วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ผู้ว่าฯเลยหนุน "นาแห้วโมเดล" คนอยู่ร่วมกับป่าได้ในลุ่มน้ำ1,2 อย่างมั่นคง



"ชีวะภาพ ชีวะธรรม" รองอธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมด้วย "ยลชาญ กมลรัตน์" ประธานศูนย์พัฒนาการเมืองฯ สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดเลย เข้าพบ "ชัยธวัช เนียนศิริ"  ผู้ว่าฯเลย  ขยายผลจากเวทีสานเสวนาวิชาการ ถอดบทเรียนฯ โครงการ "นาแห้วโมเดล" ก้าวต่อไปอย่างไรให้มั่นคง ให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้ในลุ่มน้ำ1,2 

วันที่ 9 กันยายน 2565 เวลา 9.30 น.  ที่ศาลากลางจังหวัดเลย นายชีวะภาพ ชีวะธรรม  รองอธิบดีกรมป่าไม้  พร้อมด้วยนายยลชาญ กมลรัตน์ ประธานศูนย์พัฒนาการเมืองฯ สถาบันพระปกเกล้า จังหวัดเลย และ ดร.สีฟ้า ณ นคร ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้เข้าพบนายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายณรงค์ จีนอ่ำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย โดยนายชีวะภาพได้ชี้แจงวิธีการและแนวปฏิบัติร่วมกันระหว่างกรมป่าไม้และกระทรวงมหาดไทยใน การบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ ลุ่มน้ำ1,2 ในพื้นที่ ของจังหวัดเลย โดยใช้พื้นที่โครงการนาแห้วโมเดล เพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรมมีความชัดเจนและรวดเร็วมากขึ้น 

ซึ่งนายชัยธวัชและคณะให้ความสำคัญพร้อมสนับสนุนเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนและพัฒนาอย่างเต็มที่ อีกทั้งในกันยายน 2564 ได้มีการประชุม คทช.จังหวัดเพื่ออนุมัติ การบริหารจัดการใช้พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำ3,4,5 ให้แก่ประชาชนจำนวนกว่า 1,000 ไร่ ไปแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกสมุดพก คทช. โดยกรมที่ดิน

ช่วงสายวันเดียวกันนายชีวะภาพและคณะได้เข้าประชุมที่ศูนย์ป่าไม้เลยกับคณะทำงาน เพื่อให้เข้าใจตรงกันถึงวิธีการดำเนินการโครงการนาแห้วโมเดลในลุ่มน้ำ 1,2 และ ช่วงบ่ายได้ลงพื้นที่นาแห้ว ไปพบปะกับผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ เพื่อชี้แจงวิธีการดำเนินการ และรับฟังความคิดเห็น ของผู้นำต่างๆในพื้นที่ 

ทั้งนี้ หากโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ จะทำให้ มีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น ไม่น้อยว่า สองหมื่นไร่ ได้ ผลประโยชน์จาก Carbon Credit และเนื้อไม้ และสิ่งที่สำคัญคือความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนในพื้นที่ ป่าลุ่มน้ำ1,2 กว่า 106,929ไร่ ไม่อยู่ในฐานะผู้บุกรุกแต่อยู่อย่างถูกต้องและสามารถพัฒนาพื้นที่ได้ในรูปแบบ คทช.ไม่ว่าจะเป็นระบบสาธารนูปโภค รวมถึง แหล่งน้ำ เป็นต้น และจะเป็นพื้นที่ต้นแบบในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินป่าไม้ลุ่มน้ำ1,2แห่งแรก ของประเทศไทย เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่อื่นๆที่อยู่ในสภาพใกล้เคียงกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผลักดันหมอลำขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อยูเนสโก

การผลักดันหมอลำให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ต่อยูเนสโกเป็นทั้งความท้าทายและโอกาสในการรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไ...