วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เตรียมยกร่างกฎระเบียบองค์กรพระธรรมทูตโลกที่สิงคโปร์



วันที่  10  พฤษภาคม 2561  ที่ประเทศสิงคโปร์ พระราชอุปเสณาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เลขานุการประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประะเทศ พระราชกิจจาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรวิหาร  หัวหน้าสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ มอบหมายให้สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ประกอบด้วยพระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, ป.ธ. 9, ดร. ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาพระวิทยากรพร้อมด้วยคณะกรรมการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการยกร่างกฎระเบียบองค์กรพระธรรมทูตโลก(รอบสุดท้าย) ก่อนเปิดประชุมใหญ่ของการประชุมพระธรรมทูต 4 ทวีปในวันที่ 13 พฤษภาคมนี้

ผู้ที่เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยพระราชวิเทศปัญญาคุณ วัดมหาธาตุสหราชอาณาจักร,รองประธานองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักร พระวิมลศาสนวิเทศ วัดไทยนอร์เวย์ ประเทศนอร์เวย์, รองประธานสหภาพพระธรรมทูตไทยในทวีปยุโรป พระวิเทศรัตนาภรณ์ วัดไทยกรุงวอชิงตัน, ดี.ซี.  ประเทศสหรัฐอเมริกา,  เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยในสหรัฐอเมริกา พระปัญญาธรรมวิเทศ วัดอานันทเมตยาราม ประเทศสิงคโปร์, เลขาธิการสมัชชาสงฆ์ไทยในประเทศสิงคโปร์ พระวิมลรัตนาภรณ์ ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ พระศรีโพธิวิเทศ วัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล พระมหาภาสกร ปิโยภาโส ป.ธ.9 วัดพุทธปทีปลอนดอน สหราชอาณาจักร, เลขาธิการองค์กรพระธรรมทูตไทยในสหราชอาณาจักร




พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, ป.ธ. 9, ดร.ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร พร้อมด้วยคณะกรรมการ สถาบันพัฒนาพระวิทยากร ดร.เสาวคนธ์ จันทร์ผ่องศรี ผู้ทรงคุณวฺุฒิ ฯ เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้แทนจากสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

โดยที่ประชุมได้นำเสนอ 1. ร่างแผนยุทธศาสตร์สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ 2. ร่างหลักสูตรอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศเชิงปฏิบัติการ

ขณะที่พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส,รศ.ดร. ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ผู้อำนวยการหลักสูตรปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา เปิดเผยว่า เมื่อ 9 พฤษภาคม 2561 ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่น่าสนใจ 2 วงแห่งการแลกเปลี่ยนที่นับได้ว่า เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ วงที่หนึ่งเป็นกิจกรรมช่วงเช้าที่จัดโดยวิทยาลัยธรรมทูต ที่ได้เชิญที่ปรึกษาอัครทูตที่ปรึกษาสถานทูตอเมริกาประจำประเทศไทย นายปีเตอร์ เฮย์มอนด์ ซึ่งสามารถสื่อสรภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล้ว และแม้จะถูกถามด้วยภาษาอังกฤษ แต่ก็เลือกที่จะตอบเป็นภาษาไทย ในขณะอีกวงเป็นการจัดในช่วงบ่ายโดยวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ ร่วมกับสภาคริสต์จักรแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการจัดโต๊ะกลมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ดำเนินชีวิตและการทำงานในฐานะสมณทูตซึ่งทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนา

ทั้งสองเวทีสัมพันธ์กันอยางมีนัยสำคัญ เพราะที่ปรึกษาอัครทูตท่านนี้เคยทำหน้าที่เป็นครูสอนคริสต์ศาสนาในประเทศไทยมาเกือบ 30 ปี ก่อนจะผันตัวเองมาเป็นทูตทำงานในสถานทูต ในขณะที่บาทหลวงที่มาแลกเปลี่ยนนั้นเป็นศาสนทูตที่ทำหน้าที่เผยแผ่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยอย่างยาวนานกว่า 20 ปี และสามารถพูดภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล้ว และหลายครั้งในโต๊ะกลมท่านเลือกที่จะแลกเปลี่ยนเป็นภาษาไทยมากกว่าที่จะพูดภาษาอังกฤษที่แต่ละท่านถนัด และมีความลึกซึ่งทางภาษามากกว่า

เพราะเหตุใด? ท่านเหล่านี้ เลือกที่จะสื่อสารเป็นภาษาไทย ผู้ที่จะทำให้คำตอบนี้ชัดเจนจะเป็นใครไปไม่ได้ หากไม่ใช่ "พระพุทธเจ้า" พระองค์ทรงเคยเป็นกษัตริย์ในแคว้นสักกะซึ่งเป็นชนชั้นสูงตามหลักวรรณะในชมพูทวีป และสามารถสื่อสารเป็นภาษาสันสกฤตได้อย่างคล่องแคล้ว แต่เพราะเหตุผลใด? พระองค์จึงตัดสินใจเลือกภาษาบาลีเป็นภาษาบาลี หรือภาษามคธในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เหตุผลเพราะคนในพื้นที่แห่งนี้ใช้ภาษามคธหรือบาลีสื่อสารกันในชีวิตประจำวัน มากกว่าที่จะใช้ภาษาสันสกฤต หรือภาษาคนชั้นสูงที่ใช้สื่อสารกันเฉพสะในกลุ่มตน จากเหตุผลดังกล่าว จึงทำให้ภาษาบาลีเป็นภาษาตลาด หรือหลักของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงสมัยปัจจุบัน

