เมื่อวันพุธที่ 18 ก.ย. 2562 เวลา18.39 น. ที่ผ่านมา สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี(สมเด็จธงชัย) วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในพิธีเททององค์พระรูปเหมือน หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี (พระประจำวันพุธกลางคืน)พระราหูเทวา สุริยคราส จันทรคราส ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา เพื่อความสามัคคีชาวพุทธไทยจีน และสืบสานตำนานงานศิลป์หล่อพระแบบโบราณ
ในพิธีเททองมี พระคณาจารย์นั่งปรกอธิฐานจิต 4 ทิศ หลวงพ่อสะอาด วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ อายุ 85 ปี ศิษย์เอกพุทธาคม หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ หลวงพ่อเอื้อน วัดวังแดงใต้ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา อายุ 80 ปี ศิษย์เอกพุทธาคม หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง จ.สระบุรี หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม อายุ75 ปี ศิษย์เอกพุทธาคม หลวงพ่อเงิน หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม
โดยมีนาย จิรชัย มูลทองโร่ย สมาชิกวุฒิสภา อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีบวงสรวงบูชาฤกษ์ พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร สมาชิกวุฒิสภา อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 พล.อ.ธงชัย เกื้อสกุล เลขาธิการ ศูนย์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย พล.อ.ก้องเกียรติ พลขันธ์ อดีต ผอ.สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
พล.ร.อ.สุชีพ หวังไมตรี อดีต สนช. อดีต ผบ.กองเรือยุทธการ พล.ร.อ.วรรณพล กล่อมแก้ว ศปก.พิเศษ ทร. พล.ต.อ.มนู เมฆหมอก รอง ผบ.ตร. พล.ร.ต.ประกายพฤกษ์ ศรีฟ้า บก.ทร. พล.ต.ต.จิรพัฒน์ ภูมิจิตร รอง ผบช.น. พล.ต.ต.สัมฤทธิ์ ตงเต๊า ผบก.น.8 พล.ต.ต.สุภธีร์ บุญครอง ผบก.สส.ภ.1 พล.ต.ต.กิตติพันธุ์ จุนทการ บก.บชน.
นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี ประธานหอการค้าไทยจีน ดร.แสงชัย โสตถีวรกุล นายกสมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย ดร.กิตติ อิทธิภากร ประธาน สหสมาคมตระกูลแซ่แห่งประเทศไทย นายสุชาติ เศรษฐีวรรณ อุปนายก สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย รองประธาน หอการค้าไทยจีน นายจิ้ง พิพัฒน์เวช อุปนายก สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย นายยรรยงค์ ปฐมศักดิ์ อุปนายก สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย รองประธานหอการค้าไทยจีน นายวิวัฒน์ เวศย์ไกรศรี รองประธานหอการค้าไทยจีน นายชิม ชินวิริยกูล อุปนายก สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย นายบุญยงค์ ยงเจริญรัฐ รองประธานหอการค้าไทยจีน นายชาญวิทย์ หิรัญอัศว์ ประธานกรรมการ รพ.เทียนฟ้ามูลนิธิ
นายกิตติพงษ์ เตรัตนชัย เลขาธิการ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย นายสมัย กวักเพฑูรย์ ผอ.การเงิน หอการค้าไทยจีน นายสุพจน์ วงศ์จิรัฐติกาล เลขาธิการ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย นายวิทยา วัฒนโสภณวงศ์ นายกสมาคม เผยแพร่คุณธรรมเต็กก่าจีจินเกาะ นายสุขุม มีพันแสน นายกสมาคมถ่ายภาพกรุงเทพ ประธานกรรมการ อมตลันตารีสอรท์ นายสุกิจ กมลศิริวัฒน์ ผู้ตรวจสอบ สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย คุณนวพร ภาเกียรติสกุล ประธานกรรมการ บ.ตาดี กรุ๊ป จก. ประธานกรรมการ THAI ZHONG. TOWER พ.ต.อ.ไพโรจน์ จิรชนานนท์ กก.ผจก. บ.เอราวัณประกันภัย จก. พร้อมทั้งคหบดีมากมาย
หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมาแต่โบราณกาล ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้ากาแลโปรดให้บูรณะวัดป่าเลไลยก์ เมื่อ พ.ศ. 1724 แสดงว่าแสดงว่าวัดนี้ได้สร้างมาแล้วก่อนหน้านั้น องค์พระประดิษฐานอยู่ในวิหารที่สูงใหญ่ มองเห็นเด่นแต่ไกล เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางป่าเลไลยก์ขนาดใหญ่สูง 23 เมตรเศษ สร้างตามแบบศิลปอู่ทองรุ่นที่สอง ซึ่งเป็นศิลปะฝีมือสกุลช่างอู่ทองแท้ ๆ เดิมทีองค์พระประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง พระหัตถ์ขวาหัก ช่างได้สร้างวิหารครอบ โดยให้ผนังวิหารชิดกับพระหัตถ์ขวา
ส่วนทางพระหัตถ์ซ้ายให้มีที่ว่าง ด้านหลังองค์พระสร้างชิดกับผนังวิหารทำให้แข็งแรง นับเป็นความชาญฉลาดของช่างเป็นอย่างยิ่ง มีผู้สันนิษฐานว่า เดิมเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ประทับนั่งอยู่กลางแจ้ง พระกรทั้งสองข้างหักหายไป ผู้ที่มาบูรณใหม่ได้ทำเป็นปางป่าเลไลยก์ตามที่นิยมกันในสมัยหลัง ลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายวางคว่ำบนพระชานุข้างซ้าย พระหัตถ์ขวาวางหงายบนพระชานุข้างขวาในท่าทรงรับของถวาย
พระวิหารที่สร้างครอบองค์พระ สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะเห็นว่าที่หน้าบันของพระวิหาร มีพระราชลัญจกรประจำพระองค์ คือเป็นรูปพระมหามงกุฎอยู่ระหว่างฉัตรคู่ปรากฏอยู่
วัดป่าเลไลยก์เป็นที่คุ้นของคนทั่วไป เนื่องจากปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขุนแผนเมื่อเยาวัยได้มาบวชเรียนที่วัดนี้ในชื่อว่าเณรแก้ว ความสำคัญของวัดป่าเลไลยก์ตามที่พรรณนาไว้ใน เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนหนึ่งมีดังนี้
"...ทีนี้จะกล่าวเรื่องเมืองสุพรรณ
จะทำบุญให้ทานการศรัทธา
หญิงชายน้อยใหญ่ไปแออัด
ก่อพระเจดีย์ทรายเรียงรายไป
ยามสงกรานต์คนนั้นก็พร้อมหน้า
ต่างมาที่วัดป่าเลไลยก์
ขนทรายเข้าวัดอยู่ขวักไขว่
จะเลี้ยงพระกะไว้วันพรุ่งนี้..."
งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ มีปีละสองครั้ง คือในวันขึ้น 5-9 ค่ำ เดือน 5 และเดือน 12 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ อ.ฮวด โทร. 0932251915
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น