วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กรมศิลป์โชว์ Soft Power ด้านวัฒนธรรม คว้ารางวัลแข่งเกมระดับโลกที่สหรัฐอเมริกา

 


กรมศิลปากรคว้ารางวัลระดับโลก The Cultural Heritage Game Jam เกมด้านมรดกศิลปวัฒนธรรม พร้อมส่งเสริมเยาวชนร่วมสร้างสรรค์เกม ดัน Soft Power ด้านวัฒนธรรม

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม 2565 ที่ห้องประชุม ชั้น 5  กรมศิลปากร อาคารเทเวศร์ นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในการแถลงข่าวผลการแข่งขันรางวัล The Cultural Heritage Game Jam และการจัดการแข่งขันสร้างสรรค์เกม FIT Game Jam (Fine Arts Game Jam) พร้อมกล่าวว่า กรมศิลปากร โดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม ได้ส่งผลงานเกม Siamese: Puzzle Heritage Game ซึ่งเป็นเกมการต่อ Puzzle รูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณสถานในพื้นที่มรดกโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร และพระนครศรีอยุธยา เข้าร่วมประกวด ภายใต้หัวข้อ The Cultural Heritage Game Jam ซึ่งได้รับรางวัลที่ 5 จากทั้งหมด 116 เกมทั่วโลก ในงาน Global Game Jam® (GGJ) งานผลิตเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดโดย Global Game Jam® (GGJ) องค์กรสากลที่ไม่แสวงหาผลกำไร ก่อตั้งขึ้นในเมืองซานหลุยส์ โอบิสโป รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา 



นับเป็นมิติใหม่ของกรมศิลปากรที่แสดงถึงผลงานการขับเคลื่อน Soft Power ด้านวัฒนธรรม ผสมผสานงานสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลกับงานมรดกวัฒนธรรมอย่างลงตัว มุ่งเน้นให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงข้อมูลมรดกวัฒนธรรมผ่านสื่อในรูปแบบเกม กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้และดึงดูดคนทั่วโลกให้เข้ามาเที่ยวชมแหล่งมรดกวัฒนธรรมของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น โดยผู้สนใจร่วมเล่นเกม Siamese: Puzzle Heritage Game การต่อรูปแบบสันนิษฐานโบราณสถานของกรมศิลปากร สามารถดาว์นโหลดแอปพลิเคชั่น Siam Puzzle Heritage เกมผ่านสมาร์ทโฟน ได้ทั้งระบบ Android และ iOS ซึ่งผู้ที่เล่นเกมได้ครบ 36 ด่าน โดยทำเวลาได้ดีที่สุดจะได้ร่วมลุ้นรับรางวัลจากผู้สนับสนุนมากมายด้วย



ทั้งนี้ เพื่อเป็นการต่อยอดการสร้างสรรค์ และพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างองค์ความรู้ผ่านเกมกรมศิลปากร จึงได้ร่วมกับผู้สนับสนุนภาคสถาบันการศึกษาจัดการแข่งขัน FIT Game Jam (Fine Arts Game Jam) เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนที่ศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกแบบพัฒนาเกมคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย หลักสูตรดิจิทัลแนวสร้างสรรค์ และสาขาการพัฒนาสื่อผสมและเกม มาร่วมแข่งขันสร้างสรรค์เกมโดยใช้เนื้อหาจากข้อมูลมรดกวัฒนธรรมไปต่อยอดสร้างสรรค์ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกันในวงกว้าง เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา Soft Power ด้านวัฒนธรรมอีกประการหนึ่ง โดยรับสมัครทีมเข้าแข่งขันจำนวน 12  ทีม แบ่งเป็นทีมละ 5  คน จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วประเทศ สร้างเกมมรดกวัฒนธรรมจากโจทย์ของกรมศิลปากร ชิงเงินรางวัล พร้อมโล่รางวัล และประกาศนียบัตร จากกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ผู้สนใจสามารถสมัครและติดตามรายละเอียดการเข้าแข่งขันได้ที่เว็บไซต์กรมศิลปากร www.finearts.go.th เฟซบุ๊ก และช่อง YouTube ของกรมศิลปากร ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...