วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562
เปิดพระกรุลี้ลับ!..เข้าถ้ำเสือไปขุดพระถ้ำเสือ ครั้งหนึ่งในชีวิตของ'อ.คม ไตรเวทย์'
เปิดพระกรุลี้ลับ!..เข้าถ้ำเสือไปขุดพระถ้ำเสือ ครั้งหนึ่งในชีวิตของ'อ.คม ไตรเวทย์' โบราณสถานคอกช้างดิน และ วัดเขาถ้ำเสือ ต.จระเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
"พระถ้ำเสือ" เป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านเกสรวิเศษต่างๆ พุทธศิลปะแบบอู่ทองล้อทวาราวดี สันนิษฐานสร้างเมื่อประมาณพ.ศ.๒๒๒๐ รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สถานที่ขุดพบ คือ โบราณสถานคอกช้างดิน เขาพระ (ศรีสรรเพชญ์) และวัดถ้ำเสือ ต.จระเข้สามพัน อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
มีข้อสันนิษฐานไว้ว่า ผู้สร้างพระถ้ำเสืออาจเป็นพระฤาษีหรือกลุ่มนักบวชพื้นเมืองที่หันมาศรัทธานับถือพระพุทธศาสนาโดยสร้างบรรจุไว้ในถ้ำบนภูเขาต่างๆ ด้านทิศตะวันตกของลำน้ำจระเข้สามพัน พระฤาษีกลุ่มนี้อาจหมายถึงพระภิกษุคณะอรัญวาสีที่บำเพ็ญเพียรทางจิต ปฏิบัติสมณธรรมอยู่ในเขตป่าเขาสถานที่เงียบสงบหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพระธุดงค์ ส่วนอีกคณะหนึ่งเรียกว่า คณะคามวาสี
การแตกกรุงของพระถ้ำเสือครั้งแรกคือมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ โดยชาวไร่ผู้หนึ่งเดินทางขึ้นเขาเสือ เพื่อไปหามูลค้างคาวตามถ้ำ แล้วพบพระจำนวนมาก จนเป็นที่มาของชื่อ "พระถ้ำเสือ"
หลังจากนั้นได้มีผู้พบพระที่มีพุทธลักษณะพิมพ์ทรงเช่นเดียวกับพระถ้ำเสือ ตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในถ้ำ เนินเขา วัด และเจดีย์ อาทิ พระถ้ำเสือที่พบในถ้ำเขานกจอด เขาวงพาทย์ เจดีย์เขาพระ วัดหลวงเขาดีสลัก และตามถ้ำต่างๆ ใน จ.สุพรรณบุรี
กระทั่ง พ.ศ.๒๕๓๕ ได้มีผู้พบพระถ้ำเสือที่วัดเขาดีสลักอีกครั้ง ซึ่งมีพุทธลักษณะพิมพ์ทรง เช่นเดียวการพบในครั้งแรกๆ และเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๒ นักแสวงโชคที่มีอาชีพขุดหาของมีค่าตามถ้ำต่างๆ ได้พบ "พระถ้ำเสือ" เป็นจำนวนมาก
หนึ่งในจำนวนนักแสวงโชคมีชื่อของ "อ.คม ไตรเวทย์" ฆราวาสที่ถูกยกให้เป็น "ฆราวาสผู้เรืองวิทยาอาคมแห่งเมืองสุพรรณบุรี" รวมอยู่ด้วย
"ตอนแรกก็มีความอยากได้พระถ้ำเสือไว้ติดตัวบูชาสักองค์ แต่ไม่เคยมี ไม่เคยได้ จนกระทั่งมีเด็กวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งมาสักยันต์ พร้อมกับเล่าเรื่องการไปหาพระถ้ำเสือจากกรุเขาพระ (ศรีสรรเพชญ์) ครั้งแรกไม่ปักใจเชื่อเสียเลยทีเดียว
