสมัครสมานกัน พวกเราจึงมีความรู้สึกว่า จำเป็นต้องสร้างสิ่งพิเศษที่ไม่เคยมีมาก่อน นั่นคือ รางวัล “ศาสนาที่ดีที่สุดในโลก” ทำให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้นำศาสนาอื่นๆได้เห็นถึงความเป็นไปได้ ที่จะทำให้คนเรามีความเมตตาเห็นอกเห็นใจกัน
คุณ Hans Grochlichen ยังกล่าวว่า รางวัลนี้มีผู้ออกเสียงจากผู้นำศาสนาและจากทุกส่วนต่างๆของผู้มีความเชื่อถือทางจิตวิญญาณมากกว่า 200 ท่านทั่วโลก น่าสนใจอย่างมากที่ไม่ปรากฏมาก่อนเมื่อเราแจ้งเกณฑ์ในการออกเสียง (ให้คะแนน) ผู้นำศาสนาต่างๆ จำนวนมากออกเสียงให้พุทธศาสนามากกว่าศาสนาของตนเอง จริงๆ แล้วเมื่อรวมเทียบกับสมาชิกของเราทั้งหมด พุทธศาสนิกชน เป็นคนกลุ่มน้อย จึงเป็นเรื่องที่ประหลาดและตื่นเต้นอย่างยิ่งที่พุทธศาสนาได้รับการคัดเลือกชนะศาสนาอื่นๆ
เรื่องที่สอบถามในการลงคะแนนคัดเลือกออกเสียง เช่น เรื่อง 1. การส่งเสริมสนับสนุนส่วนบุคคล 2. การส่งเสริมความสงบสุขในชุมชน 3. การเพิ่มพูนความเอื้ออาทรต่อกัน 4. ความรู้สึกที่เป็นมิตรกัน 5. และการกระตุ้นส่งเสริมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ คุณ Hans Grochlichen กล่าวอีกว่า ปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดสำหรับพวกเราก็คือ องค์กร ICARUS ได้ก่อตั้งขึ้นโดยประชาชนผู้มีความเชื่อทางจิตวิญญาณและศาสนาที่ต้องการจะนำแนวคิดการไม่ทารุณโหดร้ายเบียดเบียนทำลายกัน ให้เป็นเรื่องหรือสิ่งสำคัญของสังคมชุมชน หนึ่งในคำถามที่สำคัญในขบวนการออกเสียงลงคะแนน ก็คือศาสนาอะไรไม่ใช่ความเบียดเบียนโหดร้ายทารุณรุนแรงอย่างแท้จริง
เมื่อมีการนำเสนอข้อมูลต่างๆ ให้แก่สมาชิกที่ออกเสียงลงคะแนนได้ของสมาพันธ์ ICARUS ก็พบว่าแต่ละศาสนาที่ลงคะแนนเสียงนั้นรวมแล้ว 38 ศาสนา มีการลงคะแนนเสียงอย่างกว้างขวางนำเสนอพื้นเพของตน ปรัชญา และบทบาทของศาสนานั้น ในด้านการปกครองและการสงคราม
JONNA HULT ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ Research ของ ICARUS กล่าวว่าไม่เป็นเรื่องน่าประหลาดอะไรเลยสำหรับข้าพเจ้าที่ว่า ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ดีที่สุดในโลก เพราะเราพบว่าไม่มีหลักฐานใดๆ สักนิดเดียว กล่าวถึงสงครามการต่อสู้ที่มาจากพุทธศาสนาในทางกลับกัน ศาสนาอื่นๆ แทบทุกศาสนาดูเหมือนว่าจะเก็บปืนไว้ข้างกาย แม้พระเจ้าก็ยังผิดพลาดได้ เราแทบจะไม่ค่อยเจอข่าวว่า มีพระภิกษุสักหนึ่งรูป เคยอยู่ในสงคราม ( a Buddhist that had ever been in an army ) พุทธศาสนิกเหล่านั้นยังปฏิบัติตามสิ่งที่พระสอนตามหลักธรรม ในขอบเขต พวกเราแทบจะไม่ได้พบเห็นเรื่องอย่างนี้กับประเพณีทางจิตวิญญาณอื่นๆ
อย่างน้อยก็มีพระคาทอลิกรูปหนึ่งได้กล่าวถึงศาสนาพุทธ ชื่อบาทหลวง TED O’ Shaughnessy จากเมือง Belfast โปรตุเกส ว่ายิ่งข้าพเจ้ารักโบสถ์คาทอลิกมากเท่าไร ก็ยิ่งทำให้ข้าพเจ้าลำบากใจมากเท่านั้นจนไม่มีทางออก เมื่อข้าพเจ้าเทศน์เรื่อง ความรักตามพระคัมภีร์ แล้วก็อ้างถึงความประสงค์ของพระเจ้าเมื่อมีการฆ่ามนุษย์อื่นๆ กัน ด้วยเหตุผลนี้แหละทำให้ข้าพเจ้าเลือกที่จะลงคะแนนให้กับศาสนาพุทธและของศาสนาอิสลาม
