วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

วัดบำเพ็ญติดกล้องไลฟ์สด! คุมเข้ม นักธรรม โท-เอก เจ้าคณะเขตมีนบุรี ชี้เพื่อเป็นต้นแบบในการสอบทุกสนามสอบ





วันที่ 21 พ.ย.2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม่กองธรรมสนามหลวงได้กำหนดสอบธรรมศึกษาสนามหลวง โดยความเห็นชอบของมหำเถรสมาคม  กำหนดให้ นักเรียนนักธรรมและธรรมศึกษา เข้าสอบวัดความรู้การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม ตามหลักสูตรของคณะสงฆ์ พร้อมกันทั่วราชอาณาจักร ในวันและเวลา ดังนี้




นักธรรมชั้นตรี สอบระหว่างวันที่ 18-21 ตุลาคม 2561 นักธรรมชั้นโท-เอก สอบวันที่ 24-27 พฤศจิกายน 2561 วันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2561 (แรม 2 ค่ำ เดือน 12)  เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม

 วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2561 (แรม 3 ค่ำ เดือน 12) เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบวิชาธรรม วันจันทร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ (แรม 4 ค่ำ เดือน 12) เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบวิชาพุทธ วันอังคารที่ ๒๗ พฤศจิกายน 2561 (แรม 5 ค่ำ เดือน 12) เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบวิชาวินัย 




สำหรับนโยบายเชิงรุกเพื่อกระจายการศึกษานักธรรม สมเด็จพระวันรัตน์  (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.9) วัดบวรนิเวศวิหาร แม่กองธรรมสนามหลวง ได้มีนโยบายที่จะให้แต่ละตำบลตั้งเป็นศูนย์นักธรรม เพื่อจะได้รวบรวมพระในแต่ละตำบลมาเรียนรวมกัน และจะจัดการเรียนการสอนพร้อมทั้งสนับสนุนให้การเรียนการสอนหลักสูตรนักธรรมชั้นตรีให้กระจายไปทั่ว เพราะถือเป็นนโยบายเชิงรุกที่จะจัดการศึกษาให้ไปอย่างทั่วถึง

ขณะเดียวกันยังตระหนักถึงความมั่นคงในการรักษาความเป็นไทยให้คงอยู่กับคนไทยบนพื้นแผ่นดินไทย คณะสงฆ์ไทย ภายใต้การบริหารของมหาเถรสมาคม จึงมุ่งมั่นที่จะเผยแผ่ความรู้ในพระพุทธศาสนาที่ถูกต้องให้แก่คนไทย ซึ่งเป็นงานที่พระมหาเถระผู้เป็นบูรพาจารย์ได้ถือเป็นสมณกิจบำเพ็ญสืบเนื่องมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย 




บางยุคสมัยพระสงฆ์จักต้องทรงภูมิความรู้ในสรรพศาสตร์ที่จำเป็นต้องการรักษาแผ่นดินให้คงอยู่สืบต่อมา คนไทยต่างยึดวัดเป็นแหล่งแห่งการเรียนรู้หลักวิชาในการดำเนินชีวิต ตราบจนเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ที่นำคนไทยให้พ้นห่างจากวัด ไปสู่วิถีทางแห่งการศึกษาที่มุ่งเน้นแต่ความรู้ในการดำเนินชีวิต อันเป็นผลให้เกิดความเจริญทางวัตถุ มากกว่าความเจริญทางด้านจิตใจ

ทั้งนี้เพื่อให้การสอบนักธรรมของสนามสอบทั่วประเทศมีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ได้พระ เณร มีภูมิความรู้เรื่องธรรมที่แท้จริง รวมทั้งเพื่อเป็นแบบอย่างและต้นแบบในการสอบทุกสนามสอบ คณะสงฆ์ไทย ภายใต้การบริหารของมหาเถรสมาคม จึงคุมเข้มตั้งแต่การออกข้อสอบที่ไม่มีการรั่วไหล และ การสอบที่โปรงใส่ไม่มีการลอกข้อสอบเด็ดขาด




โดยเฉพาสะที่สนามสอบ วัดแสนสุข ถนนสุวินทวงศ์ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร พระครูอุดมจารุวรรณ หรือ หลวงพ่อคำไล้ เจ้าคณะเขตมีนบุรีและ เจ้าอาวาสวัดบำเพ็ญเหนือ ถึงกับควักปัจจัยในย่ามว่าจ้างบริษัทรับติดตั้งกล้องวงจรปิดขนาดความละเอียด 2 ล้านฟิคเซล ซึ่งสามารถแสดงรายเอียดแบบคมชัดในระ 40-50 เมตร จำนวน 4 ตัว เพื่อมาเป็นหูเป็นตาช่วยกรรมการคุมสอบ

