วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2562
ครูโอ๊ะหวังชูร.ร.เสียดายแดด ต้นแบบเรียนรู้พลังงานทดแทน
'กนกวรรณ'นำคณะช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมอุบลราชธานี เยี่ยมชมร.ร.เสียดายแดด ทึ่งแปลงป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ห้องสุขาต้นไม้งานช่างปูนปั้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หวังชูเป็นต้นแบบเรียนรู้พลังงานทดแทน ดูการเรียน กศน.หลังกำแพงศรีสะเกษ แนะเพิ่มครูจัดหลักสูตรหลากหลาย สื่อที่จำเป็น พร้อมเอื้อต่อการเรียนจบมากขึ้น
วันที่ 26 กันยายน 2562 ดร.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายแก่ผู้บริหาร ครู และนักเรียนโรงเรียนเอกชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยนายกมล รอดคล้าย ที่ปรึกษา รมช. นายพะโยม ชิณวงศ์ ประธานคณะทำงาน รมช. นายศรีชัย พรประชาธรรม เลขาธิการ กศน. โดยมีนายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ และนายมณฑล ภาคสุวรรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โรงเรียนศรีแสงธรรม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา โดยมีพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีแสงธรรม เป็นผู้รับใบอนุญาตโรงเรียน
ดร.กนกวรรณ ได้กราบนมัสการและกล่าวชื่นชมในผลงานของพระคุณเจ้าพระครูวิมลปัญญาคุณ ที่ได้เมตตาเปิดโรงเรียนในปี 2553 เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ยากจนให้มีโอกาสได้เรียนหนังสือ และเมื่อจบระดับชั้นสูงสุดในโรงเรียนแล้ว ยังส่งให้เรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย รวมทั้งให้ทุนการศึกษาจนจบในระดับปริญญาตรี
"ด้านการบริหารพลังงานทดแทนนั้นพระครูวิมลปัญญาคุณได้มีการวางระบบการสร้างพลังงานทดแทน การทำระบบโซล่าเซลล์ให้สามารถใช้ในโรงเรียนอย่างเพียงพอ สร้างกลุ่มนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถในการติดตั้ง บำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ได้อย่างมืออาชีพ ตลอดจนการอนุเคราะห์ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ในโรงพยาบาล โรงเรียน สำนักสงฆ์ วัด และสถานที่ราชการ บ้านพักอีกหลายแห่ง ทำให้มีชื่อเสียงไปยังต่างประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา และยุโรป โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าโรงเรียนศรีแสงธรรมจะเป็นแหล่งเรียนรู้ของบรรดานักเรียน เยาวชน และประชาชนทั่วไป ที่จะได้มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้แนวทางการสร้างพลังงานทดแทนแห่งนี้เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาของเยาวชนในประเทศสืบไป" ดร.กนกวรรณ กล่าว
พร้อมกันนี้ดร.กนกวรรณได้เยี่ยมชมผลงานภายในโรงเรียนรวมเข้าเยี่ยมชมแปลงป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง และห้องสุขางานช่างปูนปั้นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ดร.กนกวรรณ ได้กล่าวในช่วงที่โรงเรียนอนุบาลน้องหญิง อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานีว่า ขอชื่นชมรูปแบบการจัดการศึกษาของโรงเรียน ที่ได้มีส่วนช่วยในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพการศึกษาของประเทศจากผลการดำเนินงานทำให้ได้เห็นศักยภาพของโรงเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศครอบคลุมในหลายๆด้าน อาทิเช่น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบผสมผสานหรือ Nongying Model การจัดเรียนการสอนตามแนวโรงเรียนส่งเสริมการคิด Thinking School ที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิดและการเรียนรู้ให้นักเรียนถึงขีดสุดของศักยภาพ การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของสถานศึกษาให้น่าอยู่ เอื้อต่อการเรียนรู้ รวมถึงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ทั้งหมดล้วนเป็นผลงานที่ประจักษ์
พร้อมกันนี้ ดร.กนกวรรณ รมช.ศธ.ได้มอบเงินช่วยเหลือเยียวยาหลังน้ำท่วมให้กับโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนละ 10,000 บาท จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดไชยมงคลวิทยาคม โรงเรียนวัดนาเยียวิทยา โรงเรียนท่ากกแห่วิทยาราม โรงเรียนคูเดื่อวิทยาคม โรงเรียนอนุบาลเปรมชนก และโรงเรียนสัมมาสิกขาราชธานีอโศก
ดูการเรียน กศน.หลังกำแพงศรีสะเกษแนะเพิ่มครู
ต่อมาวันที่ 27 กันยายน 2562 เวลา 8.00 น. ดร.กนกวรรณพร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการเรียนการสอนนอกระบบของ กศน. ภายในเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมืองศรีสะเกษ พร้อมพบปะพูดคุยกับครูผู้ช่วยสอนและนักศึกษา กศน. ถึงความต้องการและปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ โดยมีนายอุทัย ทัพอาสา ผู้บัญชาการ เรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ และเจ้าหน้าที่ ให้การต้อนรับ
รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่า หลังจากได้เยี่ยมชมการเรียนการสอน ภายในห้องสมุดพร้อมปัญญา ภายในเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า นักศึกษา กศน. ที่กำลังศึกษาทั้งในสายสามัญ ตั้งแต่ผู้ไม่รู้หนังสือจนถึงระดับปริญญาตรี ตลอดจนหลักสูตรวิชาชีพ รวมจำนวน 150 คน รวมทั้งยังได้จัดหลักสูตรพัฒนาจิตใจและสมาธิ มาตั้งแต่ปี 2558 เป็นจำนวน 14 รุ่นแล้ว นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษากับหลายสถาบัน อาทิ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบอย่างรอบด้านด้วย
วันนี้มีความรู้สึกยินดี ที่ได้มาพบปะพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ ครูผู้ช่วยสอน และนักศึกษา กศน. ซึ่งได้สะท้อนข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนการสอน เพื่อเอื้อให้นักศึกษา กศน. เรียนจบมากขึ้น หรือถึงแม้ยังไม่จบการศึกษาหลังออกไปจากที่นี่แล้ว แต่ก็สามารถไปเรียน กศน.ต่อที่ข้างนอกได้ง่ายขึ้น ซึ่งหนึ่งในความต้องการของผู้เรียน กศน. คือ หลักสูตรที่ตอบสนองความถนัดและความต้องการของผู้เรียน คำอธิบายรายวิชา ที่จะเป็นแนวทางในการสอนของครูอาสา และช่วยส่งเสริมการเรียนได้ตามถนัด ความสนใจ และมีความสัมพันธ์กับเวลาเรียน
"โดย รมช.ศึกษาธิการ ได้มอบเป็นนโยบายให้กับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงาน กศน.จังหวัดศรีสะเกษ ประสานการทำงานร่วมกับเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ และหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่ เพื่อเอื้ออำนวยความสะดวกให้มีผู้เรียนจบ กศน.มากขึ้น เพราะการเรียนในที่นี้สร้างสมาธิและมีโอกาสในการเรียนจบมากกว่าเรียนข้างนอก จึงขอให้จัดระบบคัดกรองผู้ที่มีความสนใจที่จะเรียนและส่งเสริมให้เรียนมากขึ้น จัดหาครู กศน.เพิ่มเติมและสื่อการเรียนที่จำเป็น อาทิ ศาสตร์พระราชา ตลอดจนจัดระบบสะสมหน่วยกิต (Credit Bank) และรับรองวุฒิการศึกษา เพื่อเอื้อต่อการไปเรียนต่อเมื่อออกไปจากที่นี่
ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ก็จะดูแลและติดตามผู้เรียนที่ออกไปจากที่นี่ เพื่อนำเข้าสู่ระบบการศึกษาตามความต้องการต่อไป โดยขอความร่วมมือชาวกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกันสนับสนุนการจัดการเรียนนอกระบบอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มผู้จบการศึกษามากขึ้น และให้โอกาสกลับไปเป็นคนดีของสังคม มีอาชีพ และสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ขอให้ทุกฝ่ายช่วยกัน โดยเราจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังแม้แต่คนเดียว" รมช.ศึกษาธิการ กล่าว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
"มจร"สีเขียวยุคAI! จัดกิจกรรม "รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม คืนขยะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน"
กิจกรรม “รักษ์ มจร รักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสมผสานระหว่างจริยธรรมและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ด้วยหล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น