วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2561

'เศรษฐพงค์'แนะสื่อเตรียมรับมือปีหน้า'แลนด์สไลด์'แน่



          
วันที่ 14 ธ.ค.61 ที่ผ่านมา ที่โรงแรมรามาการ์เด้นท์  พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัล ได้บรรยายในหัวข้อ “Digital Marketing 4.0”  ซึ่งจัดโดยฝ่ายธุรกิจปิโตรเลียมของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด เพื่อกำหนดทิศทางกลยุทธ์ใน 5 ปี ความว่า จากการที่ธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนแล้วจากการดิสรับชั่น (disruption) ที่ทำให้ธุรกิจหลายธุรกิจต้องเสื่อมถอยลง รวมถึงวงการสื่อ (Gen X) ปิดตัวอย่างต่อเนื่อง




พันเอก ดร. เศรษฐพงค์ ระบุว่า มีผลการวิจัยที่เชื่อถือได้หลายแห่งรายงานว่า 

สื่อบนอินเทอร์เน็ตจะแซงหน้าโทรทัศน์ในปี 2019 


เพราะผู้ชมจะอยู่กับสื่ออินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานกว่าอยู่กับโทรทัศน์ต่อวัน และองค์กรต่างๆ จะจ่ายเงินค่าโฆษณาให้แก่โทรทัศน์น้อยกว่าที่จ่ายให้แก่ web video, social media และ web ads อย่างชัดเจนและทิ้งห่างมากขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อสื่อต้องเสื่อมถอยลงอย่าง “แลนด์สไลด์” อย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเกิดมาแล้วในอดีต




"แต่จะเกิดงานในรูปแบบอิสระในอุตสาหกรรมสื่อและบันเทิงมากมาย โดย social media จะสร้างอาชีพใหม่ๆ ที่เราไม่เคยพบเห็นอย่างมากมายในคนรุ่น Gen Alpha และ Gen Z เช่น Influencer, YouTuber, celebrity, นักออกแบบ (stylist), ผู้สื่อข่าวอิสระเฉพาะด้าน (ผ่านทาง Live streaming), นักดนตรีและนักร้องอิสระ ไปจนถึงดาราและนักแสดงอายุน้อย ดังนั้น สื่อมวลชนที่อยู่ในช่วงอายุ Gen X ต้องปรับตัวหาความรู้ใหม่ๆ และควรที่จะมีทีมที่เป็นคนในรุ่น Gen Z ในด้านการปฎิบัติ  พันเอก ดร. เศรษฐพงค์  กล่าวและสรุปว่า 


การเกิด “ดิสรับชั่นระลอกแรก” เกิดจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยีไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 4G, Big data และปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่กำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว และ “ดิสรับชั่นระลอกที่สอง” คือ การก้าวเข้าไปสู่ยุค 5G, data analytics และ machine learning ซึ่งจะยิ่งทำให้เกิดการพลิกผัน หรือดิสรับชั่นที่รุนแรง ขยายวงไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น การเงินการธนาคาร, ประกันภัย, ค้าปลีก, การผลิตในโรงงานอุตสากรรมที่ใช้ระบบหุ่นยนต์, ยานยนต์ ไฟฟ้า และระบบการศึกษา เป็นต้น ซึ่งในปีหน้าคาดการณ์ว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจภาคการเงินการธนาคาร โดยจะมีการลดสาขาจำนวนมาก และในที่สุดธนาคารจะกลายเป็นตู้อัตโนมัติที่ทำธุรกรรมได้เกือบทุกรูปแบบมาแทนที่สาขาเกือบทั้งหมดในระยะ 5-10 ปีที่จะถึง และธนาคารก็จะกลายเป็นระบบคลาวด์ (cloud) โดยสมบูรณ์แบบ




ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ตาม เรื่องการนำองค์กรเพื่อให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลง  แต่ต้องพิจารณาสิ่งที่ต้องเพิ่มเติมต่อยอดให้องค์กรแข็งแกร่ง Learn-Unlearn-Relearn ยังคงเป็นทักษะที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ดีกับโลกปัจจุบัน การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในกระบวนการทางธุรกิจถือว่าเป็นเรื่องจำเป็น สิ่งสำคัญตอนนี้คือผู้บริหารต้องเข้าใจ disruption เริ่มจากเปลี่ยน mindset ตัวเองก่อนและยอมรับผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่อย่าทำเพียงเชิงรับ ต้องมีการเสริมเชิงรุก ตรงไหนที่ต้องปรับก็ปรับ ต้องไหนที่ต้องเปลี่ยนหรือยกเลิกก็ต้องทำ ทำความเข้าใจกับลูกค้าให้มากขึ้น อย่ายึดติดกับความเชื่อหรือแนวทางการทำธุรกิจแบบเดิมๆ เพราะภูมิทัศน์ทางธุรกิจมันเปลี่ยนไปแล้ว และมันเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา ด้วยพลวัตที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงสูงอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน สิ่งที่เคยทำให้เราสำเร็จในอดีต ไม่ได้การันตีอะไรเลยกับความสำเร็จในอนาคต

Cr. http://www.banmuang.co.th/news/politic/135044

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ณพลเดช" ปิ๊งไอเดีย! เชียงรายศูนย์กลางการเงินโลก-โมเดลสวิตเซอร์แลนด์แห่งเอเชีย หลังออกกฎหมาย เขต ศก.พิเศษ

วันที่ 19 เมษายน 2567     เวลา 11.00 น. ที่ประเทศลาว  ดร.ณพลเดช มณีลังกา คณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำส...