วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2562
สมเด็จพระสังฆราช ประทานประกาศเกียรติคุณ เจ้าอาวาสวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น
สมเด็จพระสังฆราชประทานประกาศเกียรติคุณ แก่เจ้าอาวาสที่ได้รับการคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่มีผลงานดีเด่น วัดพัฒนาตัวอย่าง และอุทยานการศึกษาในวัด ประจำปี 2561
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2562 เวลา 13.00 น. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จไปที่หอประชุมพุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทรงเป็นประธานในพิธีประทานประกาศเกียรติคุณ แก่เจ้าอาวาสที่ได้รับการคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่มีผลงานดีเด่น วัดพัฒนาตัวอย่าง และอุทยานการศึกษาในวัด ประจำปี 2561 และประทานพระวโรกาสให้นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม พันตำรวจโท พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ เฝ้าถวายสักการะ
โดยมีวัดที่เข้ารับแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 1.อุทยานการศึกษาในวัดจำนวน 54 วัด 2.วัดพัฒนาตัวอย่างจำนวน 26 วัด 3.วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่นจำนวน 37 วัด รวมทั้งสิ้น 117 วัด ทั่วประเทศ
โอกาสนี้ สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระสัมโมทนียกถา ความตอนหนึ่งว่า คำว่า “พัฒนา” แปลว่าทำให้เจริญขึ้น ทำให้ก้าวหน้าขึ้น การจะพัฒนาสิ่งหนึ่งสิ่งใด ให้ประสบผลสำเร็จอย่างยั่งยืน จำเป็นต้องมี “หลัก” ของการพัฒนา มิเช่นนั้น ผู้มีภาระหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนา ก็อาจเผลอใช้อคติส่วนตน เป็นวิถีแห่งการทำงาน แล้วเข้าใจไปว่าเป็นการพัฒนาที่ถูกต้อง ทัั้งที่อาจไม่สอดคล้องกับหลักการและกระบวนการที่ถูกต้องเหมาะสมก็เป็นได้ โอกาสนี้ จึงขอปรารภหลักการบางประการเกี่ยวกับการพัฒนา เพื่อท่านทั้งหลายอาจนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานภาคปฏิบัติต่อไป
การพัฒนาวัด ให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐาน ปรัชญา แนวความคิด และหลักการ ที่ปรารถนาให้มีความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น แต่ก่อนที่จะพิจารณาถึงกระบวนการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดให้ดีขึ้นได้นั้น ท่านเจ้าอาวาส ตลอดจนชาววัดและชาวบ้านทุกฝ่าย ต้องตระหนักถึง “ปัญหา” ที่เกิดขึ้นร่วมกันในวัดก่อน กล่าวในทางพระพุทธศาสนา ก็คือการดำรงคุณธรรมข้อ “จิตตะ” และ “วิมังสา” ให้มั่นคงอยู่เสมอนั่นเอง
วัดของท่านทุกวัด ล้วนมีองค์ประกอบแตกต่างกันไป ทั้งในแง่ของชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม จึงขอฝากข้อคิดให้ท่านไปพิจารณาว่าการพัฒนาของวัดแต่ละวัดนั้น ได้ผ่านกระบวนการศึกษาเรียนรู้จนเห็นสภาพปัญญาอย่างถ่องแท้ สามารถตระหนักรู้ในคุณสมบัติพื้นฐานของวัดกับชุมชนของท่านแล้วหรือยัง ท่านสามารถจัดลำดับความสำคัญของการแก้ไขปัญหา ก่อนและหลัง ได้อย่างเหมาะสมแล้วหรือไม่ ท่านกำหนดวิธีการที่จะใช้เครื่องมือ ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้ กฎเกณฑ์ บุคลากร และทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาแต่ละประการได้อย่างเหมาะสมหรือไม่อย่างไร
ในฐานะเจ้าอาวาส ท่านมีหน้าที่สำรวจสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับวัดและชุมชนของท่านตลอดเวลา และยิ่งวัดของท่านได้รับยกย่อง ในด้านการเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง และอุทยานการศึกษาในวัดแล้ว ท่านต้องรักษาเกียรตินี้ไว้ให้ได้ตลอดไป ของจงอย่าหยุดยั้งที่จะพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่านี้ เพื่อให้ได้ชื่อว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่สามารถบรรลุถึงการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน
Cr.ข้อมูลและภาพจากกลุ่มประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์
การวิเคราะห์ “มหาวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น