วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2561
จริต ๖ กับการเป็นคนประเภท "สังคมบกพร่อง" ?
มีพุทธพจน์ที่ว่าการเกิดยาก และการเกิดเป็นมนุษย์นี้ยากกว่า เพราะเมื่อตายไปแล้วไม่รู้ว่ากรรมที่มีจะพาไปเกิด ณ ที่แห่งใด กรรมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ "การเกิดและสถานที่เกิดปรากฏชัด" เช่น ทำกรรมดีก็ไปเกิดในที่ ในตระกูลที่ดี และที่ที่ไปเกิดก็เป็นสถานที่ซึ่งมีความพร้อมมูลรองรับ ผิดกับการทำกรรมไม่ดีไว้ก็จะส่งผลทำให้ไปเกิด ณ สถานที่ที่ไม่ดี ตระกูลต่ำและมีแต่ความยุ่งยากลำบากรองรับตัวเอง นี่คือหลักกรรมในทางพระพุทธศาสนา
นอกนั้นกรรมยังเป็นตัวแบ่งประเภทของคนกล่าวคือคนเราเกิดมาจะมีอุปนิสัยใจคอที่แตกต่างกันแม้ว่าจะเกิดจากพ่อแม่คนเดียวกันก็ตาม ชื่อนามสกุลอาจจะเหมือนกัน หน้าตาคล้ายๆกัน แต่มีสิ่งที่แตกต่างกันก็คืออุปนิสัยใจคอ เนื่องจากคนสองคนเกิดในที่เดียวกัน แต่ทำกรรมมาแตกต่างกันก็เป็นผลทำให้มีอุปนิสัยใจตอที่แตกต่างกันตามไปด้วย ดังปรากฏในพระพุทธพจน์ที่ว่า "กัมมัง สัตเต วิภัชชะติ" สัตว์ทั้งหลายเกิดมากแตกต่างกันก็เพราะกรรมอันนี้เป็นเรื่องจริงครับ
อนึ่ง กรรมที่ทำมานั้นย่อมทำให้เกิดเป็นคนที่มีอุปนิสัยที่แกตต่างกันตามไปด้วย ซึ่งคำว่าอุปนิสัยในที่นี้ เรียกในภาษาบาลีว่า "จริต" แปลว่าพื้นฐานของการแสดงออกของพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งคนเราเกิดมานี้ล้วนมีจริตที่แตกต่างกัน
@ จริต ๖ คืออะไร ?
ความประพฤติปกติ, ความประพฤติซึ่งหนักไปทางใดทางหนึ่งอันเป็นปกติประจำอยู่ในสันดาน, พื้นเพของจิต, อุปนิสัย, พื้นนิสัย, แบบหรือประเภทใหญ่ๆ แห่งพฤติกรรมของคน ตัวความประพฤติเรียกว่า จริยา บุคคลผู้มีความประพฤติอย่างนั้น ๆเรียกว่าจริต(พระอุปติสสเถระ,วิมุตติมรรค, แปลโดย พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)และคณะ:๒๕๔๘:๕๕-๕๖) โดยจริตนี้มี ๖ ประเภท คือ
(๑) ราคจริต หมายถึง ผู้มีราคะเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางรักสวยรักงาม
(๒) โทสจริต หมายถึง ผู้มีโทสะเป็นความประพฤติปกติ,ประพฤติหนักไปทางใจร้อนหงุดหงิด
(๓) โมหจริต หมายถึง ผู้มีโมหะเป็นความประพฤติปกติ,ประพฤติหนักไปทางเขลาเหงาซึม งมงาย
(๔) สัทธาจริต หมายถึง ผู้มีศรัทธาเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้ง ชอบบนบาน น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย
(๕) พุทธิจริต หรือ ญาณจริต หมายถึง ผู้มีความรู้เป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางใช้ความคิดพิจารณา
(๖) วิตกจริต หมายถึง ผู้มีวิตกเป็นความประพฤติปกติ, ประพฤติหนักไปทางนึกคิด จับจด ฟุ้งซ่าน(วิสุทฺธิ.(ไทย) ๑๖๗)
@ ลองคิดดูจะรู้ว่า ตัวเราเป็นคนมีจริตประเภทไหน ?
อันที่จริงคนเรามีอุปนิสัยหรือจริตที่มีอยู่ในตัวทั้ง ๖ ประเภทนั่นแหละ แต่จะเด่นๆหรือเมื่อแสดงพฤติกรรมออกมาจะเด่นมากในข้อใดข้อหนึ่ง เช่น โทสจริต นี่ดูออกง่าย คือเป็นคนที่มีความโกรธเป็นพื้น ใครสะกิดนิดหน่อยเป็นไม่ได้ "จะไฟว์อย่างเดียว" ก็ให้ลองๆคิดดูจะรู้ว่าเราเป็นคนแบบไหน ?
@ พวก "สังคมบกพร่อง" เป็นคนมีจริตประเภทไหน ?
