วันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ห้องประชุมสำนักงานศาลยุติธรรม ชั้น 12 อาคารวศาลอาญา กรุงเทพฯ พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร. อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมโครงการสัมมนาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลยุติธรรม เรื่อง การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทรูปแบบใหม่ในยุค SMART COURT โดยมุ่งการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องและหลังฟ้องผ่านออนไลน์เพื่อให้เข้าใจในการระงับข้อพิพาท เป็นการพัฒนาระบบการไกล่เกลี่ยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มุ่งให้ศาลยุติธรรมทั่วประเทศมีการไกล่เกลี่ย
นายจีระพัฒน์ พันธุ์ทวี เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวเปิดโครงการว่า สำนักงานยุติธรรมมุ่งให้คู่กรณีสามารถไกล่เกลี่ยกันมุ่งสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยมีการเผยแพร่ในการระงับข้อพิพาทผ่านการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จึงมีการจัดการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในรูปแบบใหม่ผ่าน SMART COURTพร้อมมอบรางวัลศาลที่มีคดีการไกล่เกลี่ยออนไลน์มากที่สุดในแต่ละกลุ่มเพื่อเป็นแรงบันดาลใจกำลังใจในการทำงาน รวมถึงมอบรางวัลการออกแบบโลโก้เกี่ยวกับไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
พระครูปลัดปัญญาวรวัฒน์ ศ.ดร. ผู้อำนวยการหลักสูตรสันติศึกษา มจร ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร โดยสะท้อนว่า มีโอกาสทำงานความร่วมมือ ภายใต้ MOU ระหว่าง สำนักงานศาลยุติธรรมกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเมื่อ 10 ปีที่แล้ว จึงมีการเปิดหลักสูตรสันติศึกษาในระดับปริญญาโทเอก โดยผู้มาเรียนส่วนหนึ่งมาจากสำนักศาลยุติธรรม เช่น บุคลากร และ ผู้ประนีประนอมซึ่งในสถานการณ์ของโควิดจำเป็นต้องใช้กระบวนการออนไลน์เข้ามามีบทบาทสำคัญ มีความสะดวกรวดเร็วจริงแต่การไกล่เกลี่ยออนไลน์ขาดอารมณ์ ขาดความรู้สึกขาดความเข้าใจ ขาดกระบวนการขอโทษ ถือว่าเป็นกับดักที่สำคัญ โดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสามารถแบ่งออก 2 ประการคือ คดีเหตุผล กับ คดีอารมณ์
โดยมหาจุฬา มีศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ซึ่งกำกับโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม มีการพัฒนาผู้ไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 โดยคนในสังคมเข้ามาพัฒนาตนเองอย่างมากในการไกล่เกลี่ย จึงตั้งคำถามว่า หลักสูตรไกล่เกลี่ยข้อพิพาททาง มจร เน้นความรู้ ทักษะ ทัศนคติ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นทักษะ เราไม่ได้ไกล่เกลี่ยภายนอกเท่านั้นแต่เราเน้นการไกล่เกลี่ยภายใน ผู้ไกล่เกลี่ยจะต้องมีสติ ควบคุมอารมณ์ตนเอง และสร้างการฟังเพื่อหาทางออกซึ่งเดินตามบันได 9 ขั้นของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามแนวทางพุทธสันติวิธี
ความขัดแย้งมาจากภายในเป็นสนิทที่กินของเรา จึงต้องไกล่เกลี่ยกับกิเลสตนเองผ่านสติ เริ่มจากการจัดการความขัดแย้งภายในของตนเอง จึงต้องจากการไกล่เกลี่ยตนเองก่อนไกล่เกลี่ยคนอื่น เราจึงต้องพัฒนานักไกล่เกลี่ยตื่นรู้ ซึ่งการจะพัฒนาภายในจะใช้ออนไลน์ไม่ได้ จึงขอร้องให้ศาลจัดหลักสูตรภายใน เพราะเราทำหลักสูตรภายนอกมากแล้ว มหาจุฬาพร้อมยินดีร่วมพัฒนาหลักสูตรภายในเพื่อพัฒนาผู้ประนีประนอมให้มีความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ จิตใจจึงต้อง SMART Mind โดยมีจิตใจที่มีการปรับให้มีความมั่นคง แต่ใช้กระบวนการออนไลน์มีการกรอกความทุกข์ โดยแจ้งความทุกข์เพื่อมีใครที่เข้ามารับฟังอย่างจริงจัง ในท้ายสุดมีการฝากถึงสำนักงานศาลยุติธรรม 1) ทำหลักสูตรร่วมกันเกี่ยวกับสติสำหรับผู้ประนีประนอม 2)ผู้ประนีประนอมจะต้องมีความสุขในการทำงาน
จึงขออนุโมทนากับนายพงศธร แทบทาม นิติกรชำนาญการพิเศษ หัวหน้าส่วนไกล่เกลี่ย สำนักส่งเสริมงานตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นผู้ประสานงาน และขออนุโมทนาบุญอย่างยิ่งกับท่านพิเชษฐ์ คงศิลา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมงานตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม ในฐานะกำกับดูแลโครงการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น