วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

ม.ขอนแก่น พัฒนา AI ร่วมสถาบันชั้นนำญี่ปุ่น หวังพลิกโฉมหน้าการศึกษาไทย ด้วย AI




          มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยฝ่ายการศึกษาและสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ร่วมกับมหาวิทยาลัยทสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น โดย Professor Dr.Masami Isoda ผู้ดูแลโครงการ AI for Education และผู้เชี่ยวชาญด้าน Lesson Study จัดบรรยายเรื่อง AI for Education Tranform in the 4th industrial Revolution เพื่อส่งเสริมนโยบาย Education Transformation ซึ่งเป็นเป็นภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ที่ปรึกษารักษาการแทนอธิการบดี ร่วมเปิดงาน
          นายแพทย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล ที่ปรึกษารักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นและ มหาวิทยาลัยทสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น มีความร่วมมือทางวิชาการมาอย่างยาวนานกว่า 15 ปี ทางด้านการศึกษา ต่อมาได้ขยายความร่วมมือทางด้านอื่น ๆ ได้แก่การแพทย์ การเกษตร มนุษยศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีงานวิจัยก้าวหน้าระดับโลกในหลายๆด้าน โดยเฉพาะที่มีชื่อเสียงอย่างมากในปัจจุบันคือ AI for health care ซึ่งได้ผลิตหุ่นยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าจากมนุษย์เองเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุใน นอกจากนี้ในปี 2019 -2021 ได้เสนอโครงการ AI for Education ซึ่งมี 20 ประเทศในกลุ่มเอเปค เข้าร่วมโครงการดังกล่าว คาดหวังว่าการประชุมหารือครั้งนี้จะสามารถพัฒนาการศึกษาไทยได้ในอนาคต
          รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน กล่าวต่อว่า นักเรียนในปัจจุบันต้องเรียนรู้สองด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบทแวดล้อมการดำเนินชีวิต และด้านวิชาการ ซึ่งมีคณิตศาสตรศึกษาเป็นพื้นฐานสำคัญ ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะเตรียมเด็กตั้งแต่ชั้นมัธยมให้คุ้นชินกับ AI ในทุกสาขาวิชา มีแผนจัดทำ AI ออกแบบระบบ e-Learning ฐานข้อมูลบริการวิชาการ ฉะนั้นในระดับอุดมศึกษาจึงเป็นการต่อยอด ผลิตสินค้า นวัตกรรมในอนาคต Professor Dr.Masami Isoda ผู้ดูแลโครงการ AI for Education และผู้เชี่ยวชาญด้าน Lesson Study กล่าวว่า ในประเทศญี่ปุ่นมีการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการแพทย์ และธุรกิจการท่องเที่ยว อย่างแพร่หลาย กว่าร้อยละ 98.7 ของงานต้อนรับเป็นหน้าที่ของ AI แล้วทั้งสิ้น มนุษย์ต้องหาว่ามีงานส่วนไหนที่ทำได้ ซึ่งมักเป็นงานที่แสดงความรู้สึก ส่วนด้านการศึกษา เมื่อนำ AI เข้าสู่ห้องสอบในระดับอุดมศึกษาพบว่า สามารถสอบแข่งขันเข้าสู่ มหาวิทยาลัยอันดับที่ 64 ของญี่ปุ่น ผลในกระดาษคำตอบบ่งชี้ลงไปอีกว่ามีบางคำถามที่มนุษย์ตอบผิด แต่ AIตอบถูกอย่างง่ายดาย ด้วยการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดนี้จึงทำให้ญี่ปุ่น ร่วมมือกับรัฐบาลไทย ซึ่งทำงานร่วมกันมา 15 ปี ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น พัฒนาหลักสูตรจัดการเรียนการสอน AI ตั้งแต่ระดับ ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ใช้เครื่องมือหุ่นยนต์ ทั้งฝึกอบรม ครู อาจารย์ สอนวิทยาการคำนวน ซึ่งเป็นทิศทางของโลกในอนาคต นอกจากนี้หากนำ AI ปรับเข้าสู่ระบบการศึกษา จะสามารถช่วยลดเวลาทำงานซ้ำ ๆ เช่น การตรวจการบ้าน ให้คะแนนเรียงความ และให้คำปรึกษาแก่นักเรียน ช่วยจัดการและจำแนกงานเอกสารต่าง ๆ ช่วยอาจารย์ผู้สอนในการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนโดยใช้อุปกรณ์ช่วยหลายชนิด เช่น สื่อเสียง (Audio) วิดีโอ และมีผู้ช่วยออนไลน์ สอนแบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ จนมีการคาดการณ์ว่าสักวันหนึ่งข้างหน้า AI จะเป็นอาจารย์เสมือนจริงได้ในอนาคตอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...