คือจริงๆวันนี้จะมาพูดเรื่องของคนเราที่มีอุปนิสัยย่างหนึ่ง คือ "พวกที่เห็นแก่ตัว ไม่เอาสังคม ยึดความเห็นตัวเองเป็นหลัก และขี้อิจฉา ตระหนี่ถี่เหนียว และไม่เอาใครเอาแต่ตัวเองเป็นใหญ่ เชื่อมั่นในตัวเองค่อนข้างสูง ฯลฯ" คนประเภทนี้พระพุทธเจ้าเรียกว่าเป็นพวก "อัตตาธิปไตย" คือยึดตัวตนเป็นใหญ่ไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
ที่ยกเรื่องของคนประเภท "สังคมบกพร่อง"นี้ก็เพราะในชีวิตที่ผ่านมาผมค่อนข้างเจอคนประเภทนี้บ่อย คือคนประเภทนี้จะมั่นใจในตัวเอง เชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองทำ กูถูกมึงผิด และที่สำคัญพวกนี้ "บ้าอำนาจ"โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่าตัวเองบ้าอำนาจ คือ ชอบไปติคนนั้น ว่าคนนี้ และมักจะอ้างหรือพูดลอยๆว่า "ถ้าผมเป็น หรือถ้าเป็นผมผมจะไม่ทำแบบนี้ผมทำดีกว่านี้ แต่อนิจจา...พอได้เป็นแล้วกลับไม่ทำในสิ่งที่ตนเองเคยพูดเอาไว้เลยสักนิด แต่เมื่อไม่ทำหรือทำไม่ได้ตามที่สัญญาไว้ แทนที่จะรู้สึกผิด รู้ไหมว่า คนพวกนี้ "ตีเนียนไปเรื่อยๆเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น"โดยไม่สนว่าสังคมเขาจะพูดหรือติงตัวเองว่าอย่างไร
อนึ่ง คนประเภทนี้ชอบอ้างผลงานของตนเองกับคนอื่นว่า อันนี้ผมก็ทำ อันนั้นผมก็ทำ ไอ้นั่นลอกผลงานผม ชิงพื้นที่หรือแย่งซีนผมไปเสนอผู้ใหญ่ เอาดีก่อนผม ทั้งๆที่ความจริงแล้วไม่ได้ทำอะไรเลยสักนิดแต่ก็กล้าที่จะอ้างแบบข้างๆคูๆว่านี้ผมทำ นั่นผมทำแต่พอทำจริงๆแล้วบางเรื่องก็ไม่ได้เรื่อง แต่พอทำงานได้นิดๆหน่อยก็มักอ้างว่า "นั่นเป็นงานใหญ่"สำหรับเขาแล้วก้ไปอ้างไปทั่ว
มูลเหตุของคน "สังคมบกพร่อง"นี้ก็มาจากพื้นฐานทางสังคมอาจจะได้รับการกดดันบีบคั้นทางครอบครัวทำให้เป็นคน "เก็บตัว นิ่งเงียบ และมีโลกส่วนตัวสูง" ความเป็นคนที่มีโลกส่วนตัวสูงนี่เองที่เป็นคนที่มาของ "ความเป็นคนที่มีความบกพร่องทางสังคม"แบบไม่เอาใครแต่ว่า "ใครๆต้องเอาเขาเท่านั้น"คนประเภทนี้มีความมั่นใจในตัวเองสูง แต่บนความมั่นใจจะมีความเป็นคนที่ไม่เอาสังคม เข้าข้างตนเองและเห็นแก่ตัว ตระหนี่ตามมา แต่คนเหล่านี้จะ "ประสบความสำเร็จในเรื่องของการเรียนสูง คือเรียนเก่งแต่เห็นแก่ตัวเพราะไม่ได้ทำกิจกรรมเชิงสังคมใด หากแต่สนใจเฉพาะการเรียนของตนเองเท่านั้น แต่เมื่อได้เข้าทำงานโดยมากมักมีปัญหา คือ
(๑) เข้าพวกไม่ได้ คำว่าเข้าพวกไม่ได้ก็คือ ไม่ชอบเข้าสังคม ปลีกวิเวก ไม่รับรู้เรื่องราวของสังคม แม้จะเป็นสังคมหรือองค์กรที่เล็กๆก็ตาม เมื่อไม่เข้าสังคม แต่เวลาทำงานมักแสดงตัวว่ารู้ทุกเรื่องที่คนในสังคมนั้นเขาทำกัน อันนั้นผมก็รู้อันนี่ผมก็เป็นทั้งๆที่ไม่ได้เรียนรู้อะไรกับเขาสักที นี่แหละที่เรียกว่าเป็นคนประเภท "ไม่เข้าพวก"
(๒) เบียดบังลูกน้อง คำว่าเบียดบังลูกน้องคือ มักใช้อำนาจบาตรใหญ่กับลูกน้องเวลาที่ตนเองเป็นใหญ่อันเนื่องมาจากการที่ตนเองถูกกดดันบีบคั้นมาอย่างไรก็มาระบายกับคนอื่นโดยเฉพาะคนที่อยู่ในปกครองของตน
(๓) ตระหนี่ คนพวกนี้ไม่ค่อยแฟร์กับคนอื่นเพราะตนเองก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่เนื่องจากการไม่เข้าสังคม ดังนั้น พื้นเพชีวิตการใช้ชีวิตจึงต้องอดออมเพื่อตนเอง รู้เข้าใจเฉพาะตนเอง เมือมาทำงานก็ย่อมจะเห็นเป็นไปตามแนวนั้นก็คือไม่ให้คนอื่น แต่ก็ไม่ขอใครอะไรทำนองนี้
(๔) แสดงตัวว่าเป็นคนดี คนตรง พฤติกรรมอีกอย่างของคนที่จัดอยู่ในประเภทนี้ก็คือ มักอวดตัวเองอยู่เสมอว่าเป็นคนดี เป็นคนตรง ประเภทไม้บรรทัด ไม่อะลุ่มอะล่วย ไม่ยืดหยุ่น เงินสักบาทก็ไม่ให้กระเด็น ต้องแบบนี้ๆเท่านั้น เงินเหลือต้องคืนทุกบาททุกสตางค์ แหม..ความจริงในชีวิตคนเรามันต้องขนาดนั้นไหมครับ คนประเภทนี้เป็นแบบนี้เอง
@ คำถามคือ คนประเภท "สังคมบกพร่อง"นี้เป็นคนจริตประเภทไหน ?
