วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2561

#ดับโลกร้อนด้วยสติ #นิสิตสันติศึกษาและนานาชาติร่วมสติภาวนาเพื่อให้โลกรอด



#เซอร์เดวิด แอตเทนบะระ #นักธรรมชาติวิทยา ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติในรอบหลายพันปี เขาย้ำว่าว่า มันอาจนำไปสู่การล่มสลายของอารยธรรมต่าง ๆ และการสูญพันธุ์ของ "สิ่งมีชีวิตจำนวนมากในโลก"  ตามลิงค์ https://www.bbc.com/thai/international-46434460?ocid=socialflow_facebook

ความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศภายนอกของโลกและจักรวาลสัมพันธ์กับความเปลี่ยนแปลงของสภาพจิตของมนุษย์ที่อาศัยอยู่ในโลกอย่างแน่นอน  ดังจะเห็นได้จากเวสสันดรชาดก ที่พระเวสสันดรย้ำว่า การปฏิบัติตามศีล 5 จะส่งผลต่อสภาพดินฟ้าอากาศ  หาใช้อำนาจของช้างที่พระองค์ทรงไม่ ศีลห้าเกี่ยวข้องกับการที่มนุษย์ปฏิบัติต่อกัน และสิ่งแวดล้อมด้วยท่าทีที่เหมาะสม และในเบญจธรรมจึงตอกย้ำถึงการมีสติ

ในขณะที่มนุษย์จำนวนมากที่ตกอยู่ภายใต้วัตถุนิยมและบริโภคนิยม แย่งชิงและใช้ทรัพยากรอย่างโลภโมโทสัน จนส่งผลกระทบต่อชีวิตในโลกใบนี้ ทั้งต่อต้นไม้ มนุษย์ สัตว์  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม จนก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน  แล้วส่งผลต่อสภาพน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือ ซึ่งจะละลายและกลับมาทำลายมนุษย์ด้วยภาวะน้ำท่วมเมืองท่าสำคัญของโลก

การปฏิบัติธรรมของนิสิตสันติศึกษา และวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาจุฬาฯ ที่มีนิสิตจากทั่วโลกกว่า  30  ประเทศ เป็นระยะเวลา 15  วัน ณ ศูนย์พัฒนาศาสนาแคมป์สน  เขาค้อนั้น แม้จะไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด แต่เมื่อวิเคราะห์จากฐานพุทธ เชื่อมั่นว่า ลมหายใจที่เยือกเย็นจากการปฏิยัติธรรมนั้น จะส่งผลต่อโอโซนของโลก และทำให้โลกเย็นลง และนั่นจะช่วยทำให้อายุของมนุษยชาติยืนยาวขึ้น เชื่อมั่นว่า ถ้าหากมนุษยชาติมาร่วมกันปฏิบัติธรรมและฝึกสติมากยิ่งขึ้น โลกและจักรวาลย่อมจะมีอายุยืนยาวได้อีกหลายหมื่นปี

Cr.FB-Hansa Dhammahaso

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราห์ ๔. กุลาวกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 27 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 19 ขุททกนิกาย ชาดก เอกกนิบาตชาดก

   ช่วยเขียนบทความทางวิชาการ เรื่อง "วิเคราห์  ๔. กุลาวกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 27  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 19   ขุททกนิกาย    ชาดก เอก...