วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2562
รมว.ดีอียัน 1 พ.ย.เปิดแน่! ศูนย์ Fake news อย่างเป็นทางการ
รมว.ดีอียัน 1 พ.ย.เปิดแน่! ศูนย์ Fake news อย่างเป็นทางการ ยึดหลักแม่นยำถูกต้องและน่าเชื่อถือ ย้ำไม่มีการเมืองแทรกแซง เน้นช่วยประชาชนตรวจสอบข่าว ขณะนี้คืบหน้าไปกว่าร้อยละ 60 ย้ำคนทำสื่อต้องรับมือและปรับความคิดให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนในการตรวจสอบข่าวก่อนนำเสนอ เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมให้คนกลับมารับข่าวสารจากคนทำสื่อฯ ยึดความถูกต้องมากกว่าธุรกิจ บนแพลตฟอร์มที่ทันสมัย
วันที่ 28 กันยายน 2562 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดตั้งศูนย์ต้านข่าวปลอมหรือเฟคนิวส์ว่า ขณะนี้มีความคืบหน้าประมาณร้อยละ 60 ถือว่ามีความคืบหน้าไปมากซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตั้งระบบ social listening ที่เป็นเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจสอบข่าวปลอมพร้อมทั้งติดตั้งเครื่องมือต่างๆภายในศูนย์ฯ และทดลองให้เกิดความแม่นยำ เพื่อติดตามการแชร์ข่าวที่เกิดผลกระทบต่อประชาชนและความเสียหายของประเทศในวงกว้าง รวมทั้งข่าวที่เกี่ยวกับการโฆษณาเกินจริง ซึ่งขณะนี้ได้มีการทาบทามบุคคลที่มีความรู้ความสามารถเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและระบบการสื่อสารทั้งจากภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม
พร้อมกันนี้ยังยืนยันว่า ศูนย์ต้านข่าวปลอมจะไม่มีเรื่องการเมืองมาแทรกแซง และจะไม่เกี่ยวข้องกับข่าวที่เป็นข้อพิพาทระหว่างนักการเมืองด้วยกัน และมั่นใจว่าศูนย์ต้านข่าวปลอมที่ตั้งขึ้นโดยภาครัฐจะสามารถทำหน้าที่ตรวจสอบข่าวปลอมได้ดีที่สุดเพราะจะสามารถติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รวดเร็วที่สุด ด้วยขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ติดต่อไปยัง กอ.รมน. เมื่อพบข่าวปลอมประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใน 1 ชม. นำเสนอขั้นตอนการตรวจสอบเป็นอินโฟกราฟฟิกเพื่อส่งต่อไปยังสื่อมวลชนให้นำเสนอไปยังประชาชน จากนั้นให้ ปอท. เป็นผู้ดำเนินคดีผู้เผยแพร่ข่าวปลอม
นายพุทธิพงษ์ ยังเน้นย้ำอีกว่าศูนย์ต้านข่าวปลอมจะไม่มีการล้วงข้อมูลความลับจากประชาชนแต่จะเป็นการช่วยตรวจสอบเรื่องความถูกต้องมากกว่า ยึดหลัก แม่นยำถูกต้อง และน่าเชื่อถือ โดยศูนย์ดังกล่าวจะเสร็จสมบูรณ์เป็นทางการ 1 พฤศจิกายนนี้
ย้ำคนทำสื่อต้องรับมือและปรับความคิดให้ทันความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
นายพุทธิพงษ์ ได้ร่วมเสวนาสะท้อนมุมมองความเห็นเรื่องการรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล บนเวทีเสวนา”สื่อยุคดิจิทัล จุดจบหรือเริ่มต้นใหม่” จัดโดยสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยว่า ตลอดระยะเวลาการทำงานก่อนเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีได้อยู่ใกล้สื่อมวลชนมาตลอดหลายคนที่รู้จักทำงานเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ที่ปรับตัวไม่ทันต้องออกจากงานซึ่งเมื่อมีการพัฒนาในเรื่องเทคโนโลยีการหาข่าวจะง่ายขึ้นบางครั้งไม่ต้องมีแหล่งข่าวเป็นตัวบุคคลแต่อาจจะหาข่าวจากใน Facebook หรือ ตามสื่อออนไลน์ ส่วนตัวมองว่าสิ่งนี้ทำให้จรรยาบรรณของสื่อฯ มีน้อยลงขาดการคัดกรอง รวมทั้งมีการใส่ความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไปในข่าวเพื่อเพิ่มยอดคนดู ยอดไลค์ ร้ายแรงไปจนถึงการสร้างความเสียหายเป็นต้นเหตุให้เกิดข่าวปลอมมากขึ้น มีการบิดเบือนจนกลายเป็นธุรกิจ อยู่บนแพลตฟอร์มที่ทันต่อยุคสมัย
นายพุทธิพงษ์ ยังกล่าวถึงยุคของการเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะเป็นจุดจบของสื่อมวลชนหรือไม่ ว่า ส่วนตัวที่คลุกคลีใกล้ชิดวงการนี้มองว่าอยู่ที่การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงซึ่งหลายบริษัทปรับตัวไม่ทันจึงต้องปิดตัวลงเนื่องจากความไม่เข้าใจกับสิ่งที่ต้องทำ ส่วนตัวเสนอสิ่งที่ต้องทำต่อเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทั้งผู้บริหารต้องเปลี่ยนวิธีคิดและบุคลากรต้องเตรียมตัวให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และในยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วแบบนี้สิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่านั้น คือ ข่าวปลอม หรือ fake news ที่กำลังพัฒนาเป็น Deep fake หรือข่าวที่บิดเบือนการพูดของบุคคลบุคคลหนึ่งให้เกิดความเสียหายดังนั้นต้องรู้เท่าทันเพื่อหาวิธีรับมือเพื่อป้องกัน
ในส่วนของข่าวปลอม นายพุทธิพงษ์ ยังกล่าวอีกว่า นอกจากเนื้อหาที่มีความบิดเบือนแล้วการนำความคิดเห็นส่วนตัวใส่ลงไปก็ถือเป็นข่าวปลอม ดังนั้นคนทำสื่อฯจะสามารถอยู่ต่อไปได้ก็คือการตั้งรับและปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ซึ่งการทำข่าวในยุคนี้นอกจากที่จะต้องดูพฤติกรรมการเสพข่าวของประชาชนแล้วสิ่งที่ยังต้องระวังคือความถูกต้องมากกว่าเน้นความเป็นต้น เพื่อเรียกยอดคนดูซึ่งสิ่งเหล่านี้คนทำสื่อต้องทำเป็นมาตรฐานในทิศทางเดียวกัน และตรวจสอบข่าวก่อนนำเสนอ เพื่อให้ประชาชนกลับมายึดมั่นที่จะเสพข่าวจากคนทำสื่อจริงๆ
นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลฯ ยังเน้นย้ำว่าเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วยังเป็นต้นเหตุให้เกิดการทุจริตมากขึ้นด้วยเช่นกันเพราะฉะนั้นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำคือทำให้ประชาชนเชื่อมั่นในการตรวจสอบข่าวที่มาจากคนทำสื่อมวลชนที่แท้จริง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"
กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น