วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"เจ้าคุณประสาร-เจ้าคุณโชว์" โดนแล้วยุ่งการเมือง! มติ "มส."มอบฝ่ายปกครองกำหนดโทษปมถูกตั้งเป็นที่ปรึกษาอนุกมธ.สภาฯ


เมื่อวันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้(10พ.ค.) เวลา 14.00 น. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 12 ประจำปีพุทธศักราช 2565 โดยประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ออนไลน์ (Zoom Meeting) มีกรรมการมหาเถรสมาคมเข้าร่วมประชุม การนี้  นายสิปป์บวร แก้วงาม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กราบทูลถวายเปิดการประชุม นายสิทธา มูลหงษ์ ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นายสมบัติ พิมพ์สอน ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

โดยภายหลังการประชุม นายสิทธา มูลหงษ์ ผู้ตรวจราชการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  แถลงข่าวการประชุมมหาเถรสมาคม ณ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยมีวาระการประชุมมหาเถรสมาคม อาทิ  –  การเสนอแต่งตั้งพระสังฆาธิการ – การเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา – การเสนอแต่งตั้งผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง

และมีประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในหมู่สงฆ์อย่างกว้างขวาง คือ ที่ประชุมมหาเถรสมาคมมีมติห้าม พระภิกษุไปเกี่ยวข้องกับฝ่ายการเมือง  ซึ่งมีคำแถลงของโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีรายเอียด  ดังนี้  เรื่อง พระภิกษุประพฤติปฎิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

1.กรณีพระภิกษุไปเป็นกรรมาธิการ,อนุกรรมาธิการ,ที่ปรึกษากรรมาธิการ ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของบ้านเมือง ซึ่งดำเนินการโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา มอบให้ประธานฝ่ายปกครองที่ มหาเถรสมาคมแต่งตั้งไปพิจารณาเพื่อกำหนดแนวทาง วิธีการหรือวิธีการที่ชัดเจนตำหนิโทษหรือป้องปรามเป็นลายลักษณ์อักษร

2.กรณีที่หน่อยงานราชการที่ขอให้กรรมการมหาเถรสมาคมหรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเป็นที่ปรึกษาหรือกรรมการผู้ทรงวุฒิให้เสนอผ่านมหาเถรสมาคมเป็นผู้พิจารณา

3.กรณีรัฐสภาขอให้มหาเถรสมาคมเป็นกรรมาธิการ, อนุกรรมาธิการหรือที่ปรึกษาในคณะกรรมาธิการมอบให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้แทนมหาเถรสมาคมและเมื่อดำเนินการในนามมหาเถรสมาคมเรียบร้อยแล้ว ให้รายงานมหาเถรสมาคมทราบ

4.กรณีรัฐสภาขอพระภิกษุรายรูปติดต่อพระภิกษุโดยตรง ให้ปฎิบัติภารกิจฝ่ายการเมือง ให้พระภิกษุรูปนั่นแจ้งผู้บังคับบัญชาผู้ใกล้ชิดทราบและให้ผู้บังคับบัญชารายงานตามลำดับชั้น จนถึงมหาเถรสมาคมเป็นผู้พิจารณา

5  เรื่องนี้มอบให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แจ้งมติมหาเถรสมาคมต่อรัฐสภาทราบ เพื่อเป็นแนวทางปฎิบัติต่อไป 

ปัจจุบันมีพระภิกษุไปนั่งเป็นที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการอยู่อย่างน้อย 2 รูป คือ  1.พระเมธีธรรมาจารย์ หรือ “เจ้าคุณประสาร”  และ  2. พระสุธีวีรบัณฑิต หรือรู้จักกันในนาม “พระมหาโชว์” เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาด้านพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ๆ ในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร



ที่มา - https://thebuddh.com/?p=62103


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...