วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2561

'ชูวิทย์'สอนน้อง!หัวหน้าพรรคใหม่ไม่ง่ายอย่างที่คิด แฉผู้สมัคร 6 แบบทำปวดหัว




วันที่ 18 ธ.ค.2561 นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อดีตหัวหน้าพรรครักประเทศไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ค “ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์” แสดงความคิดเห็นต่อเนื่องอีกครั้ง สืบเนื่องจากกรณีสมาชิกพรรคอนาคตใหม่ เตรียมตบเท้าลาออกจากพรรค เพราะไม่พอใจการคัดเลือกผู้สมัคร “ไพรมารีโหวต” พร้อมทั้งแฉพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางไม่โปร่งใส  โดยนายชูวิทย์ ระบุว่า

EP.2

“เป็นหัวหน้าพรรคใหม่ ไม่ง่ายอย่างที่คิด”

เรื่องจริงที่หัวหน้าพรรคใหม่ต้องเจอ !

การเป็นหัวหน้าพรรคใหม่ มันช่างน่าปวดเศียรเวียนเกล้า

ตอนเริ่มตั้งพรรคเหมือนจะคุมได้ แต่พอสมาชิกเพิ่มขึ้น คนมากขึ้น เรื่องมันก็มากขึ้น มวลมหาสมาชิก กระสัน ใฝ่ฝัน อยากเป็น ส.ส. หรือแม้แต่เป็นแค่ “ผู้สมัคร” เพิ่มโปรไฟล์ประวัติชีวิตให้ดูมี “สตอรี่” หลากหลายประเภทที่เข้ามามีตั้งแต่

1. รู้มาก แต่ไม่ทำ ขี้โม้ รู้จักตั้งแต่รัฐมนตรี ปลัด ผอ. ยันภารโรง แต่ไม่ยอมทำอะไรสักอย่าง

 2. รู้น้อย แต่เสือกทุกเรื่อง ไปไหนไปด้วย ช่วยบาทเดียว

3. มาเดี่ยว เก่งคนเดียว มาดนิ่งแบบนักวิชาการ ด็อกเตอร์เรียกพ่อ แต่หาพวกไม่มี (เงินก็ไม่มี)

4. บ้าการเมือง รู้เบื้องลึกถึงหลังบ้าน แต่พอเอาเข้าจริง ต้องเงินมางานถึงเดิน

5. ตัวเองเก่งกว่าคนอื่น ผ่านประสบการณ์ล้านแปด เป็นสารพัดที่ปรึกษา สารพันกรรมการ จนถึงอดีตผู้สมัคร ส.ส. หลายสมัย แต่ทุกสมัยได้คะแนนแค่หลักร้อย

6. พวกอยู่เป็น ยิ่งอยู่ ยิ่งรวย ชักเปอร์เซ็นต์ ตั้งแต่ไม้จิ้มฟันยันรถหาเสียง บวกทุกอย่าง ทุกเรื่องที่ได้เงิน(ทอน)

เป็นหัวหน้าพรรค มันช่างชีช้ำ เงินไหลเป็นน้ำก๊อกบ้านเศรษฐี ไหลไม่หยุด ฉุดไม่อยู่ เพราะไม่ว่าจะเป็นสมาชิกประเภทไหนที่กล่าวมาข้างบน ล้วนยึดถือนโยบายเดียวกัน คือ “หัวหน้าพรรค ควักคนเดียว”

ทำธุรกิจหาเงินมาเลือดตาแทบกระเด็น แล้วต้องมาละเลงกับการเมือง คงหมดตัว ผมจึงตั้งนโยบายแม่น้ำสายเดียว คือ “ใครอยากลง จ่ายเงินกันเอง” ทั้งค่าป้ายหาเสียง รถหาเสียง ทีมงาน และค่าใช้จ่ายจิปาถะ ของใครของมัน

ผลลัพธ์ เหมือนคณะตลกออกงานบุญ บางคนเอาถุงปุ๋ยมาทำป้าย บางคนใส่เสาอากาศที่หัวเพื่อเรียกร้องความสนใจ บางคนเอารถซาเล้งมาทำเป็นรถหาเสียง เข้าทำนอง “คนจนผู้ยิ่งใหญ่”ผมคิดในใจ พังแน่กู !

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"สำนักสงฆ์ป่าสิริจันทร์" ยังฝึกกรรมฐานศพ พบเป็นอารมณ์กรรมฐานในพระไตรปิฎก

อารมณ์กรรมฐาน 40 ประการในพระไตรปิฎกมีคุณค่าในการพัฒนาจิตใจและส่งเสริมความสงบสุขในสังคม การประยุกต์ใช้อย่างถูกต้องและรอบคอบจะช่วยให้สังคมไทยม...