วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2562

“กมธ.ดีอี”ติดตามงานดิจิทัลจังหวัดภูเก็ต ดันเป็น“Smart-Safe city”




“กัลยา” นำทีม “กมธ.ดีอี” ติดตามงานดิจิทัล ทำจังหวัดภูเก็ตเป็น “Smart-Safe city” เรียกความมั่นใจนักท่องเที่ยว กระตุ้นการท่องเที่ยว เพื่อประโยชน์ปชช.-เศรษฐกิจ 

  
วันที่ 30 ก.ย.2562 คณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือกมธ.ดีอี นำโดยน.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานกรรมาธิการฯ นายสยาม หัตถสงเคราะห์ ส.ส.หนองบัวลำภู พรรคเพื่อไทย นายนิคม บุญวิเศษ  ส.ส.พรรคพลังปวงชนไทย รองประธานกรรมธิการฯ นายชาญวิทย์ วิภูศิริ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ที่ปรึกษากรรมาธิการฯ และนางสาวภาดาท์ วรกานนท์ ส.ส.กทม. พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะโฆษก กมธ. พร้อมคณะลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตระหว่างวันที่ 30 ก.ย -1 ต.ค. เพื่อติดตามการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล โทรคมนาคม ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต

น.ส.กัลยา ให้สัมภาษณ์ว่า การลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ตในครั้งนี้ เราได้มาศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการขนส่งและเดินทางภายในจังหวัดภูเก็ต ที่บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด ซึ่งได้ดำเนินงานด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในด้านการขนส่งมวลชนเรียกว่า “Smart Transit” เป็นการพัฒนาและยกระดับระบบคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางน้ำและทางอากาศ ให้สอดคล้องต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การบิน และโลจิสติกส์ เพื่อให้การเดินทางขนส่งมีความสะดวกสบาย รวดเร็ว ปลอดภัย แก่ชาวภูเก็ตและนักท่องเที่ยว โดยเรามี “Smart Bus” ที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถวางแผนการเดินทางได้ สามารถเช็คเวลาการเข้าจุดรับ-ส่ง ของแต่ละสถานีผ่านเว็ปไซต์ มี wifi, cctv ระบบgps ติดตามเพื่อให้นักท่องเที่ยวมั่นใจในความปลอดภัย 

“คณะกรรมาธิการ ดีอี เราให้ความสำคัญและติดตามการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างจังหวัดภูเก็ต ที่เป็นต้นแบบของสมาร์ท ซิตี้ นอกจากจะต้องมีการพัฒนาในด้านการอำนวยความสะดวกสบายให้กับนักท่องเที่ยวแล้ว ที่สำคัญไม่แพ้กัน คือเรื่องความปลอดภัยของ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังจังหวัดภูเก็ต จึงได้มีการวางแผนดำเนินการที่เรียกว่า Smart safety โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเดินทางสัญจร ระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติ ระบบกล้องวงจรปิด ที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวมากขึ้น” ประธานกมธ.ดีอี กล่าว

เมื่อถามว่าการลงมาดูงานของกมธ. เกรงหรือไม่จะถูกกล่าวหาว่าเป็นการใช่งบประมาณที่สิ้นเปลือง นางสาวกัลยา กล่าวว่า การลงพื้นที่ของกมธ. ในการติดตามงานด้านการใช้เทคโนโลยี การโทรคมนาคม ในด้านการอำนวยความสะดวก การดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะในเมืองท่องเที่ยวอย่างจังหวัดำภูเก็ต เมื่อเทียบกับผลที่ประเทศไทยได้รับ ถือว่าคุ้มค่ามาก ซึ่งเมื่อโครงการต่างๆ ดำเนินงานได้จริง จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับนักท่อเที่ยวที่จะเดินทางมาจังหวัดภูเก็ตได้มาก ส่งผลให้เป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยว เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ ตนเองไม่อยากให้มองการทำงานของกมธ.ในมุมลบคือเรื่องการใช่งบประมาณเท่านั้น เราลงมาคือตั้งใจมาทำงานเพื่อพี่น้องประชาชน เพื่อประเทศชาติ ซึ่งงบประมาณที่ใช้ไปก็ไม่ได้มากอะไร แล้วหากเทียบกับผลประโยชน์ที่มีต่อประชาชน ต่อเศรษฐกิจในพื้นที่ ถือว่ามีความคุ้มค่าอย่างยิ่ง

ด้านนางสาวภาดาท์ กล่าวว่า นอกจากกมธ.ดีอี จะได้ติดตามศึกษาดูงานที่บริษัทภูเก็ตพัฒนาเมืองแล้ว กมธ. ยังจะได้เดินทางไปยังบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (CAT) จังหวัดภูเก็ต เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินงานตามโมเดล “Smart City” ที่มีจังหวัดภูเก็ตเป็นต้นแบบ โดย CAT มีภารกิจการดำเนินงาน “Smart Wifi”  1,000 จุด ระบบเน็ตเวิร์ค LoRa WAN 39 จุด ครอบคลุมพื้นที่ภูเก็ตและจังหวัดข้างเคียง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เข้ามาประยุกต์ใช้ในด้านการักษาความปลอดภัย ด้วยระบบกล้อง cctv การดำเนินงานด้านโลจิสติก การจราจรด้วยโครงการ Phuket Safe City นอกจากนี้ กมธ.ดีอี ยังจะได้ติดตามแนวทางการวางโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาเมืองภูเก็ตให้เป็น “Smart City” ได้อย่างสมบูรณ์แบบอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์

  การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...