จนกระทั่งมีคนเอาพระถ้ำเสือมาขายองค์หนึ่งโดยรับซื้อไว้ในราคา ๘๐๐ บาท จากนั้นก็ให้ลูกศิษย์ไปใส่กรอบ ปรากฏว่ามีเซียนใหญ่แห่งเมืองสุพรรณขอซื้อในราคาสูงถุง ๒๕,๐๐๐ บาท แต่ได้ยืนยันว่าจะเก็บไว้ใช้"
นี่เป็นที่มาของจุดเริ่มต้นในการแสวงหาและสะสมพระถ้าเสือจากคำบอกเล่าของ อ.คม
พร้อมกันนี้ อ.คม ยังบอกด้วยว่า จากนั้นเด็กวัยรุ่นก็เอามาขายให้ครั้งละ ๒-๕ องค์ โดยได้รับซื้อไว้ทุกครั้ง ระหว่างการรับซื้อพระใจหนึ่งก็นึกสงสัยว่าเอาพระมาจากไหนถึงมีมาขายบ่อยๆ และขายเท่าไรก็ไม่หมด
จึงถามว่า "เอามาจากไหน" และได้รับคำตอบว่า "ไปขุดมากับมือ"
ครั้งแรกไม่เชื่อเพราะพระถ้ำเสือถูกขุดกันมานานแล้วน่าจะหมดไปจากเขาถ้ำเสือ ในที่สุดด้วยความอยากรู้อยากเห็นกับตาจึงตามกลุ่มนักขุดไปลองขุดดูบ้าง ข้อมูลอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากนักขุดรายอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง คือ
"พระถ้ำเสือไม่ได้อยู่ในถ้ำอย่างที่เขาว่าพระฤาษีทำแล้วเอาเก็บไว้ในถ้ำไม่จริงหรอก บนเขาเป็นวัดมีซากเจดีย์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระถ้ำเสือ
เมื่อเวลาผ่านไปเจดีย์พังทลาย พระที่ถูกบรรจุอยู่จึงไหลลงมาตามทางน้ำฝนไปทั่วเขา นักขุดพระถ้ำเสือที่รู้จริงจะสังเกตทางน้ำไหลไปสิ้นสุดจุดใดก็ให้คุ้ยหาที่จุดนั้นๆ จะพบพระแต่ไม่มาก"
ในครั้งนั้นเมื่อว่างเว้นจากสักยันต์ และต้อนรับลูกศิษย์ที่สำนักก็จะเดินทางไปหาพระถ้าเสือด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันหากมีใครนำพระมาขายก็จะรับซื้อไว้ทั้งหมด
นอกจากนี้ยังรับซื้อศิลาแลงขนาดใหญ่ไว้หลายสิบก้อน ทั้งนี้ เมื่อกะเทาะหรือทุบศิลาแลงก็จะพบพระถ้ำเสือที่ฝังอยู่ภายในจำนวนมาก แต่ก็ยังมิวายได้มีมิจฉาชีพที่อาศัยความไม่รู้ของคนเอาก้อนศิลาแลงแล้วเอาพระถ้ำเสือของปลอมฝังเข้าไป
แรกๆ คนไม่รู้ก็ซื้อไปจำนวนมาก จนกระทั่งความจริงมาถูกเปิดพระถ้ำเสือจึงไม่มีใครกล้าเล่น ในที่สุดพระถ้ำเสือที่ฝังในก้อนศิลาแลงก็ไปทำลายพระถ้ำเสือที่เป็นของแท้ทั้งหมด
"ไปทุกครั้งไปพระติดมือกลับมาทุกคน มากบ้างน้อยบ้างสุดแล้วแต่ใครจะโชคดี ในการขุดพระถ้ำเสือมีเคล็ดอย่างหนึ่งคือ ทุกครั้งจะตั้งจิตอธิษฐานขอจากเจ้าที่ เจ้าป่า เจ้าเขา รวมทั้งเจ้าพ่อปู่เจ้าเขาถ้ำเสือ
ถือเป็นเรื่องอัศจรรย์ยิ่งนักหลังจากอธิษฐานแล้วลงมือขุดก็จะได้พระมากทุกครั้ง และครั้งหนึ่งเคยขุดได้เกือบ ๑๐ องค์ รวมทั้งยังเคยได้พระพิมพ์พิเศษ คือ พระถ้ำเสือพิมพ์ ๒ หน้า พระถ้ำเสือพิมพ์พระพิฆเนศวร และพระถ้ำเสือ ๒ หน้าสวนกัน" อ.คม กล่าว
