วันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

มูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) ประชุมประเมินผลเกษตรกรเลี้ยงโคกระบือเจ้าพบบุญ 207 ชีวิต



เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00 น. ที่วิหารโพลวพลือ วัดบ้านขะยูง ต.ห้วยตามอญ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ  มูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) จัดประชุมสามัญประจำปีสำหรับชาวเกษตรกรผู้เลี้ยงเจ้าพบบุญ ซึ่งเป็นชาวเกษตรกรที่ได้รับโค/กระบือ จากโครงการไถ่ชีวิตโคกระบือเจ้าพบบุญ ของมูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) วัดบ้านขะยูง ต.ห้วยตามอญ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งได้จัดไถ่ชีวิตมอบให้เกษตรกร ตั้งแต่ปี 2562 รวมแล้วจำนวน 207 ชีวิต 



พระครูปลัดอดิศักดิ์ วชิรปญฺโญ,ดร. ประธานมูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) เปิดเผยว่า โครงการนี้เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดหลักจากทางพระพุทธศาสนา ที่ว่า #ผู้มีส่วนแห่งเมตตาย่อมไม่มีเวรกับใครๆ” เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการมีประสิทธิภาพภายใต้การมีส่วนร่วม #วันฉัตรมงคล มูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) จึงได้กำหนดให้เป็นวันประชุมสามัญประจำปีของสมาชิกเกษตรกรชาวตำบลห้วยตามอญ ที่มีจิตเมตตารับอาสาเลี้ยงโคกระบือ “เจ้าพบบุญ”



#สรุปประชุมวันนี้ ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้ได้ทราบปัญหาและแนวทางจัดการแก้ไข นำไปสู่การพัฒนาโครงการ และเกิดระเบียบไถ่ชีวิตโคกระบือ เพื่อเกณฑ์มาตรฐาน และเพื่อติดตาม ประเมินผล โครงการต่อไป ที่สำคัญที่ประชุมได้ร่วมตกลงกันว่า #จะถวายปุ๋ยคอกพบบุญ เพื่อสนับสนุนโครงการพุทธกสิกรรม อย่างน้อยคนละ 1 กระสอบปุ๋ยต่อปีด้วย 

พระครูปลัดอดิศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับปีนี้ถวายพร้อมกันในวันวิสาขบูชา ที่ 15 พฤษภาคม 2565 โดยแต่และครอบครัวจะนำมารวมไว้ ณ บ้านผู้ใหญ่บ้านในตำบลห้วยตามอญ จากนั่นมูลนิธิโพลวพลือ (ทางสว่าง) จะนำรถไปขนมารวบรวมไว้ ณ สวนโพลวพลือ ต่อไป  ขออนุโมทนากับชาวเกษตรที่ร่วมกันแสดงพลังผู้มีส่วนแห่งเมตตาผลักดันโครงการนี้ให้เกิดความยั่งยืน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผลักดันหมอลำขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อยูเนสโก

การผลักดันหมอลำให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อยูเนสโกเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสในการรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไ...