วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
เปิดบ้านกัลยธรรมอบรมบาลีก่อนสอบ ต้นแบบอุบาสกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา
เปิดบ้านกัลยธรรมอบรมบาลีก่อนสอบ ต้นแบบอุบาสกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา : สำราญ สมพงษ์ ป.ธ.5รายงาน : สำราญ สมพงษ์ ป.ธ.5รายงาน
วันที่ 6 ธ.ค.2561นี้หากคนที่ไม่เคยเดินทางไปที่บ้านกุดจิก อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา เกิดหลงทางผ่านไปที่ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาที่บ้านกัลยธรรม บ้านกุดจิก อ.สูงเนิน คงจะเจ้าใจว่าเจ้าของบ้านทำบุญบ้าน เพราะได้มีพระภิกษุสามเณรฉลองศรัทธาโยมฉันเพลกว่า 30 รูป
แต่สำหรับชาวบ้านกุดจิกแล้ว คงจะเข้าใจดีกว่าบ้านหลังนี้จะมีพระภิกษุสามเณรฉันเช้าและฉันเพลเช่นนี้เป็นประจำทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ใกล้จะมีการสอบภาษาบาลีก็จะมีพระภิกษุสามเณรเพิ่มมากขึ้น เพราะเจ้าของบ้านแห่งนี้คือพ.อ.พิเศษชรินทร์ จุลคประดิษฐ์ อดีตมหาเปรียญอดีตอนุศาสนาจารย์๋กองทัพบก ป.ธ. 9 พุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) หลังจากเกษียณอายุราชการแล้ว ก็ได้ใช้เวลาในการติวเข้มหรือถวายความรู้ภาษาบาลีให้กับพระภิกษุสามเณรอย่างเต็มที่
พ.อ.พิเศษชรินทร์ เคยกล่าวไว้ว่า ยังทำหน้าที่สอนบาลี โดยเปิดบ้านของตัวเองทำเป็นศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา โดยเปิดโอากาสให้พระคุณเจ้าจากต่างจังหวัดมาเรียนบาลีประโยค 8 ประโยค 9 ทำมานานร่วม 20 ปี พระภิกษุสามเณรที่เดินทางจากต่างจังหวัดมาเรียนฟรีทั้งหมด มีอาหารเช้าเพล น้ำปานะ มีที่พักสงฆ์ในบ้านพร้อม แยกเป็นสัดส่วนโดยยกวัดมาไว้ในบ้าน โดยจะจัดอบรมบาลีก่อนสอบเช่นนี้เป็นประจำทุกปีด้วย
และปีนี้มีความเป็นวิเศษคือ ผู้เข้ารับการอบรมมี น.ส.สุกัญญา เจริญวีรกุล นิสิตมหาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เข้าอบรมบาลีศึกษาประโยค 9 รวมอยู่ด้วย
จากผลการเปิดอบรมบาลีก่อนสอบของพ.อ.พิเศษชรินทร์ดังกล่าวส่งผลให้มีพระภิกษุสามเณรสอบได้ในเปอร์เซนต์ที่สูงอย่างเช่นปีการศึกษา 2561 ปรากฏว่าพระภิกษุและสามเณรที่เข้ารับการติวเข้มสอบได้ดังนี้ ป.ธ.9 สอบได้ 8 รูป(32%) ป.ธ.8 สอบได้ 10 รูป(34%) ป.ธ.7 สอบได้ 5 รูป(62%) ป.ธ.6 สอบได้ 4 รูป(50 %) โดยเฉพาะป.ธ.8 มีสามเณรโดนี่ จันทร์ดี อายุ 18 ปี ชาวเมียนมาร์ จากวัดโคกเปี้ยว ต.เกาะยอ อ.เมือง จ.สงขลารวมอยู่ด้วย
ส่วนทุนทรัพย์ในการดำเนินการนั้น นอกจากทุนทรัพย์ของพ.อ.พิเศษชรินทร์แล้ว มียังปัจจัยจากลูกศิษย์ลูกหาที่ได้รับการอบรมอย่างอาจารย์ได้เดินทางไปสนับสนุนอาจารย์อย่างต่อเนื่องอย่างเช่นเมื่อวันที่ 20 ต.ค.2561 พระมหาอาคม สนฺติชโย ป.ธ.9 วัดพระธรรมกาย ฮ่องกง พร้อมด้วยโยมพ่อและโยมแม่ จากจังหวัดบุรีรัมย์ ถวายข้าวสารจำนวน 1 ตันเป็นต้น
จากผลการเปิดบ้านกัลยธรรมอบรมบาลีก่อนสอนของพ.อ.พิเศษชรินทร์นั้นนับได้ว่าพ.อ.พิเศษชรินทร์ได้ยังประโยชน์ของอาจารย์ ประโยชน์ของสังคมและคณะสงฆ์ให้ถึงพร้อม ตามหลักอัตถริยาในสังคหวัตถุ 4 ประการ คือบำเพ็ญประโยชน์ คือ ช่วยเหลือรับใช้ ทำงานสร้างสรรค์ ประพฤติการที่เป็นประโยชน์ อย่างเลิศหมายถึง ช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง (สัทธาสัมปทา) ให้ประพฤติดีงาม (สีลสัมปทา) ให้มีความเสียสละ (จาคสัมปทา) และให้มีปัญญา (ปัญญาสัมปทา) โดยแท้ เพราะภาษาบาลีเป็นภาษาที่จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้ผู้ที่มีพื้นฐานภาษาบาลีดีย่อมทำให้เข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
พร้อมกันนี้นับได้ว่า พ.อ.พิเศษชรินทร์สนับสนุนการศึกษาของเยาวชนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา เพราะพระภิกษุสามเณรที่เรียนภาษาบาลีนอกจากเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าลึกซึ้งแล้ว หากมีความประสงค์ที่จะศึกษาศาสตร์สมัยใหม่ควบคู่ไปด้วย เมื่อสอบป.ธ. 3 ได้ก็จะสามารถเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งคือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) และมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย(มมร) ได้ทันที
หรือผู้ที่สอบป.ธ.9 ได้อนาคตจะมีศักดิ์เท่ากับปริญญาเอกแต่มีเงื่อนไขจะต้องทำดุษฎีนิพนธ์เพิ่มเติมโดยกำหนดในร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว จึงทำให้ระยะเวลาการศึกษาด้านพระปริยัติธรรมนั้นลงหากเปรียบเทียบกับทางโลกเพราะมีสามเณรอายุเพียง 20 ปีก็จบปริญญาโทแล้ว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
แนวทางการป้องกันทุจริตในวงการคณะสงฆ์ไทย
การป้องกันการทุจริตในวงการคณะสงฆ์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนทัศนคติของสังคม การกระจายอำนาจ การขจัดเงื่อนไขที่เอื้อให้มีการทุจริต การ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น