วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2562

กมธ.สภาฯรอดู! แบน 3 สารพิษพิสูจน์รบ.' จริงใจ'หรือ'จิงโจ้'



วันที่ 23 กันยายน 2562 นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส. นครพนม พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม  สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยเป้าหมายร่วมกันของ กมธ.ว่า วัตถุประสงค์หลักของการศึกษา คือ แก้ไขปัญหาการตายผ่อนส่งของคนไทยที่ได้รับภัยจากสารเคมีร้ายแรงที่ปนเปื้อนในพืชผลการเกษตรและในสิ่งแวดล้อม 
              
"ผมดีใจที่ กมธ.ทุกท่านหลอมรวมเป็นเอกภาพ เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีการแบ่งแยกเป็นพรรคการเมืองต่าง ๆ ทำให้การทำงานของ กมธ.เป็นไปด้วยความราบรื่น และมั่นใจว่าจะเสร็จภารกิจตามกำหนด 60 วัน ที่สภา ฯ มอบหมายไว้ ในการประชุมครั้งแรกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรแบนสารพิษร้ายแรง 3 ตัว คือ พาราควอต คลอไพริฟอส และไกลโฟเซต ในทันที ไม่ต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมอีกแล้ว เพราะมีทั้งงานวิจัยและผลกระทบที่เกษตรกรและผู้บริโภคประสบอยู่ ตลอดจนมีประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ถึง 53 ประเทศ ได้สั่งแบนสารพิษร้ายแรง 3 ตัว ดังกล่าวไปแล้ว"ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม  สภาผู้แทนราษฎร กล่าวและว่า
               
สำหรับกรณีคณะกรรมการวัตถุอันตรายได้ประชุมเมื่อในที่ 18 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา แล้วมีมติยื้อการแบน 3 สารพิษ ออกไปอีก 60 วัน โดยมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อหาทางออกต่อไปนั้น  ในฐานะประธาน กมธ.วิ. ขอยืนยันว่า จะผลักดันการแบน 3 สารพิษร้ายแรงต่อไปอย่างมั่นคง และขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลว่า การรักษาชีวิตคนไทยไม่ให้ตายผ่อนส่งซึ่งรวมทั้งตัวท่านและบุคคลในครอบครัวด้วย มีความสำคัญสูงสุดมากกว่าผลประโยชน์อื่นใดซึ่งเป็นเรื่องรอง ถ้าตัดสินใจปัญหาหลักไม่ได้ ก็ยากที่จะแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ที่ตามมาอีกมากมาย
              
ความจริงคณะกรรมการวัตถุอันตรายก็เป็นเพียงกลไกหนึ่งในการทำงานของรัฐบาล เวลากว่า 5 ปีที่ผ่านมา ถ้ารัฐบาลมีนโยบายในการดูแลคุณภาพชีวิตเกษตรกรและประชาชนทั่วไปซึ่งเป็นผู้บริโภค คณะกรรมการวัตถุอันตรายก็คงสนองนโยบายรัฐบาลไปแล้ว ดังนั้น หัวใจสำคัญจึงอยู่ที่ว่า รัฐบาลมีความมุ่งมั่น จริงใจที่จะแก้ไขปัญหาการตายผ่อนส่งของคนไทย มากน้อย แค่ไหน เพียงใด อย่างไรก็ตาม กมธ.จะยืนหยัดเดินหน้าต่อไปอย่างเต็มกำลังเพราะได้ฉันทานุมัติจากสภาผู้แทนราษฎรด้วยเสียงเอกฉันท์ไม่มีผู้ใดคัดค้านแม้แต่เสียงเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...