มีผู้สอนศาสนาชื่อ Tal Bin Wassad จากประเทศปากีสถานแสดงความเห็นเดียวกันผ่านล่ามว่า ขณะที่ข้าพเจ้าก็เป็นคนมุสลิมที่เคร่งครัดคนหนึ่ง ก็ได้เห็นมากมายถึงความโหดร้ายทารุณและการนองเลือดที่แสดงออกทางศาสนามากกว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของตนเอง ชาวพุทธทั้งหลายมีวิธีแก้ปัญหา (ไม่มีการปรากฏเช่นนั้น) ( The Badolhists have that figured out ) ท่าน Bin ซึ่งเป็นสมาชิกที่ออกเสียงลงคะแนนของสมาพันธ์ ICARUS เพื่อชุมนุมมุสลิม ในปากิสถานยังกล่าวต่ออีกว่า “ความจริง ข้าพเจ้ามีเพื่อนมากมาย เพื่อนที่ดีที่สุดของข้าพเจ้าบางคนเป็นชาวพุทธ”
คุณ RABBL SHMUEL WASSERSTIEN จาก เยรูซาเลม อิสราเอล กล่าวว่า แน่นอน ข้าพเจ้ารักในศาสนายิวและคิดว่าเป็นศาสนาที่ดีที่สุดในโลก แต่ด้วยความสัจจ์จริงแล้ว ข้าพเจ้าปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานทุกวัน ก่อนทำการสอนมนต์ตามประเพณียิวตั้งแต่ปี 1993 ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเข้าใจศาสนาพุทธดี
Grochlichen ผู้อำนวยการ ICARUS กล่าวว่าโครงการนี้ทำขึ้นมาเพื่อเป็นรางวัลแก่ศาสนาพุทธ อย่างไรก็ตามยังมีอุปสรรคอยู่นั้นเอง เมื่อวันอังคาร Grochlichen ได้กล่าวในการติดตามทางโทรศัพท์ “เราไม่สามารถหาผู้ใดที่จะมอบรางวัลนี้ได้เลย พุทธศาสนิกชนที่เราติดต่อไปต่างพูดอย่างเดียวกันว่า เขาเหล่านั้นไม่ต้องการรางวัลอะไร ผู้อำนวยการ Grochlichen ยังอธิบายถึงพฤติกรรมที่แตกต่างออกไปว่า โดยทั่วไปแล้วเขาเหล่านั้นทุกคนต่างพูดว่าศาสนา เป็นประเพณีทางปรัชญาอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ศาสนา แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้ทำให้เปลี่ยนแปลงไปจากความจริงที่ว่า พวกเราได้เรียนรู้ถึงปรัชญาในความรับผิดชอบส่วนบุคคล การถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นของพวกเขาเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในโลก และมีความสำคัญมากที่สุดสำหรับทุกคนที่จะต้องเผชิญความท้าทายต่างๆ ในศตวรรษหน้านี้”
เมื่อถามว่าทำไมกลุ่มชาวพุทธในพม่าจึงปฏิเสธที่จะรับรางวัลนี้
พระสงฆ์พุทธชาวพม่า ชื่อ BHANTE GHURATA HANTA กล่าวว่า พวกเรามีความยินดีที่ได้รับทราบถึงรางวัลในครั้งนี้ แต่เราขอมอบรางวัลนี้ให้แก่มนุษยชนทุกคน เพราะว่าธรรมชาติของความเป็นชาวพุทธมีอยู่กับพวกเราทุกคนอยู่แล้ว
ขอบคุณเวปไซต์ dhamma.serichon.us
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนะนำหนังสือนิยายอิงธรรมะ: มนต์รักจีพีที
เนื้อหาหนังสือนิยายอิงธรรมะ: มนต์รักจีพีที บทนำ ฉากเปิด : สันติเดินทางกลับบ้านเกิดในชนบท หลังผิดหวังจากชีวิตในเมืองใหญ่และความรักที่ไม่สมห...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น