วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2562
'เฉลิมชัย'รวมพลังจิตอาสาช่วยเหลือ ฟื้นฟูดูแลผู้ประสบภัยหลังน้ำท่วมลด
วันที่ 23 กันยายน 2562 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังพิธีเปิด “โครงการจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟูดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย” ที่สำนักชลประทานที่ 7 จ.อุบลราชธานี ว่า จากอิทธิพลพายุ "โพดุล" และพายุ "คาจิกิ" ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2562 เป็นต้นมา ทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ จำนวน 21 จังหวัด ส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรประมาณ 3.36 ล้านไร่ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 30,773 ไร่ สัตว์ได้รับผลกระทบ 1.8 ล้านตัว รวมเกษตรกร 6 แสนกว่าราย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงจัดทำ “โครงการจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัย” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทุกหน่วยงานร่วมกันบูรณาการ การดำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ดูแลเกษตรกรผู้ประสบภัยหลังน้ำลด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และสร้างการรับรู้การเตรียมการด้านการเกษตรตามหลักวิชาการ รวมทั้งการสนับสนุน ส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถกลับมาประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับกิจกรรมในวันนี้ มีจิตอาสากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในพื้นที่ 21 จังหวัด เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 7,760 คน โดยจิตอาสาของจังหวัดอุบลราชธานีเข้าร่วม 500 คน ซึ่งมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ จำนวน 8 กลุ่ม ได้แก่ กิจกรรมที่ 1 บุคลากรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะร่วมกันเข้าสำรวจความเสียหายด้านการเกษตรในพื้นที่ เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ให้กับเกษตรผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว กิจกรรมที่ 2 จัดหน่วยเคลื่อนที่ลงปฏิบัติการ ให้คำแนะนำ เพื่อการฟื้นฟู ดูแลพื้นที่เสียหาย และยังไม่สามารถทำการเกษตรได้ ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ เพื่อให้เกษตรกรได้เตรียมพร้อมบำรุงรักษา และฟื้นฟูผลผลิตให้กลับสู่ภาวะปกติ กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนเครื่องมือ เครื่องจักร ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ รถขุด รถบรรทุกน้ำ เป็นต้น ช่วยเหลือเกษตรกรในการสูบน้ำ ปรับทางน้ำ เพื่อช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรและชุมชนให้มีความพร้อมที่จะทำการเกษตร กิจกรรมที่ 4 สนับสนุนอุปกรณ์และองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในการปรับปรุงบำรุงดิน ทั้งในช่วงก่อนน้ำลดและหลังน้ำลด เพื่อให้พร้อมสำหรับการผลิต และสนับสนุนให้มีการบำบัดน้ำเสียทั้งในพื้นที่ของเกษตรกรและแหล่งน้ำของชุมชน เพื่อช่วยรักษาสภาพแวดล้อมและช่วยให้เกิดการยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรในระยะต่อไป
กิจกรรมที่ 5 สนับสนุนปัจจัยการผลิตพันธุ์พืช พันธุ์ผัก กล้าพันธุ์พืชผัก-ไม้ผล และพันธุ์สัตว์ เพื่อให้เกษตรกรนำไปทำการผลิตในเบื้องต้น ผลิตอาหารไว้บริโภคในครัวเรือน ซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายในครัวเรือน ในระหว่างที่การผลิตใหม่ยังไม่ให้ผลผลิต กิจกรรมที่ 6 ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อช่วยฟื้นฟูรักษาระบบนิเวศน์ รวมทั้งเป็นแหล่งอาหารชองชุมชนได้อย่างยั่งยืน กิจกรรมที่ 7 สนับสนุนการซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องจักรกลทางการเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้สามารถนำกับมาใช้งานในการทำการเกษตรได้ตามปกติ และกิจกรรมที่ 8 สำรวจงานก่อสร้างทางด้านชลประทาน เช่น ฝาย เส้นทางส่งน้ำ ประตูระบายน้ำ เพื่อดำเนินการซ่อมแซมบำรุงรักษาไม่ให้เกิดความเสียหาย รวมทั้งวางแผนการก่อสร้างอาคารชลประทานเพิ่มเติม เพื่อป้องกันภัยพิบัติและการบริหารจัดการน้ำในระยะต่อไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น