วันพุธที่ 18 พฤษภาคม 2565 พระปราโมทย์ วาทโกวิโท,ดร.วิทยากรต้นแบบสันติภาพ อาจารย์หลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เลขานุการศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน มจร เปิดเผยว่า คำถามคือ ทำไมการขอโทษจึงไม่ได้ผลไม่สำเร็จ? โดยเฉพาะประเด็นในสังคมไทยปัจจุบัน ถ้ามองผ่านสันติศึกษาควรจะมองอย่างไร ? สิ่งที่เกิดขึ้นมันสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก ซึ่งประเด็นแบบนี้แม้พระพุทธเจ้ายังเคยถูกกระทำเมื่อพระองค์เป็นศาสดา ซึ่งพระองค์บำเพ็ญบารมีอย่างยิ่งยวดคือ ขันติบารมีอย่างยิ่งยวด โดยจากสถานการณ์ตามข่าวจนนำไปสู่การขอโทษ การขอขมากรรมผ่านภาพ ซึ่งหัวใจของคนที่ให้อภัยได้ถือว่ายิ่งใหญ่มาก เพราะคนอ่อนแอให้อภัยใครไม่ได้จริงๆ คนที่สามารถให้อภัยได้จะต้องเป็นคนเข้มแข็งเท่านั้น เพราะมันเจ็บปวด
บางกลุ่มไม่ยอมรับการขอโทษและขอขมากรรมเพราะรู้สึกเจ็บปวดหรือทำเกินไป ทำให้องค์กรต้นสังกัดมีมติให้พ้นจากตำแหน่งการทำงานเพื่อลดกระแสขององค์กร แสดงให้เห็นถึงความเร็ว ความไว ความแรงของภาวะจิตใจและเทคโนโลยีที่เป็นมิจฉาทิฐิ รวมถึงการขาดโยนิโสมนสิการ ขาดการพิจารณาโดยกาลามสูตรในการพิจารณาอย่างมาก ทำให้เกิดประเด็นสร้างความขัดแย้ง โดยความขัดแย้งจึงเกิดจากคำว่า ล่วง เพราะเห็นต่างจะนำไปสู่คำว่า ล่วง เพราะคำว่าล่วงที่เกิดสันติสุข ปนะกอบด้วย ล่วงรู้ =ฉลาดมีปัญญา ล่วงลุ=เกิดผลสำเร็จ ล่วงหน้า=มีความเจริญ แต่มีล่วง 5 ประเภทที่นำไปสู่ความขัดแย้งแบบฝังรากลึก จากการศึกษามิติการจัดการความขัดแย้ง สิ่งที่เป็นสาเหตุที่นำไปสู่ความขัดแย้ง ประกอบด้วย 5 ล่วง คือ
1) #ล่วงเกิน เป็นการล่วงเกินกันด้วยกาย วาจา ใจ ใช้ความรุนแรงล่วงเกิน นับว่าเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะอะไรที่มันเกินๆ มักจะไม่พอดี การล่วงเกินกันจึงเป็นการก่อเวรกรรมต่อกัน ถ้าเราไม่สามารถอโหสิกรรมให้กัน ใครล่วงเกินเรา เราก็อยากให้เขาขอโทษ แต่เราล่วงเกินใคร เราเคยคิดจะขอโทษหรือไม่ ? ล่วงเกินจึงเป็นการวีซ่าให้กับเจ้ากรรมนายต่อไป จึงระวังการล่วงเกินบุคคลที่คู่ขัดแย้งเคารพนับถือ หรือ ล่วงเกินบุคคลเป็นผู้คนเคารพนับถือ ประเด็นล่วงเกินแบบเจตนาจึงเป็นบ่อเกิดของการสร้างกรรม