ทุกวันนี้ อ.คม ได้เก็บและอนุรักษ์ก้อนหินศิลาแลงขนาดใหญ่ที่มีพระถ้ำเสือฝังไว้หลายสิบก้อน พระถ้าเสือพิมพ์ทรง่างๆ รวมทั้งก้อนศิลาแลงที่มิจฉาชีพทำขึ้นโดยเอาพระถ้ำเสือของปลอมฝังเข้าไปเพื่อหลอกขายคนที่ไม่รู้จริง ใครอยากชมบารมี รวมทั้งเพื่อศึกษา ต้องไปที่วัดบางกุ้งใต้ ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โทร.๐๘-๗๓๗๒-๒๐๙๒ และ ๐๘-๕๓๗๗-๘๒๕๙
พระถ้ำเสือพิมพ์พิฆเนศ
เดิมเชื่อกันว่าพระถ้ำเสือ เป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา เพราะพบที่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเป็นเมืองเอกในสมัยอยุธยา และอำเภออู่ทอง ตามประวัติศาสตร์ที่ร่ำเรียนกันมาก็เขียนว่า เป็นเมืองที่พระเจ้าอู่ทองเคยมาครองเมืองอยู่ก่อนที่จะย้ายไปสร้างกรุงศรีอยุธยา
ทั้งนี้ มีการสันนิษฐานกันว่า เนื่องจากแม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน หรือเกิดโรคระบาด จึงต้องย้ายเมืองไปโดยเหตุผลรวมๆ กันดังกล่าวข้างต้น และมิได้มีการศึกษาพระถ้ำเสือกันอย่างจริงจังก็ด่วนสรุปว่า พระถ้ำเสือเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา แต่บางท่านก็เห็นว่าศิลปะของพระถ้ำเสือใกล้เคียงกับศิลปะทวาราวดี จึงสรุปเอาว่าพระถ้ำเสือเป็นพระสมัยอยุธยาล้อสมัยทวาราวดี
ส่วนพิมพ์พระถ้ำเสือที่เห็นมีทั้งหน้าพุทธ หน้าเทวดา หน้าฤาษี บางพิมพ์เป็นองค์พระฤาษีเลย กรุเขาคอก (วัดถ้ำเสือ) มีการพบพระถ้ำเสือพิมพ์พิฆเนศด้วย กรุเขาพระ(ศรีสรรเพชญ์) พบพระพิมพ์พระฤาษีจำนวนมาก กรุเขาพระมีพระถ้ำเสือหน้าคล้ายพระผงสุพรรณมีจมูกยาวคล้ายงวงช้างและหูใหญ่เหมือนหูช้าง มีพระบางพิมพ์มีท้องใหญ่คล้ายท้องพระสังกัจจายน์ หรือเหมือนท้องช้างนั่นเอง
นอกจากนี้กรุวัดเขาดีสลัก กรุวัดเขาวงษ์ มีพระถ้ำเสือพิมพ์เปาบุ้นจิ้นตาเฉียงขึ้นแบบศิลปะจีน หรือตาเฉียงแบบตาช้าง เช่นเดียวกับตาของพระพิฆเนศ
อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือพระพิมพ์ถ้ำเสือที่ได้พบทั้งหมดมีน้อยมากที่จะมีพระศกเป็นเม็ดเป็นตุ่มของพระพุทธเจ้า ส่วนใหญ่ถ้าเป็นหน้าพระพุทธหรือหน้าเทวดาจะเป็นคล้ายหมวกหรือชฎาครอบอยู่บนศีรษะและมีส่วนที่ห้อยมาปิดหูเหมือนพระอินเดียหรือพระทิเบตก่อนสมัยทวาราวดีทั้งสิ้น
สามารถชมคลิปสัมภาษณ์ได้ที่ ..https://youtu.be/cii7IVE5N7Q ขอบคุณข้อมูลจากเพจพระองค์ครู ไตรเทพ ไกรงู
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"
กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น