เมื่อพิจารณาจากพฤติกรรมของคนประเภทสังคมบกพร่องจะพบว่า คนประเภทนี้มีลักษณะจริตดังต่อไปนี้
(๑) เป็นพวกโทสจริต คือเป็นคนที่ "ลึกใน หรือเป็นคนซ่อนความอาฆาตหรือโมโหร้ายเอาไว้ในใจลึกๆ" แต่จริงๆแล้วเป็นคนที่ขี้โมโห โทสะสูง ใครอย่ามาว่ากูนะ ว่ากูเมื่อไหร่กูแว้งกัดทันที ตอบโต้ทันทีทันใด แม้จะเป็นแบบหน้าพระเอกก็ตามเถอะที่สุดแล้วพวกนี้จะ "เก็บอาการไม่อยู่" เพราะพวกนี้ต่อมโมโหมันอยู่ตื้น
(๒) เป็นพวกวิตกจริต คือขี้กังวลขี้ระแวงสังสัย แต่ไม่แสดงออก ใจคอยจะจ้องระวังระไวว่าใครจะว่าอะไรกู การแต่งตัวก็ผมเผ้าเรียบแปล้เป็นทางลาดยาง เดินเหินก็ระหงระเหินเป็นดุจราชบัณฑิต พูดจาต้องมีระบบระเบียบ กิริยาอาการแบบนี้ไม่ใช่ว่าจะปกปิดอะไรได้ เพราะสิ่งที่ซ่อนอยู่ข้างในพวกนี้ก็คือ "ความวิตกกังวล"ล้วนๆ
คนประเภทสังคมบกพร่องเมื่อพิจารณาจากกรอบของจริต ๖ ก็สามารถที่จะจัดอยู่ในกล่องของจริต ๒ ข้อนี้เท่านั้น แหละครับที่ยกเรื่องนี้มาไม่ได้มุ่งหวังตีกระทบใคร แต่ยกมาให้เป็นวิทยาทานแก่ผู้อ่านว่าหากโชคดีไปพานพบคนประเภทนี้ก็ให้พิจารณาดีๆอย่า "วางใจ"เพราะคนประเภทโสจริตบวกกับวิตกจริตนี้ "เข้าใจยาก"เพราะไม่รู้ว่าจะมาไม้ไหนกะเราดี ตีสีหน้านิ่งๆแต่อาจจะวิ่งเข้ามาฆ่าเราก็ได้ใครจะไปรู้
ท่าทีที่เราจะต้องปฏฺบัติกับคนประเภทนี้ผมว่าต้องหมั่นแผ่เมตตาให้เขาเยอะๆของบุญกุศลที่ท่านทำมาขอให้พบเจอแต่สิ่งดีๆในชีวิต ที่ดีแล้วก็ดียิ่งๆขึ้นไปอย่ามากล้ำมากลายคนอื่นๆเลยและขออโหสิกรรมกับเขาคนนั้น ผมว่า สักวันแรงอธิษฐานจะพอช่วยเราได้บ้างนะครับ
ขอบคุณครับ
Cr.FB-Naga King
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"สำนักสงฆ์ป่าสิริจันทร์" ยังฝึกกรรมฐานศพ พบเป็นอารมณ์กรรมฐานในพระไตรปิฎก
อารมณ์กรรมฐาน 40 ประการในพระไตรปิฎกมีคุณค่าในการพัฒนาจิตใจและส่งเสริมความสงบสุขในสังคม การประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องและรอบคอบจะช่วยให้สังคมไทยม...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น