หลวงพ่อคำไล้ บอกว่า คนภายนอก หรือคนทั่วๆ ไป อาจจะมองว่า การสอบนักธรรมของพระเณรนั้นอาจจะเป็นเรื่องง่ายๆ พระเณรรูปไหนไปเรียนไปสอบ อย่างไรก็ผ่านพระต้องช่วยกันอยู่แล้ว ซึ่งแท้ที่จริงตรงกันข้าม มีการคุ้มเข้มการสอบอย่างสุดๆ ด้วยเหตุผลที่ว่าพระเณร สอบผ่านนักธรรมชั้นโท และ ชั้นเอก เป็นพระสังฆาธิการ พระนักปกครองคณะสงฆ์ในอนาคต ที่ต้องรับหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา บางรูปอาจจะได้เป็นเจ้าอาวาส หรือบางรูปอาจจะได้เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง

ทั้งนี้หากพิจาณาหัวข้อการสอบนักธรรมจะพบว่า การสอบนักธรรม เพื่อเป็นการวางรากฐานสำหรับพระที่จะเป็น พระนักเทศน์ เจ้าอาวาส และ พระนักปกครอง กล่าว วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม จะทำให้ พระเทศน์สอนพุทธศาสนิกชนได้ วิชาธรรม และ วิชาพุทธ 2 วิชานี้ เป็นข้อมูลเพื่อไปใช้เขียนคำเทศนา สอนพุทธศาสนิกชน ส่วน วิชาวินัย เป็นวิชาเพื่อคุมวัตรปฏิบัติของตนเอง การปกครองสงฆ์ ปกครองวัด การบริหารวัด รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวช้องกับคณะสงฆ์ ทั้งนี้เมื่อเป็นพระจะยกข้ออ้างที่ว่า พระไม่รู้ไม่ได้ เป็นพระรู้พระธรรมวินัยอย่างเดียวไม่พอ ต้องปฏิบัติให้ได้ตามพระธรรมวินัยด้วย

“ความพิเศษของการสอบนักธรรมที่ยังคงเป็นมาตรฐานเกือบ 200 ปี คือ วันและเวลาสอบจะเหมือนกันทุกปี คือ แรม 2 ค่ำ เดือน 12 – แรม 5 ค่ำ เดือน 12 เวลา 13.00 – 16.00 น. ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ใดๆ ในประเทศก็ตาม และเป็นการทำข้อ แบบอัตนัย หรือ เขียนคำตอบตัวมือเท่านั้น ” หลวงพ่อคำไล้กล่าว

พร้อมกันนี้ หลวงพ่อคำไล้ ยังเล่าถึงประวัติของการสอบนักธรรมด้วยว่า การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม หรือที่เรียกกันว่า นักธรรม เกิดขึ้นตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นการศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาไทย เพื่อให้ภิกษุสามเณรผู้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาสามารถศึกษาพระธรรมวินัยได้สะดวกและทั่วถึง อันจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่สัมมาปฏิบัติ ตลอดจนเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างไกลออกไป 

การศึกษาพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณมา นิยมศึกษาเป็นภาษาบาลี ที่เรียกว่า การศึกษาพระปริยัติธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่เรียนรู้ได้ยากสำหรับภิกษุสามเณรทั่วไป จึงปรากฏว่า ภิกษุสามเณรที่มีความรู้ในพระธรรมวินัยอย่างทั่วถึงมีจำนวนน้อย เป็นเหตุให้สังฆมณฑลขาดแคลนพระภิกษุผู้มีความรู้ความสามารถที่จะช่วยกิจการพระศาสนาทั้งในด้านการศึกษา การปครอง และการแนะนำสั่งสอนประชาชน

 ดังนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส จึงได้ทรงพระดำริวิธีการเล่าเรียนพระธรรมวินัยในภาษาไทยขึ้น สำหรับสอนภิกษุสามเณรวัดบวรนิเวศวิหารเป็นครั้งแรก นับแต่ทรงรับหน้าที่ปกครองวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2435 เป็นต้นมา โดยทรงกำหนดหลักสูตรการสอนให้ภิกษุสามเณรได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา ทั้งด้านหลักธรรม พุทธประวัติ และพระวินัย ตลอดถึงหัดแต่งแก้กระทู้ธรรม 

ปีพุทธศักราช 2472 คณะสงฆ์จัดให้มีการสอบธรรมสนามหลวงทั่วราชอาณาจักรเป็นครั้งแรก โดยมีแม่กองธรรมสนามหลวง เป็นผู้ดำเนินการจัดการสอบ ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา และมีพระเถระที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่กองธรรมสนามหลวงสืบมาตามลำดับ แล้วจำนวน 7 รูป รูปปัน คือ  สมเด็จพระวันรัต (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.9) วัดบวรนิเวศวิหาร รับตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ พ.ศ.2542

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"ดร.เฉลิมชัย" ดันโครงการธรรมจักรสีเขียว สร้างวัดต้นแบบเพิ่มพื้นที่ป่าทั่วประเทศ "ชูศักดิ์" ดันตั้งคกก.ระดับชาติแก้ปัญหาที่ดินวัดที่ซับซ้อน

เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2567  ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ...