วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562
'จุรินทร์'ช่วยสวนยาง เปิดดีลการค้าเมืองเจนไน-อินเดียใต้ พร้อมการันตียางพาราไทยได้มาตรฐานโลก
วันที่ 27 กันยายน 2562 เวลา 10.00 น.ตามเวลาท้องถิ่นเมืองเจนไน ประเทศอินเดีย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดสัมมนา โอกาสใหม่ทางธุรกิจของอุตสาหกรรมอย่างระหว่างไทยและอินเดียและกิจกรรมสร้างเครือข่ายธุรกิจโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สมาคม All India Rubber Industries Association (AIRIA) และสมาคม Automobile Tyre Manufactures Association (ATMA) ณ เมืองเจนไน ประเทศอินเดียซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของอินเดียมีประชากรกว่า 7 ล้านคน โดยมีนายนิธิรุจ โผนประเสริฐ กงสุลใหญ่ร่วมกับ ประธานของสมาคม AIRIA กับ ATMA กล่าวต้อนรับ
นายจุรินทร์ กล่าวว่า โอกาสที่ได้มาเยือนเมืองเจนไน รัฐทมิฬนาฑูเป็นครั้งแรก ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่มีโอกาสได้เห็นศักยภาพที่เข้มแข็งทางเศรษฐกิจของรัฐทมิฬนาฑูว่า เป็นรัฐที่สร้างรายได้ทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศอินเดียมากเป็นอันดับ 2 และเป็นแหล่งลงทุนของต่างชาติสูงเป็นอันดับ 4 ของประเทศ อีกทั้งเป็นฐานการผลิตสำคัญของอินเดียตามนโยบาย Make in India โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ จนได้ชื่อว่าเป็น “ดีทรอยต์ ออฟ อินเดีย”
ตนเชื่อว่าทุกท่านคงทราบดีอยู่แล้ว ว่าอินเดียและประเทศไทยมีความสัมพันธ์กันมายาวนาน และรัฐบาลทั้งสองมีนโยบายที่สอดคล้องประสานกัน โดยเฉพาะนโยบาย Act East ของอินเดียกับนโยบาย Look West ของไทย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการได้ส่งเสริมความเป็นพันธมิตรหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันให้เพิ่มมากขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไทยกับอินเดียมี FTA ที่เชื่อมโยงการค้าระหว่างกันถึง ๒ ฉบับ นั่นคือ 1.คือ FTA ไทย-อินเดีย ซึ่งได้กล่าวถึงเรื่องการลดภาษีนำเข้ายางจากประเทศไทย ซึ่งตนจะรับไปหารือ และ 2. FTA อาเซียน-อินเดีย ซึ่งส่งผลให้การค้าระหว่างสองภูมิภาคขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการประชุมที่ผ่านมาตนเป็นประธานเราเห็นว่าเราจะยกระดับการค้าอาเซียน-อินเดีย ซึ่งจะได้ขยายตัวต่อเนื่อง โดยในปี 2561 การค้าระหว่างอินเดีย-อาเซียน คิดเป็นมูลค่ากว่า 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 9.8 นอกจากนั้นยังมี RCEP (ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค) ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งความสัมพันธ์ทางการค้าที่จะช่วยให้การค้าระหว่างอินเดียกับอาเซียนมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ในโอกาสที่ไทยเป็นประธานอาเซียนและประธานการประชุมรัฐมนตรี RCEP ในปีนี้ เราตั้งเป้าที่จะเจรจาให้บรรลุข้อตกลง RCEP ในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะทำให้อาเซียนและอินเดียสามารถเข้าสู่ตลาดขนาดใหญ่ที่มีประชากรรวมกันกว่า 3,560 ล้านคนหรือประชากรกว่าครึ่งโลก มีมูลค่าการค้ามากกว่า 10.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 30 ของมูลค่าการค้าของโลกในอนาคต
