วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

พระธรรมพัชรญาณมมุนีมอง พระสงฆ์เสื่อมเหตุไม่รักสถาบันพุทธศาสนา แนะสตินำการดำเนินชีวิต



เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาโลก ประจำปี พ.ศ. 2565 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 15  พฤษภาคม 2565 พระธรรมวัชรบัณฑิต, ศาสตราจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานเปิดการประชุมทางวิชาการ เรื่อง "หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง"  ที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 

พระธรรมวัชรบัณฑิต กล่าวประเด็นสำคัญว่า ขอบคุณทุกส่วนงานในการจัดงานวันวิสาขบูชาโลกถือว่าเป็นพุทธบูชา มีการทำงานที่เชื่อมโยงกันในส่วนออนไลน์ ซึ่งมีกิจกรรมการแปลพระไตรปิฎกจากภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อขยายผลงานคำสอนไปทั่วโลก ซึ่งแก่นธรรมจากวันวิสาขบูชา โดยมีสามเหตุการณ์หลัก คือ ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน โดยจะต้องเอาใส่ใจเรื่องกรรมและผลของกรรม โดยมุ่งสร้างบารมี 10 ทัศ ตั้งแต่ทานบารมี แต่ต้องพัฒนาไปสู่พุทธปัญญาโดยศึกษากฎเหตุและผลในทางพระพุทธศาสนาจะมองเหตุมองผลตามปฏิจสมุปบาทพิจารณากลับไปกลับมา ส่วนการให้เหตุผลทางตะวันตกคือตรรกศาสตร์ เราจึงควรถอดบทเรียนจากการประสูติของพระพุทธเจ้า ตรัสรู้ ของพระพุทธเจ้า และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า 


พระธรรมวัชรบัณฑิต ได้ยกอปริหานิยธรรมเป็นฐานสำคัญในการสร้างสันติภาพโลก ตั้งแต่การพูดคุยกัน โดยหลักอปริหานิยธรรมมีการแสดงถึงความกตัญญูเป็นฐาน ซึ่งแก่นธรรมในวันปรินิพพานคือความไม่ประมาทมีสติเป็นฐาน โดยมุ่งสติปัฏฐาน สูตร ถือว่าเป็นส่งมอบภูมิปัญญาให้กับชาวโลก โดยสามารถถอดบทเรียน 5 ประการ ประกอบด้วย  กรรมเชื่อผลของกรรม  สติปัญญา  ความเพียรพยายาม กฎแห่งเหตุผล และไตรลักษณ์ 

ต่อจากนั้นพระธรรมพัชรญาณมุนี (ฌอน ชยสาโร)  สำสงฆ์บ้านไร่ทอสี จังหวัดนครราชสีมา ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง"  โดยกล่าวว่า "พระพุทธศาสนามีปัญหาเพราะพระสงฆ์ไม่รักสถาบัน พระสงฆ์เสื่อม พระพุทธศาสนาก็เสื่อม ชาวพุทธควรพูดในสิ่งที่ควรพูด ควรฝึกสติ ซึ่งเป็นคุณธรรมหลัก ผู้มีสติอยู่ในใจมีทางเลือกในการแก้ไขปัญหามาก  ผู้มีสติอยู่ในใจน้อยก็มีทางเลือกในการแก้ไขปัญหาน้อย  สติทำให้เราตื่น  สติทำให้เกิดปัญญา ปัญญาทำงานได้ผล เพราะสติสัมปชัญญะ  สติเป็นเงื่อนไงของการปฏิบัติธรรม การฝึกสติต้องฝืนความเคยชินพอสมควร สติเป็นเครื่องมือตัดสิน วิเคราะห์ แก้ไขปัญหา" 

นอกจากนั้น พระธรรมพัชรญาณมุนี ยังได้พูดพึงหลักความสามัคคี หลักการดำเนินชีวิตของชาวพุทธอีกด้วย



ทั้งนี้สามารถเข้าร่วมกิจกรรมวันวิสาขบูชานานาชาติ ครั้งที่ 17  เรื่อง “หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง” (Buddhist Practices for Peace and Solidarity in Times of Conflict)  เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสําคัญสากลของโลก ประจําปี 2565   ลงทะเบียน  https://forms.gle/neugcFfW26auQadv5 ทางZOOM ID: 998 993 3546


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...