วันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เจ้าคุณธงชัยร่วม4หน่วยงานผลิตและพัฒนาคนรองรับอีอีซียึดสัตหีบโมเดล



เมื่อวันศุกร์ที่ 4 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ  นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ระหว่าง 4 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) หรือ BOI สำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)



รมว.ศึกษาธิการ กล่าวตอนหนึ่งว่า กระทรวงศึกษาธิการตระหนักถึงความสำคัญของความร่วมมือในการผลิตและพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยได้ทำงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ทั้ง สกรศ., BOI ตลอดจนภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อผลิตกำลังคนให้ตรงกับความต้องการของ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้ง First S-Curve และ New S-Curve ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการผลิตอาชีวะพันธุ์ใหม่และบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine ตามนโยบาย Thailand 4.0 ปี 2561-2565 โดยตั้งเป้าหมาย 1 แสนคนภายในเวลา 10 ปี

นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า คำว่า “กำลังคน” มีความหมายกว้างกว่ากำลังคนจากอาชีวะเท่านั้น หากนำแนวคิดการพัฒนาและเพิ่มทักษะวิชาชีพกำลังคนแนวใหม่มาใช้ ก็จะหมายความรวมทั้งนักเรียนนักศึกษาอาชีวะ ผู้รู้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญที่อยู่นอกระบบ ครูอาชีวะที่อยู่ในระบบ ตลอดจนกำลังคนที่อยู่ในสถานประกอบการและในโรงงานด้วย นอกจากนี้ คำว่า “อาชีวะ” หรือ อาชีพ ยังเป็นหนึ่งในองค์มรรค 8 ที่ลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ คือ สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) ด้วย

สำหรับความร่วมมือครั้งนี้ เปรียบเสมือนร่มใหญ่ของการจัดการศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรระดับอาชีวศึกษาในพื้นที่ EEC ของทุกฝ่าย โดยนำแนวทางของ “สัตหีบโมเดล” เป็นต้นแบบของการดำเนินงานที่ดีแนวทางหนึ่งที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในสังคมโลก โดยมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็กอาชีวะที่กำลังศึกษาอยู่ใน 12 วิทยาลัยในเขตภาคตะวันออก ได้ทำงานในพื้นที่ EEC ซึ่งจะทำให้มีรายได้ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และนักวิชาการในพื้นที่ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีประสิทธิภาพ และมีขีดความสามารถในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจและเทคโนโลยีใหม่

สิ่งสำคัญอีกประการ คือ การพัฒนากำลังคนให้มีทักษะและขีดความสามารถในการแข่งขันในโลกยุคใหม่ ควรฝึกทั้งด้านวิชาการ ทักษะวิชาชีพ และทักษะการใช้ชีวิต (Soft Skill) ควบคู่ไปด้วย โดยเฉพาะความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความขยันหมั่นเพียรใฝ่เรียนรู้ และมีความซื่อสัตย์สุจริต จึงจะสามารถทำงานอยู่ในโลกอนาคตได้อย่างมีความสุข

นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า การผลิตกำลังคนเพื่อรองรับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยใช้ “สัตหีบโมเดล” เป็นการจับคู่จัดการเรียนการสอนระหว่างสถานศึกษากับภาคอุตสาหกรรมและนักลงทุนอย่างเข้มแข็งในทุกด้าน เพื่อที่จะผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะ และสมรรถนะรองรับความต้องการอย่างแท้จริง ทั้งในด้านหลักสูตร การฝึกทักษะปฏิบัติ เทคโนโลยี ตลอดจนการประกันการว่างงาน รวมไปถึงทุนการศึกษาตั้งแต่เริ่มต้น การเรียนตลอดหลักสูตรในสัตหีบโมเดล

ซึ่ง สกรศ. และ สกท. จะมีบทบาทสำคัญในการแนะนำบริษัทเอกชน ที่เข้ามาลงทุนใน EEC ให้มีส่วนร่วมในการผลิตและพัฒนาบุคลากรผ่านกระบวนการจัดการเรียนการสอนรูปแบบ “สัตหีบโมเดล” โดยจะนำร่องดำเนินการ ใน 12 วิทยาลัย ในเขตภาคตะวันออก ได้แก่

1. วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี

2. วิทยาเทคนิคสัตหีบ

3. วิทยาลัยเทคนิคพัทยา

4. วิทยาลัยอาชีวศึกษาชลบุรี

5. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชลบุรี

6. วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา

7. วิทยาลัยการอาชีพพนมสารคาม

8. วิทยาลัยเทคนิคระยอง

9. วิทยาลัยเทคนิคจันทบุรี

10. วิทยาลัยเทคนิคตราด

11. วิทยาลัยเทคนิคปราจีนบุรี

12. วิทยาลัยเทคนิคสระแก้ว


นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กล่าวถึงขอบเขตการลงนามบันทึกความเข้าใจว่า จะมีความร่วมมือที่สำคัญ คือ

1) ความร่วมมือผลักดันสถานศึกษานำร่องและสถาบันอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนาบุคลากรให้มีสมรรถนะและทักษะตรงตามความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC

2) สกรศ. แต่งตั้งคณะทำงานวิจัยและพัฒนากำลังคน EEC เพื่อวิจัย สร้างนวัตกรรม และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป

3) ความร่วมมือด้านการศึกษา เพื่อปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน หลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นแก่ครูบุคลากรและวิทยากรเฉพาะ ในกลุ่มอุตสาหกรรมศักยภาพ พร้อมสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานวิชาชีพระดับนานาชาติ สาขาเฉพาะทาง

4) ความร่วมมือระหว่าง สอศ. สถานศึกษา และ สกอ. เพื่อร่วมผลิตและพัฒนาบุคลากรรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน รวมทั้งใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด

5) ความร่วมมือระหว่าง สกรศ. และ สกท. ในการแนะนำให้ภาคเอกชนที่เข้ามาลงทุน ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามรูปแบบสัตหีบโมเดล พร้อมร่วมศึกษา วิเคราะห์ฐานข้อมูลความต้องการบุคลากร ในพื้นที่ภาคตะวันออก ตลอดจนจับคู่กับนักลงทุนและสถานศึกษาให้เป็นในการผลิตบุคลากรตามความต้องการของตลาดด้วย
.......
ที่มา http://www.moe.go.th/websm/2018/2/126.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย

การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...