สำหรับสินค้าสำคัญของไทย คือ สินค้าทางการเกษตร และยางพารา ถือว่าเป็นสินค้าที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญ เพราะประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางพาราสำคัญของโลก และยืนยันว่ายางพาราไทยมีคุณภาพ มาตรฐานสากล รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพสินค้ายางพาราของไทย เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องคุณภาพ มาตรฐานให้แก่ผู้ซื้อในต่างประเทศ ซึ่งผมได้เล็งเห็นว่า อินเดียในฐานะศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และไทยในฐานะผู้ผลิตยางพาราสำคัญ จะสามารถร่วมมือกันยกระดับธุรกิจการค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมยางระหว่างกันให้เพิ่มมากขึ้นได้อีกขั้นหนึ่ง
ในการเยือนครั้งนี้ ตนขอขอบคุณสมาชิกธุรกิจอินเดียที่จะได้ทำการตกลงการซื้อขายและในนามรองนายกรัฐมนตรีจากประเทศไทยนั้นถือว่าเป็นการให้เกียรติตนอย่างยิ่ง โดยหากมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคต้องการให้ตนรับทราบสามารถประสานงานได้ทั้งกงสุลใหญ่และทูตพาณิชย์ประจำเมืองเจนไน และในการทำข้อตกลงซื้อขายที่จะเกิดขึ้นวันนี้นั้นตนขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง และไม่ว่าอนาคตตนจะเป็นรัฐบาลหรือไม่แต่อย่างไรตนก็เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต่อไป อย่างไรก็ตาม การทางมาเยือนเมืองเจนไนในครั้งนี้ ได้นำคณะผู้แทนไทยทั้งภาครัฐและเอกชนด้านยางพาราและไม้ยางพารา แล้วยังได้นำผู้ดำเนินธุรกิจบริการโลจิสติกส์มาพบและหารือกับภาคธุรกิจของอินเดียในงานสัมมนาและการเจรจาธุรกิจในวันนี้ด้วย
นายจุรินทร์ ได้ขอบคุณสมาคมอุตสาหกรรมยางแห่งอินเดียและสมาคมผู้ผลิตยางล้อที่มีบทบาทสำคัญ และให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่กับกระทรวงพาณิชย์ของไทยในการจัดสัมมนาแลการเจรจาธุรกิจในครั้งนี้ ขอบคุณนักธุรกิจชาวอินเดียในเมืองเจนไนทุกท่านที่สละเวลาที่มีค่าของท่านมาร่วมงานในวันนี้ เชื่อว่างานสัมมนาในวันนี้จะเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นักธุรกิจสองฝ่ายได้ทำความรู้จัก สร้างเครือข่ายธุรกิจ และแสดงศักยภาพของกันและกัน เพื่อนำไปสู่การขยายโอกาสทางการค้าใหม่ๆ ด้านสินค้ายางพาราระหว่างกันต่อไป และขอให้การสัมมนาและการเจรจาธุรกิจในวันนี้ประสบผลสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเปิดการสัมมนา
สำหรับการสัมมนาที่เมืองเจนไน เรื่องโอกาสใหม่ทางธุรกิจของอุตสาหกรรมยางระหว่างไทยและอินเดียเป็นเป้าหมายการเปิดตลาดยางพาราของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นนโยบายเชิงรุกของรัฐบาลนี้ ในโอกาสนี้ยังมีประธานสมาพันธ์อุตสากรรมแห่งอินเดียใต้นำสมาชิกคณะนักธุรกิจชั้นนำของเมืองเจนไนเข้าเยี่ยมคารวะพร้อมหารือกับนายจุรินทร์เกี่ยวกับโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและอินเดียใต้ด้วย ซึ่งทางไทยได้มีคณะและผู้แทนการค้า เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สมาคมธุรกิจไม้ยางพารา รวมทั้งบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการเปิดตลาดร่วมพบปะด้วย โดยเชื่อว่าช่วงค่ำวันนี้นายจุรินทร์จะได้ประกาศข่าวดีสำหรับประเทศไทย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ชื่นชมการทำงานของคุณจุรินทร์ค่ะ
ตอบลบขอให้สำเร็จ รอฟังข่าวดี
ตอบลบเอาใจช่วยค่ะ ขอให้สำเร็จ
ตอบลบเชื่อในฝีมือการทำงานของคุณจุรินทร์ ต้องสำเร็จแน่นอน
ตอบลบเชื่อในความสามารถของท่านค่ะ
ตอบลบเชื่อมั่นในการทำงานของท่านค่ะ👍👍👍
ตอบลบเชื่อในฝีมือการทำงานของท่านจุรินทร์ครับ💯
ตอบลบเอาใจช่วยกับการทำงานของท่านค่ะ
ตอบลบ