2) #ล่วงล้ำ เป็นการล่วงล้ำเขตแดน ดินแดน บุกรุกพื้นที่สาธารณะ ที่ดิน ไร่สวน บุกรุกวัดวาอาราม มองผ่านๆ อาจจะเป็นเรื่องธรรมดา แต่การล่วงล้ำนี่คือ เป็นต้นเหตุของการใช้ความรุนแรงมามากแล้ว โดยเฉพาะเรื่องเขตแดนที่ดินที่สวน ที่ส่วนตัว มีการล่วงล้ำกันนำไปสู่การขึ้นศาลฟ้องร้องกันมามากแล้ว จนมีคำกล่าวว่า "ถ้าจะมีเรื่องฟ้องร้องกินขี้หมาดีกว่า" มิติของการล่วงล้ำจึงต้องอาศัยการเจรจาไกล่เกลี่ยพูดคุย เพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธี สิ่งที่พึงตระหนักคือ อย่าใช้ความรุนแรงเด็ดขาดในการหาทางออกแบบสันติวิธี
3) #ล่วงเลย เป็นการล่วงเกี่ยวกับเวลา หรือ การละเลยไม่สนใจ อยู่ตามยถากรรม ปล่อยทิ้ง การล่วงเลยเวลาผ่านไปแล้วผ่านไปเลย มีคำกล่าวว่า " เป็นนักพูดอย่าให้เกินเวลา เป็นนักศรัทธาอย่าให้เกินกำลัง " อะไรที่ดีๆ ถ้าล่วงเลยไปก็ทำให้ของดีเป็นของเสียไป ชีวิตของเราปล่อยให้ล่วงเลยโดยไม่ทำอะไรเลยก็ไม่มีประโยชน์อะไร การล่วงเลย จึงก่อให้เกิดความขัดแย้งในกับตนเองและผู้อื่น เพราะความไม่พอดี มันเลยไปเยอะ จึงเกิดความขัดแย้ง ล่วงเลยหรือละเลยบุคคลสำคัญของชีวิต เช่น ไม่ดูแลบิดามารดา ตามหน้าที่ของทิศ 6 ในทางพระพุทธศาสนา
4) #ล่วงละเมิด เป็นการล่วงที่ก่อให้เกิดความรุนแรงทางความรู้สึกมากๆ เช่น การล่วงละเมิดทางเพศ นำไปสู่ความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก เพราะเป็นความรุนแรงทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมไปถึงการล่วงละเมิดสิทธิ ทรัพย์สินของบุคคลอื่นๆ นำไปสู่ความขัดแย้ง แม้แต่การล่วงละเมิดทางวาจากล่าวจาบจ้วงบุคคลอื่น ด้วยคำพูดที่ใส่ร้ายป้ายสี พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ล้วนแต่ละเมิดบุคคลอื่น นำไปสู่ความขัดแย้งอย่างแน่นอน พึงระวังมาก แม้แต่ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ยังให้ความใส่ใจอย่างมาก ปัจจุบันเราเห็นการล่วงเมิดกันด้วยการสื่อสารที่ละเมิดกันผ่านการสื่อสารด้วยทักษะการเขียน รวมถึงการล่วงละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
5) #ล่วงลับ การที่เราทำให้บุคคลอื่นต้องล่วงลับตายจากไปเพราะความประมาทของเรา หรือ ความมึนเมาของเรา เช่น ขับรถด้วยความเร็ว ทำให้เกิดอุบัติเหตุจนนำไปสู่ให้บุคคลอื่นล่วงลับไป ย่อมก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างแน่นอน หรือ มีบุคคลล่วงลับเพราะโทสะความโกรธของเรา ทำให้ทำร้ายร่างกาย เบียดเบียนคนอื่น เหล่านี้ล้วนแต่เป็นบ่อเกิดของความขัดแย้ง การล่วงลับมันหมายชีวิตของคนหนึ่งคน เราจึงต้องมีสติในการดำเนินชีวิต เพราะบางคนมีคติ "ชีวิตต้องแลกด้วยชีวิต"
