วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ละสังขารแล้ว สิริอายุได้ 101 ปี 81 พรรษา
วันที่ 10 พฤศจิกายน สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ได้ละสังขารแล้ว สิริอายุได้ 101 ปี 81 พรรษา
ทั้งนี้วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีได้ประมวลประวัติไว้ดังนี้ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร และกรรมการมหาเถรสมาคม เคยดำรงตำแหน่งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย งดงาม น่าเลื่อมใส ดุจเดียวกับพระกัมมัฏฐาน ที่ครั้งหนึ่งเคยเดินธุดงค์ไปบนเส้นทางเดียวกับพระกัมมัฏฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เน้นการปฏิบัติภาวนาพร้อมกับการปฏิบัติเคร่งครัดตามพระธรรมวินัย ก่อนจะหันเหชีวิตมุ่งหน้าสู่การเรียนพระปริยัติธรรมตามแนวทาง “คันถธุระ” จนประสบผลส่าเร็จสูงสุด ได้เปรียญธรรม 9 ประโยค และได้น้อมนำหลักธรรมค่าสอนของพระพุทธองค์มาสู่การปฏิบัติ อบรมสั่งสอนพุทธบริษัท บริหารการคณะสงฆ์ นำความเจริญรุ่งเรืองให้กับพระพุทธศาสนาโดยรวม
ชาติภูมิ
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร) เกิด ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2460 ที่บ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นอำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ) โยมบิดาชื่อช่วย โยมมารดาชื่อกา นามสกุล ก่อบุญ เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้อง 11 คน
นอกจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ แล้วยังมีผลผลิตทางธรรมจากบ้านบ่อชะเนงและเป็นญาติกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ อีก 2 รูป คือ หลวงปู่ขาว อนาลโย และพระราชปรีชาญาณมุนี (หลอม มหาวิริโย ป.ธ.7) เจ้าอาวาสวัดบ่อชะเนงและเจ้าคณะจังหวัดอำนาจเจริญ (รูปปัจจุบัน)
บรรพชาและอุปสมบท
สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้บรรพชาเมื่อ พ.ศ. 2472 ที่วัดบ้านบ่อชะเนง ตำบลหนองแก้ว อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) โดยมีญาคูโม้เป็นพระอุปัชฌาย์ และ ต่อมาได้ออกธุดงค์ติดตามครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น ผ่าน จังหวัด ร้อยเอ็ด สารคาม ขอนแก่น ได้บรรพชาญัติเป็นสามเณรธรรมยุต โดยมี หลวงปู่สิงห์ ขนฺตญาคโม ณ.วัดป่าวิเวกธรรม จ.ขอนแก่น เป็นพระอุปัชฌาย์
ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 ขณะอายุ 20 ปี ได้อุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ์ วันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2480 โดยมีพระมหารัชมังคลาจารย์ (เทศ นิทฺเทสโก) ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระรัชชมงคลมุนี เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสุวรรณรังษี (สุวรรณ ชุตินฺธโร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูปลัดเส็ง ทินฺนวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์ (ภายหลังรับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระเนกขัมมมุนี)
การศึกษาพระปริยัติธรรม
ช่วงแรก
พ.ศ. 2475 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ได้เริ่มศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดอรัญญิกาวาส (วัดโพนแก้ว) อ่าเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม หลังจากที่บรรพชาเป็นสามเณรมาแล้ว 3 ปี สอบได้ ดังนี้
พ.ศ. 2476 นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ. 2478 นักธรรมชั้นโท
ช่วงที่สอง
พ.ศ. 2474 เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนต่อที่กรุงเทพมหานครและจำพรรษาที่วัดสัมพันธวงศ์ตลอดมา โดยส่าเร็จการศึกษาปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี ดังนี้
พ.ศ. 2480 เปรียญธรรม 3 ประโยค
พ.ศ. 2481 เปรียญธรรม 4 ประโยคและนักธรรมชั้นเอก
พ.ศ. 2484 เปรียญธรรม 5 ประโยค
พ.ศ. 2486 เปรียญธรรม 6 ประโยค
พ.ศ. 2488 เปรียญธรรม 7 ประโยค
พ.ศ. 2492 เปรียญธรรม 8 ประโยค
พ.ศ. 2499 เปรียญธรรม 9 ประโยค
สมณศักดิ์
5 ธันวาคม 2499 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระอริยเมธี
5 ธันวาคม 2507 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชกวี นรสีหพจนปิลันธน์ คันถธุรบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม รามวาสี
5 ธันวาคม 2514 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพปัญญามุนี ตรีปิฎกบัณฑิต ศาสนกิจธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
5 ธันวาคม 2519 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมบัณฑิต วิจิตรปฏิภาณสุโกศล วิมลคัมภีรญาณ นิเทศกาจารย์วิภูสิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[8]
5 ธันวาคม 2532 เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองที่ พระอุดมญาณโมลี สีลาจารวราภรณ์ สาทรหิตานุหิตวิมล โสภณธรรโมวาทานุสาสนี ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
5 ธันวาคม 2544 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสุต พุทธพจนมธุรธรรมวาที ตรีปิฎกปริยัติโกศล วิมลศีลาจารวัตร พุทธบริษัทปสาทกร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี[10] นับเป็นรูปที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ตำแหน่งปัจจุบัน
เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 (ธรรมยุต)
กรรมการมหาเถรสมาคม
กรรมการสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เพลง: กลิ่นธรรม
ເນື້ອເພງ : ດຣສົມພົງສ໌ ທຳນອງ - ຮ້ອງໂດຍ : suno คลิกฟังเพลงที่นี่ (Verse 1) ยามเช้าแสงทองจับขอบฟ้า ไอหมอกบางพัดพาเบา ๆ หอมกลิ่นบุปผา…อาบใจ...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น