วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2562

ก.เกษตรมุ่งขับเคลื่อนเทคโนโลยีเกษตร ชู 'GovTech/Big data' บริการประชาชน



          
วันที่ 4 ก.ย.2562 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมหารือเพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร GovTech/Big data หวังยกระดับราคาสินค้าเกษตรและสร้างเสถียรภาพรายได้เพิ่มแก่เกษตรกร และลดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ และสร้างโอกาสการเข้าถึงตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานภาคี ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานรัฐบาลดิจิทัล กสทช. CAT telecom ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า จากความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และการปรับเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ส่งผลให้เกิดการผลิตและการค้าขายในรูปแบบระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นเพื่อให้ภาคเกษตรและเกษตรสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อการผลิตสินค้าเกษตรที่แม่นยำสูง มีระบบการบริหารจัดการฟาร์ม/แปลงที่นำชุดข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) มาวิเคราะห์เพื่อหาทางเลือกในการผลิตที่เหมาะสม และนำเสนอสินค้าให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่าย ตลอดจนเข้าสู่ตลาดพาณิชย์อิเลคทรอนิก์ e Commerc และระบบการขนส่ง e logistics รวมทั้งการจ่ายเงินแบบ e payments เพื่อให้เกษตรกรสามารถค้าขายและมีรายได้เพิ่มขึ้น 
          
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้มีแนวนโยบายการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเกษตร GovTech/Big data ดังนี้ 

1. พัฒนาและจัดทำระบบรายการข้อมูลภาครัฐ (Government Data Catalog) โดยตรวจสอบ วิเคราะห์และกำหนดชุดข้อมูลที่มีอยู่ให้เป็นมาตรฐาน และรวบรวมเพื่อเป็น Data Catalog จากนั้นพัฒนากลไกการสืบค้นในมิติต่าง ๆ เพื่อให้บริการได้อย่างสะดวก รวมทั้งออกแบบเครื่องมือสำหรับการกำกับติดตามให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

2. การใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานอินเตอร์เน็ตที่กระทรวงดิจิทัลได้วางระบบให้ครอบคลุม 75,000 หมู่บ้านเพื่อให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร สามารถเชื่อมโยงและสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่และข้อมูลสินค้าเกษตร เข้าสู่ตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 

3. การสื่อสารและบริการข้อมูลที่จำเป็นไปยังเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตรฯ รวมถึง Smart Farmer และ Young Smart Farmer และอาสาเกษตรกร เช่น ข้อมูลภูมิอากาศ ข้อมูลน้ำ ข้อมูลดิน เทคโนโลยีสมัยใหม่ ข้อมูลตลาดและราคาสินค้า เพื่อให้เกษตรกรใช้ตัดสินใจวางแผนการผลิต แผนการตลาด
          
4.การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการอำนวยความสะดวกในการอนุมัติ อนุญาต เช่น การขึ้นทะเบียน การขอรับการรับรองมาตรฐานสินค้า การขอนำเข้า ส่งออก การตรวจสอบย้อนกลับสินค้าเกษตร เพื่อให้การบริการของกระทรวงเกษตรฯ มีความรวดเร็ว โปร่งใสและตรวจสอบได้ และสร้างผลประกอบการที่ดีกว่าเดิม 

5.การจัดให้ภาคเกษตรได้ใช้ประโยชน์จากคลื่นความถี่ที่จัดสรรให้เพื่อการเข้าถึงข้อมูลอันจำเป็น เช่น การให้บริการคลื่นความถี่สำหรับระบบการติดตามเรือประมง (VMS) หรือ เพื่อระบบฟาร์มอัจฉริยะ ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีต้นทุนการใช้บริการเครือข่ายการสื่อสารที่ลดน้อยลง 

และ 6. การเชื่อมโยงสินค้าเกษตรกับแพลตฟอร์มการบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตร
          
"Big data มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะทำให้เกษตรกรมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจและวางแผนการผลิตและการตลาดได้อย่างแม่นยำ สามารถลดต้นทุนการผลิต และขายสินค้าถึงมือผู้บริโภคโดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมทั้งผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสินค้า คุณภาพมาตรฐาน ซึ่งส่งผลให้เกิดความพึงพอใจที่จะจ่ายเงินเพื่อได้มาซึ่งสินค้าที่ตรงกับความต้องการ เกษตรกรจึงมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น ประโยชน์จาก Big data และเทคโนโลยีดิจิทัลจะสร้างโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยได้ติดต่อกับผู้บริโภคได้โดยตรงไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ลดลง เกษตรกรมีอาชีพและคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าที่ผ่านมา ซึ่งได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาจัดทำแผนงาน มานำเสนอในทุกสัปดาห์ เพื่อเร่งรัด ติดตามให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายใน 6 เดือน โดยจะประชุมหน่วยงานในสังกระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานภาคเพื่อขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลสำเร็จในทุกสัปดาห์" นายอลงกรณ์ กล่าว
          
ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) และมอบหมายให้กระทรวงเกษตรฯ เป็นเจ้าภาพบูรณาการการขับเคลื่อนในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าในห่วงโซ่อุปทาน กลยุทธ์ที่ 1.1 การยกระดับการบริหารจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในภาคเกษตร ซึ่งคณะอนุพัฒนาระบบโลจิสติกส์การเกษตร ได้มีการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทานภาคการเกษตร พ.ศ. 2560 - 2564 เพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อน ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ การสนับสนุนงบประมาณแก่สหกรณ์เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรและอุปกรณ์การตลาด เช่น โรงสี โรงรวบรวม/คัดแยก/คัดเกรดผลผลิตตามมาตรฐาน GMP รถเกี่ยวนวด รถยก เครื่องผสมอาหารสัตว์ รถบรรทุกน้ำนมดิบ รวมทั้งเงินทุนหมุนเวียนเพื่อรวบรวมผลผลผลิตจากสมาชิกสหกรณ์, พัฒนาปรับปรุงด่านพืช ประมง และปศุสัตว์ และการพัฒนาระบบ NSW รวมทั้งการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการทำการเกษตรสมัยใหม่ เป็นต้น สำหรับการขับเคลื่อนในปี 2563 หน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดทำคำของบประมาณภายใต้ภารกิจ (Function) ของหน่วยงาน และแผนบูรณาการของประเทศ 4 แผน ได้แก่ แผนพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ แผนพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ แผนพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก และแผนพัฒนาพื้นที่ระดับภาค 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เพลง: สัญญาเปื้อนบาป

  เพลง: สัญญาเปื้อนบาป  ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno   คลิกฟังเพลงที่นี่  (Verse 1) บึงทองคำงามสะอาด ดั่งวิมานในฝัน แต่หัวใจ...