วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2562

ขรก.สำนักงานเลขาธิการสภาฯ เข้าวัด'มจร'ปฏิบัติธรรม 6 - 8 ก.ย.



วันที่ 6 ก.ย.2562 พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา   ให้โอวาทในพิธีเปิดโครงการการปฏิบัติธรรมของข้าราชการสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 6 - 8 กันยายน 2562  เรื่องคุณภาพชีวิตที่ดีงาม มีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือ



1.ความดี คือ บารมี ให้บำเพ็ญบารมีเหมือนพระโพธิสัตว์ ตั้งแต่ทีปังกร พุทธใช้บารมี 500 กว่าชาติ เช่น ทาน มีทั้งธรรมทานต้องให้เนืองๆ และการให้อามิสทานคือให้สิ่งต่างๆ ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสม สมตามฐานะตน ดังนั้น บารมี ควรมีอย่างน้อย 6 บารมีคือ ทาน ศีล วิริยะ ขันติ เมตตา อุเบกขา ความหมายอุเบกขาคือมีใจเป็นกลาง มิใช่เฉยเมย ต้องมุ่งทำกิจหน้าที่ตนให้ดีที่สุด

2.ความจริง คือ ทุกคนอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์ ชีวิตเป็นอนิจจัง ความไม่เที่ยง แปรเปลี่ยนตลอด ทุกขังและ ไม่มีแก่นสารแน่นอน จะเห็นปรากฎชัดในเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

3.ความงาม คือ การให้รางวัลชีวิตตนเอง ได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมดีๆ เพื่อพัฒนากายและใจ มีจริต 6 เป็นพื้นฐาน เช่น ราคะจริต ต้องแก้ด้วยการฝึกดูสิ่งไม่สวยงาม อสุภะ จะได้ยกจิตให้ปล่อยวาง ไม่ยึดติดความสวยงาม มีมุมมองสุนทรีย์ สุนทรียะมี 2 กลุ่ม คือกลุ่มแรก คือกลุ่มจิตพิสัย กลุ่มที่ 2 คือวัตถุวิสัย ขึ้นอยู่กับมุมมองของพิสัยนั้นๆ ขึ้นการมอง เช่น การอยู่กับคนที่อยู่ด้วยสบายใจรู้ใจ ก็เป็นความงาม ให้รางวัลชีวิต กับการเที่ยวธรรมชาติ กับการชื่นชมสิ่งสวยงามโบสถ์ วัด พระพุทธรูป เป็นต้น ทำสถานที่ทำงาน สถานที่อยู่อาศัยให้สะอาด มีสุนทรียะ น่าอยู่น่าอาศัย นี่คือสุนทรียะของชีวิต



ขณะเดียวกันพระครูโสภณพุทธิศาสตร์,ผศ.ดร.รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มจร เป็นประธานเปิดโครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานบริการชุมชน “ภาวนาเพื่อรู้ใจ ฟังเพื่อเข้าใจ พูดด้วยหัวใจ” ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ต.พญาเย็น อ. ปากช่อง จ.นครราชสีมา


Cr.เพจ สถาบันวิปัสสนาธุระ มจร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์นิพพานสูตร

  วิเคราะห์นิพพานสูตรในพระไตรปิฎกเล่มที่ 25: หลักธรรมในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 17 ขุททกนิกาย อุท...