คำว่าล่วงที่นำไปสู่ความขัดแย้งนั้น เป็นความขัดแย้งภายใน ย่อมเกิดปฏิฆะ คือ ความขุ่นข้องหมองใจกัน เป็นความขัดแย้งภายในจิตใจ ถ้าไม่ได้รับการเยียวยาจะนำไปสู่ความรุนแรง ถือว่าเป็นระเบิดเวลา การขอโทษเป็นเครื่องมือที่เยียวยาที่ดีที่สุดในโลก จึงควรหาทางป้องกันไม่ให้เกิดการล่วง แต่ถ้าล่วงแล้วควรใช้แนวทางของปธาน ๔ ในทางพระพุทธศาสนา คือ แก้ไข และ เยียวยา ซึ่งเมื่อล่วงแล้วจะหาทางออกอย่างไรให้เจ็บน้อยที่สุด จึงควรใช้วิธีการสื่อสารตามแนวพุทธศาสนา ประกอบด้วย จริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานสามัคคี มีประโยชน์ ประกอบด้วนเมตตา ควรใช้อำนาจร่วมมากกว่าอำนาจเหนือ วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดจะต้องใช้อำนาจร่วมมือและอำนาจภายในจิตใจ หาความต้องการที่แท้จริง
คำถามคือ ทำไมการขอโทษจึงไม่สำเร็จผล เพราะไม่ได้เข้าไปเยียวยาความเจ็บปวดที่ถูกกระทำไว้ ที่เข้าไปล่วงล้ำ ล่วงเกิน ล่วงเลย ละเมิด ล่วงลับ โดยมีการนำเสนอแต่เอกังสวาทีคือเสนอมุมเดียวเท่านั้น การนำเสนอข่าวสารจะต้องนำเสนอแบบวิภัชชวาทีคือ นำเสนอให้เกิดการแยกแยะ ไม่ใช่มุ่งยอดไลฟ์เท่านั้น ข่าวควรมีความจริงความดีความงามในการสื่อสารออกไป ถ้าจะสื่อสารความไม่ออกไปจะต้องใช้การพิจารณาโดยละเอียดผ่านโนยิโสมนสิการ เพราะข่าวประกอบด้วย ข่าวทั่วไป ข่าวดราม่า ข่าวสร้างคุณค่า แม้จะเป็นข่าวดราม่าจะต้องสะท้อนให้ทราบว่า เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า นิโรธการนำเสนอข่าวควรเป็นสัมมาทิฐิมากกว่ามิจฉาทิฐิ
หลักสูตรสันติศึกษามหาจุฬาจึงขอนำเสนอกระบวนการขอโทษอย่างจริงจังตามหลักพุทธสันติวิธี ประกอบด้วย 1 ขั้นตอน คือ 1)ต้องมีสติดับอารมณ์สร้างการรับฟังค้นหาความจริงของความจริง 2)บอกว่าฉันเสียใจอย่างยิ่งกับเรื่องที่เกิดขึ้น 3)ไม่ว่าจะเป็นการกระทำใดๆก็ตามที่ผ่านมาในสิ่งที่ฉันกระทำลงไป 4)มันทำให้คุณเจ็บปวดจากการกระทำของฉันอย่างมาก เข้าใจความรู้สึกอย่างยิ่ง โดยเข้าไปรับรู้ความรู้สึกถึงความเจ็บปวด 5)ฉันขอรับผิดชอบทั้งหมดจากการกระทำของฉัน ขอให้คุณยกโทษจากการกระทำผิดนี้ 6)ฉันขอโทษขอขมากรรมด้วยการสำนึกผิดจริงๆ เช่น พิธีขอขมา การทำการลงโทษผ่านชดใช้ หรือ พิธีกรรม ดอกไม้ธูปเทียน7)ฉันขอสัญญาว่าจะไม่ให้เกิดการกระทำแบบนี้ขึ้นอีกโดยเด็ดขาด จึงสะท้อนคำว่า "ผิดมากผิดน้อยไม่สำคัญ มันคือผิดแต่สำคัญที่ว่าสำนึกผิดหรือ" โดยจะต้องมีสติเป็นฐานการสำนึกผิดในการกระทำนั้นๆ ที่ผ่านการล่วงทั้งปวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น