วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"เจ้าคุณ ว. วชิรเมธี" ชี้วิธีการ "หมอปลา" เพิ่มขัดแย้ง มิใช่วิธีการแก้ปัญหาทางศาสนาและสันติวิธี



วันที่ 13 พฤษภาคม 2565 จากกรณี “หมอปลา” จีรพันธ์ เพชรขาว หรือมือปราบสัมภเวสี พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักพุทธฯ และฝ่ายปกครอง บุกเข้าตรวจสอบ “หลวงปู่แสง ญาณวโร” อายุ 98 ปี พระเกจิชื่อดัง ที่สำนักสงฆ์ พื้นที่บ้านดงสว่าง ต.โคกนาโก จ.ยโสธร โดยมีการกล่าวหาว่าลวนลามญาติโยมที่เป็นหญิงสาวนั้น 

พระเมธีวชิโรดม (ว. วชิรเมธี) ประธานศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน จังหวัดเชียงราย ได้ร่วมอภิปรายกลุ่มหัวข้อ “หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง”ซึ่งดำเนินรายการโดย พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน ผศ.ดร.  ผู้อำนวยการสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ในการประชุมทางวิชาการ เรื่อง "หลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพและความสามัคคีในยามเกิดความขัดแย้ง"  ที่วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชาโลก ประจำปี พ.ศ. 2565 ที่จะมีขึ้นในวันที่ 15  พฤษภาคม 2565  

พระเมธีวชิโรดม ระบุว่า วิธีการปฏิบัตินำไปสู่สันติภาพด้วยกาแก้ปัญหาความขัดแย้งจากระดับโลกผ่านการแก้ปัญหาความขัดแย้งในศตวรรษที่ ๒๑ ไม่ใช่สูตรสำเร็จในการแก้ปัญหาความขัดแย้งเพราะโลกคสามจริงซับซ้อนมาก ประกอบด้วย 1)มองโลกอย่างเป็นองค์รวม  แก้ปัญหาการแบ่งแยก ให้มองเป็นพลเมืองของโลกเราเป็นคนเหมือนกัน 2)บ่มเพาะสัมมาทิฐิ  ให้ทุกคนมองว่าเราทุกคนเป็นพี่น้อง  3)สร้างกติกาสากลใช้ร่วมกัน  โดยทุกคนเคารพกติการ่วมกันคือ สิทธิมนุษยชน ไม่ต้องอ้างอิงศาสนา ยอมรับคนว่าเท่าเทียมกัน  4)ฝึกให้เป็นสันติบุคคล สันติส่วนบุคคลจะเป็นสันติภาพสากลของโลก 5)ส่งเสริมให้โลกเป็นประชาธิปไตย ไม่ต้องปิดกั้นกันมีอิสรภาพในการแสดงออก ให้ความขัดแย้งมาคุยกัน 

6)ใช้อริยสัจเชิงสังคม แต่ละประเทศขัดแย้งกันเพราะอะไร มองผ่านอริยสัจคือ ประเด็น สาเหตุ เป้าหมาย และวิธีการเครื่องมือการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ความขัดแย้งแต่ละที่ไม่มีสูตรสำเร็จ 7) ใช้สันติวิธี  ไม่ว่าจะขัดแย้งขนาดไหนจะต้องใช้สันติวิธีเท่านั้น จึงมองถึงหมอปลาไม่ใช่แก้ปัญหาทางศาสนา แต่จะเป็นการเพิ่มปัญหาความขัดแย้งให้หนักยิ่งขึ้นเพราะไม่ใช้กระบวนการของสันติวิธี    

นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า  กล่าวว่า การจะแก้ปัญหาความขัดแย้งจะต้องมองความจริงเป็นฐาน เช่น ความไม่เป็นธรรม ความไม่ยุติธรรม จะต้องสร้างความเข้าใจเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหา โดยแนวทางการสร้างความสมานฉันท์สามัคคี จะต้องเริ่มด้วย "ความจริง ความยุติธรรม  สันติวิธี  และเมตตากรุณา"              



ผศ.ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร กล่าวประเด็นสำคัญว่า โดยเริ่มจากการสร้างสันติภายในของตนเองก่อนจะปกป้องความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นในภายนอก เพราะการเรียนจิตวิทยาอาจจะมุ่งเข้าใจหรือวิเคราะห์คนอื่น แต่การศึกษาพระพุทธศาสนาหรือสันติภายในจะเข้าใจตนเอง ซึ่งเราจะชนะทุกพรรคจะต้องพัฒนาศีล สมาธิ ปัญญา โดยมุ่งวิจัยในมนุษย์คือการฝึกวิปัสสนากรรมฐาน สร้างสันติภายในของตนเอง ด้วยการมีความเย็นจากภายใน โดยเชิญชวนให้สวดบทพาหุง ถอดบทเรียนจากบทพาหุง สันติภายในจึงต้องฝึกอย่างเข้มข้น   

ช่วงท้ายมีการถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สันติภาพในชุมชนและสังคมผ่านการลงมือทำลงมือปฏิบัติ เอาธรรมลงไปทำโดย คณาจารย์ของ มจร ที่ผ่านการวิจัยจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาและศิษย์เก่าของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินรายการ โดย พระปราโมทย์ วาทโกวิโท ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตรสันติศึกษา มจร เลขาศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร โดยมีคณาจารย์ที่มีผลงานวิจัยดีเด่นของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มจร ประกอบด้วย พระมหาวิเชียร วชิรธมฺโม  ผศ. และคณะ ผศ.ดร.อัครเดช พรหมกัลป์ และคณะ และผศ.ดร.ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ และคณะ ซึ่งมีนิสิตและศิษย์เก่าของหลักสูตรสันติศึกษา ประกอบด้วย พระมหาธีระยุทธ จิตฺตปญฺโญ  ดร. ดร.ธปภัค บูรณะสิงห์  และนางสาวสุนันทา เอ๊าเจริญ  โดยเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยที่ผ่านการทดลอง เป็นงานวิจัยเสพ เป็นพุทธนวัตกรรมและสันตินวัตกรรม  



และพิธีปิดโดย พระเทพปวรเมธี, รศ.ดร. รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร  มจร กล่าวย้ำว่า เราควรนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาปฏิบัติอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันความขัดแย้งภายในตนและสังคม โดยมหาจุฬามีหลักสูตรที่น่าสนใจในการลดความขัดแย้งในสังคม คือ หลักสูตรสันติศึกษา เปิดสอนทั้งระดับหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรระยะยาว ถือว่าเป็นหลักสูตรที่มีผู้สนใจเป็นอย่างยิ่ง พร้อมนำไหว้พระบูชาพระรัตนตรัย  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์

  วิเคราะห์ ‎“จาลวรรค” ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต วรรคที่ไม่สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ บทนำ “จาล...