วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
อานันท์ ปันยารชุน:คุณค่าสื่อสาธารณะในศตวรรษที่ 21
วันที่ 15 พ.ย. 2561 สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส จัดงาน Thai PBS Media Conference and Mini-INPUT2018 โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ปาฐกถา เรื่อง คุณค่าของสื่อสาธารณะในศตวรรษที่ 21 ณ สำนักงานใหญ่ไทยพีบีเอส คอนเวนชั่น ฮอลล์ อาคารดี กรุงเทพฯ ความว่า
ยุคดิจิทัล โซเซียลมีเดีย
แหล่งข้อมูลมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่ละคนสามารถหาอะไรเข้ากับตนเองได้
สื่อยุคดิจิทัลปัจจุบันประชาชนไม่มีศรัทธา เสื่อมศรัทธา เพราะ
ยุคของความไม่ซื่อสัตย์
ยุคของการบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร
ยุคของข่าวลวงข่าวเท็จ ข่าวปลอม
ยุคของการโกหก
โฆษณาชวนเชื่อ
เผยแพร่อย่างร้ายกาจ กว้างขวาง รวดเร็ว
ผลกระทบบั่นทอนระบบการเลือกตั้งและเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อรัฐบาล ผู้เสพแตกกระจายตัวเป็นกลุ่มมากมาย สังคมแตกแยก
การบริโภคข้อมูลข่าวสารใหม่มีอยู่ตลอด 24 ชม.
ขณะเดียวกันมีด้านมืดเช่นกันพวกเรายังไม่สามารถที่จะแก้ไขหรือจัดการกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพหรืออย่างครอบคลุม
ดังนั้นสื่อสาธารณะจึงสามารถปฏิบัติหน้าที่เหมือนเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงให้ข้อมูลที่เป็นกลาง เสรี รวมทั้งมุมมองแตกต่างเพื่อประชาชนจะสามารถคิด ซึ่งบริการลักษณะนี้เชื่อว่าช่วยเพิ่มคุณค่าให้ประชาธิปไตย
"สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนสื่อสาธารณะไม่ใช่กำไร ไม่ใช่หน้าที่ต้องรับใช้รัฐ รับใช้กลุ่มพรรคการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ แต่เป็นบริการเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างแท้จริง ดังนั้น เสรีภาพและการปลอดจากการแทรกแซงทางการเมืองจึงเป็นเงื่อนไขในการทำให้สื่อสาธารณะปฏิบัติหน้าที่ตามจริยธรรมของตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ" อดีตนายกรัฐมนตรี
ขณะที่สื่อสาธารณะจะต้องแยกแยกบทบาทของตนเองออกจากสื่อพาณิชย์ ถึงจะเป็มาตรฐานที่สูงสุดสำหรับการทำหน้าที่สื่อสำหรับประชาธิปไตย ตามที่เคยได้ส่งเสริมบทบาทของสื่อสาธารณะในฐานะที่เป็นเสียงของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อสร้างสังคม ต้องการมีสื่อให้ความรู้ ให้การศึกษา และมีส่วนร่วมในการพูดคุยสาธารณะในประเด็นที่เป็นประโยชน์สำหรับพลเมืองทุกคน รวมทั้งประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกล
Cr.https://www.isranews.org/isranews/71165-media-71165.html?fbclid=IwAR0QQJd-cFc1g4NqNpxdzU0JrfqKeAkPUQTNsNZsMFT08qrNdXKjQnMmaw4
ขอนแก่น-สมาคมเครือข่ายสื่อภาคอีสาน เดินหน้าปั้นนักข่าวมือถือ รุ่นที่ 2 ต่อยอด “นักข่าวมือถือ มืออาชีพฯ เรียนรู้การทำ Content Marketing แบบ Storytelling และการเสวนาเรื่อง “สังคมสูงวัย” โดย รศ.ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
พ.ท.พิสิษฐ์ ชาญเจริญ นายกสมาคมเครือข่ายหนังสือพิมพ์ วิทยุ และสื่อออนไลน์ ภาคอีสาน เปิดเผยว่า การอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการพัฒนาศักยภาพสื่อมวลชนภาคอีสานครั้งที่ 2/2561 เรื่อง “นักข่าวมือถือ มืออาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตสู่ไทยแลนด์ 4.0” ระหว่างวันที่ 23 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 ณ โรงแรมเพชรเกษม แกรนด์ ถนนจิตรบำรุง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีผู้ลงชื่อเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ 68 คน มาจากจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน สระบุรี และสมุทรปราการ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยผ่านการอบรมในครั้งที่ 1 ที่ จ.นครราชสีมามาแล้ว
ในการอบรมครั้งที่ 2 นี้ จะเป็นการต่อยอดความรู้เดิม และสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้ผู้เข้ารับการอบรม ในการใช้โทรศัพท์มือถือ เรียนรู้วิธีการถ่ายภาพและตัดต่อ การทำ Mobile Journalism, และการลำดับภาพผ่าน Application KineMaster โดยทีมวิทยากรกระบวนการผลิตสื่อมืออาชีพ นายกุลพัฒน์ จันทร์ไกรลาศ (อาจารย์ต่อง) ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตสื่อ, อาจารย์จำรัส จันทนาวิวัฒน์, อาจารย์สืบพงษ์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต (กลุ่มพลังแห่งต้นกล้า), คุณวิทยา จิรัฐติกาลสกุล (กลุ่มสื่อสุขสันต์) และคุณอุมาพร ตันติยาทร โปรดิวเซอร์ รายการสารคดีโทรทัศน์ บริษัท บุญมีฤทธิ์ จำกัด
การทำ Content Marketing แบบ Storytelling และการทำการตลาดในสื่อออนไลน์ โดย อ.จารุณี นวลบุญมา หัวหน้าสำนักประชาสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข. บรรยายพิเศษ “ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป” โดย นายชาย ปถะคามินทร์ เลขาธิการ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และการเสวนา เรื่อง “สังคมสูงวัย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง และอาจารย์กรรณิการ์ บันเทิงจิตร
นอกจากนี้ในวันที่ 2 ของการอบรม ผู้อบรมทุกคนจะได้ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติจริง เพื่อผลิตผลงานคลิปวิดีทัศน์ผ่าน Smartphone เป็นสารคดี, สารคดีเชิงข่าว หรือภาพยนตร์สั้น ความยาว 4 นาที ในประเด็นหัวข้อที่ใช้ฝึกปฏิบัติการทั้ง 4 หัวข้อ ได้แก่ ประเด็นรองรับผู้สูงวัย, ประเด็นกลุ่มอ่อนไหวและเปราะบาง, ประเด็นสิ่งแวดล้อมในชุมชน และประเด็นปัญหาปัจจัยเสี่ยงในชุมชน
พ.ท.พิสิษฐ์ กล่าวย้ำถึงการจัดอบรมนักข่าวมือถือ มืออาชีพ เพราะเทคโนโลยีขณะนี้เข้ามามีบทบาทในการรายงานข่าวค่อนข้างมาก เมื่อมาอบรมแล้วเราจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานที่เราทำได้ เราไม่ได้แค่ทำหน้าที่รายงานข่าวที่เกิดขึ้นอย่างเดียว เรามีหน้าที่โดยตรง ในการนำเสนอข้อเท็จจริง นำความประจักษ์ให้เกิดขึ้นแก่สังคม ซึ่งขณะนี้ทุกอย่างหลอมรวมกันแล้ว อย่าคิดว่าเราเป็นทีวี เป็นหนังสือพิมพ์ เป็นวิทยุ หรือเป็นออนไลน์ แต่คอนเทนท์ต้องเป็นคอนเทนท์ เพราะถ้าสื่อไม่ก้าวทันเทคโนโลยีแล้ว ก็จะไม่ทันต่อการตอบสนองของผู้บริโภค
ดังนั้นจึงต้องเสริมทักษะตรงนี้เพิ่มเติม ซึ่งความสำคัญที่สุดของคนทำสื่อคือ การบริการสาธารณะ เพื่อร่วมแก้ปัญหาในพื้นที่ของตัวเอง”--จบ--
ที่มา: https://mgronline.com
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย
การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น