"ภาษา" ไม่ได้อยู่หรือก่อเกิดด้วยตัวของมันเอง หากแต่ถูกร้อยรัด เชื่อมโยง และมีพัฒนาการจากบริบททางประเพณีและวัฒนธรรม การเข้าใจหรือเรียนภาษาจึงไม่อาจเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง หากไม่เรียนรู้สังคม วัฒนธรรม และประเพณี ผ่านวิถีชีวิตที่ปฏิบัติในแต่ละวันตั้งแต่ตื่นนอน เหล่านี้ คือคำตอบว่า เพราวเหตุใด? ท่านอัครทูต และศาสนทูตจึงมีความจำเป็นจะต้องเข้าใจภาษาไทยผ่านวัฒนธรรมประเพณี และพูดภาษาไทยคล่องแคล้วได้อย่างถึงแก่น และลึกซึ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการดำเนินการผ่านวิถีนโยบายการเผยแผ่ศาสนาตามแนวแห่งศาสนสัมพันธ์ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้การเปิดพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชนและสังคมที่อยู่ในพื้นที่ดั้งเดิมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในการสร้างการรับรู้ และอยู่ร่วมกันโดยไม่รู้สึกว่าแปลกแยกและแตกต่าง

ด้วยเหตุผลดังกล่าวนั้น จึงเป็นที่มาของตอบคำถามของท่านอัครทูต ปีเตอร์ที่ถูกถามว่า "หากพระธรรมทูตไทย เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศอเมริกานั้น อะไรคือจุดแข็ง และจุดอ่อนในการเดินทางออกไปทำหน้าที่นี้" โดยท่านตอบทันทีจากประสบการณ์ตรงว่า "ความใหม่" เพราะความสดและใหม่ จึงทำให้ชาวตะวันตกพากันมาสนใจต่อ "สติ สมาธิและสันติภาพ" ที่ท้าทายต่อกระแสวัตถุนิยมและความรุนแรง รวมถึงการพยายามค้นหา "พุทธปัญญา" ที่สอดรับกับวิถีแห่งวิทยาศาสตร์ ที่เปิดโอกาสให้มนุษย์ค้นหาความหมายให้แก่ชีวิตตัวเอง และความใหม่นี่เองก็กลายเป็นจุดอ่อนด้วย เพราะศาสนทูตต้องทำหน้าที่อย่างหนักหน่วงในการทำหน้าที่อธิบายและนำเสนอแก่คนที่มีความแตกต่าง ทั้งจากคำสอน ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี วิถีคิด และภาษา

จะเห็นว่า การที่ท่านทูต และศาสนทูตที่เดินทางมาอยู่ และเผยแผ่ศาสนาและความเชื่อในประเทศ ต้องทำงานอย่างหนักคือ ต้องเข้าใจภาษาไทย ประวัติศาสตร์ สังคมไทย วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย ค่านิยมไทย แล้วคำถามคือ อะไรเล่าที่เป็นรากฐานของสิ่งเหล่านี้ หากไม่ใช่พระพุทธศาสนา ฉะนั้น จะเห็นว่าบาทหลวงบางท่านตัดสินใจเรียนปริญญาโท สาขาพระพุทธศาสนา ที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติก็ดี บาทหลวงต้องตัดสินใจเรียน และแลกเปลี่ยนตามมิติศาสนสัมพันธ์กับพระสงฆ์ไทย และคนไทยก็ดี ก็เพื่อที่จะทำให้ "คนเก่า" เข้าใจความใหม่ เพื่อที่จะทำให้ความใหม่เป็นเนื้อเดียวกัน ประสมกลมกลื่นกับวัฒนธรรมเก่าที่ทรงค่าอยู่ในสังคมนั้นๆ โดยไม่รู้สึกว่าแปลกแยกและแตกต่างจนไม่สามารถประยุกต์ และบูรณาการ จนสามารถอยู่ร่ยมกันอย่างสันติสุขได้

สุดท้ายแล้ว คุณค่าของความจริง ความดี ความงาม และความสุขนั้น จึงไม่อยู่ที่ว่า "ใหม่หรือเก่า" หากแต่อยู่ที่ว่ามันสอดคล้องวิถีชีวิตและสังคมนั้นได้มากเพียงใด หากการดำรงอยู่ของความเก่า ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์และคุณค่าแก่ชีวิต ชุมชนและสังคม เราจะรักษาความเก่าไปเพื่อประโยชน์อันใด และหากการมาของความใหม่ไร้แก่นและแกน ไม่สามารถตอบโจทย์ และความเป็นไปของชีวิตและสังคมแล้ว ความใหม่ก็ยังสถานะของความใหม่อยู่ต่อไป ด้วยเหตุนี้ โจทย์ที่ท้าทายอย่างมากคือ เราจะนำเสนอความจริง ความดี และความงามอย่างไร จึงจะไม่ทำให้สิ่งเหล่านี้สูญเสียตัวตน อีกทั้งสมสมัย และสอดรับกับบริบทของชีวิต ชุมชน และสังคมโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปฯ


......... 

เคดิตภาพและข้อมูลสถาบันพัฒนาพระวิทยากร และจากเฟซบุ๊ก drhandy inthisan และHansa Dhammahaso

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: กลิ่นธรรม

 ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1)   ยามเช้าแสงทองจับขอบฟ้า ไอหมอกบางพัดพาเบา ๆ หอมกลิ่นบุปผา…อาบใจ...