วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
เตรียมชงแนวปฏิรูปสอนพุทธในร.ร.สพฐ.ต่อมส.ทราบ
วันที่ 29 พ.ย.2561 เป็นวันที่ 2 แล้ว ของของการประชุมคณะอนุกรรมการปฎิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีพระมหาหรรษา ธมฺมหาโส ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) ในฐานะรองประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมฯ โดยมีพระภิกษุสอนศีลธรรมในโรงเรียน, ผู้บริหารจาก สพฐ. ผู้แทนโรงเรียน,นักวิชาการด้านพุทธศาสนา ,นักวิชาการด้านพัฒนาหลักสูตร,นักวัดผลการเรียน, นักจิตวิทยาเด็ก และครู มาร่วมแสดงความคิดเห็นหลักสูตรพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับวัยและสถานการณ์ในโลกปัจจุบัน ซึ่งที่ประชุมถกเถียงกันพอสมควรว่าหลักธรรมระดับไหนที่เหมาะสมกับช่วงวัยของเด็ก เช่นคำว่า "กตัญญูกตเวที"
การร่างหลักสูตรนี้อาศัยกรอบ “หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551” เป็นแนวทางในการร่างเพื่อจัดเป็นหมวดหมู่สาระการเรียนรู้แกนกลางเพื่อการออกแบบการเรียนรู้ที่มีสติเป็นฐาน (Mindffulness Based Learning : MBL) แต่ละชั้นปี
พระมหาหรรษาเปิดเผยว่า "หลังจากนี้ไปจะให้กระทรวงศึกษาธิการรายงานการทำงานความคืบหน้าการปฎิรูป ฯ ให้มหาเถรสมาคมรับทราบถึงรายละเอียดและอาจต้องทำ MOU (Memorandum of Understanding) ระหว่างสำนักพระครูสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และกระทรวงศึกษาธิการด้วย เพื่อจะได้เกิดความร่วมมือด้านอื่น ๆ ต่อไปในอนาคตและหลักสูตรที่กำลังร่างนี้จะเร่งรัดให้ทันการเปิดเทอมแรกในปี 2562นี้ด้วย"
ในวงนอกประชุมมีพระภิกษุและนักวิชาการด้านพุทธศาสนาบางท่านเสนอประเด็นต่อว่า "การปฎิรูปการสอนพุทธศาสนาในโรงเรียนน่าจะมีตัวแทนสำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวงมาร่วมด้วย เพื่อให้การปฎิรูปเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพราะกลุ่มเป้าหมายคือเด็กล้วนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน"
หวังว่าหลักสูตรนี้เมื่อร่างออกมาแล้วจะมีความเหมาะสมกับยุคสมัย เป็นไปตามเจตนารมณ์ของคณะสงฆ์และกระทรวงศึกษาธิการที่คาดหวังปลูกฝัง "เด็กให้เป็นคนดี มีความรู้ คู่คุณธรรม" อันเป็นสร้างภูมิคุ้มกันและพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนอย่างยิ่งยืน สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสังคมคุณธรรม จริยธรรม และมีสติ ใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขท่ามกลางสังคมโลกปัจจุบันนี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ อักโกสกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22
วิเคราะห์ อักโกสกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ อั...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น