วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สาธุ!พระเทพสิทธิมงคลระนองอายุ87ปีจบป.เอก"มจร" อธิการบดีระบุสันติภาพคือหัวใจสำคัญของการพัฒนาสังคมแบบยั่งยืน







ระหว่างวันที่ 12 – 13 พฤษภาคม 2561  สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เพื่อประทานปริญญาบัตรในพิธีประสาทปริญญาประจำปี 2561 ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) จากจำนวนนิสิตที่เข้าประทานปริญญาบัตรเกือบ 5 พันรูป/คนนั้น มีพระเทพสิทธิมงคล (เสนอ สิริปญโญ) เจ้าอาวาสวัดตโปทาราม จ.ระนอง อายุ 87  ปี จบปริญญาเอก (พธ.ด.) จากคณะบัณฑิตวิทยาลัย มจร ส่วนกลางรวมอยู่ด้วย



และเนื่องในโอกาสดังกล่าวเมื่อวันที่ 10 พ.ค.2561  ที่ผ่านมา พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.) อธิการบดี มจร  ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "คุณูปการพระพุทธศาสนากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์"  



พระพรหมบัณฑิต ได้ระบุว่า การศึกษาสมัยใหม่ไม่ได้มุ่งให้เป็นเครื่องจักรในโรงงานแต่ขาดมิติของความสุขและขาดมิติของคุณธรรม เราต้องการบัณฑิตที่จบการศึกษาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป้าหมายของการศึกษาในปัจจุบันจึงมาเน้นการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์หัวข้อวันนี้จึงเป็นเรื่องคุณูปการพระพุทธศาสนากับพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ จะทำให้บัณฑิต มหาบัณฑิต ดุษฏีบัณฑิตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 



การพูดกันในเรื่องนี้เป็นการเชื่อมโยงกับงานวิสาขบูชาโลกในวันที่ 25-27  พฤษภาคมนี้ โดยมีหัวข้อหลักในงานวิสาขบูชาโลกเรื่อง "คุณูปการพระพุทธศาสนากับการพัฒนามนุษย์" จึงเป็นการเตรียมพื้นฐานความพร้อมความรู้ของเราเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากนักปราชญ์ทั่วโลก เหตุหลักที่เลือกหัวข้อนี้เพราะเราต้องการเทอดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9  ในเวทีโลก ปรารภซึ่งพระองคทรงได้รับรางวัลจากองค์การสหประชาติ เป็นรางวัลอันสูงสุดของพระองค์ท่าน ด้านการพัฒนามนุษย์ เมื่อปี 2549  โดยเลขาธิการสหประชาชาตินำรางวัลมาถวาย นายโคฟี่ อนันต์กล่าวสดุดีในนามสหประชาชาติ ตอนหนึ่งว่า "ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเป็นกษัตริย์นักพัฒนาเพราะทรงถือเอามนุษย์เป็นศูนย์ของการพัฒนา" 



และภายในงานวิสาขบูชาโลกครั้งนี้จะมีการแจกพระไตรปิฏกฉบับสากลเป็นภาษาอังกฤษและฉบับภาษาไทยชื่อว่า "พระไตรปิฏกฉบับสากลวิถีธรรมจากพุทธปัญญา"ด้วย



พร้อมกันนี้พระพรหมบัณฑิตได้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างสันติภาพ (Peace Building) ซึ่งเป็น1 ใน 4 พันธิกิจของมหาจุฬาฯ คือ "การพัฒนาที่ยั่งยืน สภาพภูมิอากาศที่ปลี่ยนแปลง การศึกษา การสร้างสันติภาพ" และเป็น 1 ใน 4 พันธิกิจของสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (Internationl Council for the Day of Vesak) หรือ "ICDV"เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อรับผิดชอบในการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชาวันสากลของโลกหลังจากองค์การสหประชาชาชาติประกาศรับรอง เพราะเห็นว่า "พระพุทธศาสนามุ่งเน้นการพัฒนาจิตใจพัฒนาสังคม" ซึ่งเป็น 1 ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17  ประการ  พันธิกิจทั้ง 4 ด้านนั้นทำให้เกิดความครอบคลุมเพราะเป็นไตรสดมภ์ของการพัฒนาแบบยั่งยืนประกอบด้วย 3  ด้าน คือ 1)การพัฒนาสังคม 2)การพัฒนาสิ่งแวดล้อม3)การพัฒนาเศรษฐกิจ ถือว่าเป็นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สอดรับการพัฒนาตามภาวนาหมายถึงพัฒนา เป็นการพัฒนามนุษย์โดยเอามนุษย์เป็นตัวตั้ง มี 4 ด้าน คือ " พัฒนากาย พัฒนาจิตใจ พัฒนาสังคม พัฒนาปัญญา" ถือว่าเป็นการพัฒนาที่สมดุลทั้งกายและใจสุดโต่งด้านใดด้านหนึ่ง



ธรรมนูญของพระพุทธศาสนาคือโอวาทปาติโมกข์เป็นประโยคแรกที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้คือ ขันตี ปรมัง ปโตติติกขา การอดทนอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง เป็นศาสนาที่สอนให้มีความอดทน สอนให้เราอดทนต่อความแตกต่าง แม้จะไม่เห็นด้วยก็ตามแต่ไม่ทำร้ายกัน และย้ำว่า อนูปวาโท อนูปาฆาโต ด้วยการไม่พูดร้ายใคร ไม่ทำร้ายใคร เราจึงเห็นในโอวาทปาติโมกข์เป็นการสร้างสันติภาพ ในการสร้างสันติภาพถือว่าเป็นกุศโลบาย มี 2 วิธีคือ 1)"แลกเปลี่ยนเรียนรู้" การที่เราระแวงกันไม่ว่าจะต่างศาสนาต่างเชื้อชาติมันมาจากความระแวงไม่รู้จักกัน ถ้าเราเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ รู้ศาสนาของเพื่อน ต่างคนต่างรู้กันจะไม่ระแวงกัน เปิดใจกว้าง การศึกษาจึงเป็นการเปิดใจกว้างให้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน  2) แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง ด้วยการเรียนรู้ซึ่งกันและกันหาจุดร่วมมากกว่าจุดต่างในการอยู่ร่วมกัน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พระถังซัมจั๋งนำพระคัมภีร์จากอินเดีย สู่นำพระเขี้ยวแก้วจากจีนถึงไทย

                             เพลง: พระถังซัมจั๋ง  ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno    คลิกฟังเพลงที่นี่  (Verse 1) ก้าวผ่านแดนลม...