วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

'บิ๊กตู่'หนุนส่งเสริมสันติภาพทะเลจีนใต้ บนเวทีอาเซียน-จีนที่สิงคโปร์



          

เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 14 พ.ย.61 (ตามเวลาท้องถิ่นสาธารณรัฐสิงคโปร์) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสุดยอดอาเซียน - จีน ครั้งที่ 21 ณ ศูนย์การประชุมและนิทรรศการซันเทค ประเทศสิงคโปร์ โดยพลโทวีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญดังนี้        

นายกรัฐมนตรีสนับสนุนการรับรองวิสัยทัศน์หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเซียน - จีน ค.ศ. 2030 เพื่อส่งเสริมหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับจีนที่เข้มแข็ง บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเสนอแนวทางการพัฒนา ดังนี้
          
ประการแรก ส่งเสริมความเชื่อมโยงในภูมิภาค สนับสนุนการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ความเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยเฉพาะระหว่าง MPAC 2025 BRI และ ACMECS Master Plan เพื่อปูทางไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก (EAEc) ในอนาคต และส่งเสริมการมีข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในเรื่องการเชื่อมโยงสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ในปีหน้าที่ประเทศไทย นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังยินดีที่จีนในฐานะประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่ง และประเทศคู่ลงทุนอันดับสามของอาเซียน มีความสนใจในโครงการ EEC ตลอดจนข้อริเริ่ม 2+1 ซึ่งนำไปสู่การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างภาคเอกชนจีน - ญี่ปุ่น - ไทย ที่กรุงปักกิ่ง เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
        
ประการที่สอง เสริมสร้างความไว้เนื้อเชื้อใจเชิงยุทธศาสตร์ อาเซียนกับจีนควรร่วมมือกันเสริมสร้างโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นแกนกลาง ส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายในทะเลจีนใต้ เช่น การจัดทำ COC ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนทะเลจีนใต้เป็นทะเลแห่งสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน การฝึกผสมทางทะเลอาเซียน-จีน และการปกป้องสิ่งแวดล้อมทางทะเล
         
ประการที่สาม อาเซียนและจีนควรเสริมสร้างความร่วมมือด้านความยั่งยืนในมิติต่างๆ ซึ่งในฐานะที่ไทยเป็นผู้ประสานงานอาเซียนในเรื่องนี้ จึงหวังว่า จีนจะให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในการดำเนินโครงการความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมร่วมกับศูนย์อาเซียนด้านต่างๆ ที่จะจัดตั้งที่ประเทศไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าคำว่า สันติภาพ" นั้น หมายถึง “การปลอดพ้นจากความรุนแรงทางตรง” เช่น ความรุนแรงต่อบุคคล  คนกำลังตีกัน เราไปห้ามอย่าตีกันเลย  ส่วนสันติเชิงบวก หมายถึง “การปลอดพ้นจากความรุนแรงเชิงโครงสร้าง”  เช่น ความยากจน การเหยียดผิว  ความเหลื่อมล้ำ ความไม่เป็นธรรมทางสังคม  ที่คนโกรธกันเพราะอะไร  เพราะไม่ยุติธรรม  เราจะทำอย่างไรให้เกิดความพอใจ จึงมีคำว่า “สงครามเกิดขึ้นที่จิตใจของมนุษย์ สันติภาพจึงต้องเริ่มจากจิตใจของมนุษย์เช่นกัน” 

ขณะที่แนวทางการสร้างสันติภาพหรือสันติวิธีมีอยู่ 3  สำนักคือ   1. สันติวิธีในฐานะเป็นเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง (Peaceful Means) โดยมีวิธีการเช่น การเจรจากันเอง (Negotiation) คือ การใช้วิธีการพูดคุยกันก่อนอาจจะเอาจุดยืนเป็นตัวตั้งหรือจะเอาประโยชน์เป็นตั้งตั้งโดยมีเป้าหมายคือชนะทั้งคู่  การไกล่เกลี่ย  (Mediation) มีเป้าหมายคือชนะทั้งคู่  อนุญาโตตุลาการ (Arbitration)   มีแพ้มีชนะ    กระบวนการทางศาล (Court)  และการหลีกเลี่ยง (Avoidance) 2. สันติวิธีในฐานะเป็นฐานของการเรียกร้องความต้องการโดยปราศจากความรุนแรง เช่น การเรียกร้องสิทธิ  เสรีภาพ ความยุติธรรม (Civil Disobedience) การดื้อแพ่งหรืออริยขัดขืนคือการแสดงสัญลักษณ์ผ่านคำพูด(Demonstration) การอดข้าวอย่าง “มหาตมะ คานธี” การเดินขบวน (March) และม็อบ(Mob)  คุมไม่อยู่เพื่อให้ผู้มีอำนาจได้ยิน เสียงของคน มาเพื่อให้คนได้ยิน 3) สันติวิธีในฐานะเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต (Pacifism)  อย่างการกินเจ การใช้หลักใช้อหิงสาของ “มหาตมะ คานธี” หรือการสร้างสันติภายในให้เป็นวิถีชีวิตตามหลักวิปัสสนากรรมฐาน  

ทั้งนี้สำนักดังกล่าวทั้งสันติวิธีในฐานะเป็นเครื่องมือจัดการความขัดแย้ง (Peaceful Means)  สันติวิธีในฐานะเป็นฐานของการเรียกร้องความต้องการโดยปราศจากความรุนแรงนั้นยังมองไม่เห็นทางว่าจะสามารถจะยุติสงครามทั้งแบบมีรูปแบบและไร้ตัวตนในยุคปัจจุบันได้เลย และแม้แต่กระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาษาก็ยังไม่มีรูปแบบทักษะที่เป็นมาตรฐานสากล  คงจะมีเพียงสำนักเดียวเท่านั้นที่พอจะเยียวยาได้ นั่นก็คือสำนัสันติวิธีในฐานะเป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต (Pacifism) และที่ปรากฏชัดก็เห็นจะมีแต่เพียงสำนักพุทธสันติวิธี (Buddhist Pacifism) ที่เน้นการสร้างสันติภายใน เพราะมีหลักธรรมที่ตรงกับธรรมนูญของยูเนสโกที่ว่า “สงครามและสันติภาพเกิดขึ้นที่ใจของมนุษย์” เป็นสำคัญ  เพราะหากทุกคนรักสงบมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ก็ไม่จำเป็นต้องทำ “สิทธิสัญญาสงบศึก” เพราะทำสนธิสัญญาสงบศึกแล้วพากันละเมิด จึงควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ก่อให้เกิดสงคราม ด้วยการเริ่มจัดการกับสงครามภายในใจของเราเอง ดับสงครามภายใน เพื่อป้องกันสงครามภายนอก”  และรู้จักเลือกคบกัลยาณมิตร สร้างเครือข่ายพระพุทธศาสนามีพุทธธรรมอยู่หมวดหนึ่ง


สันติวิธีวิถีชีวิตนั้นคือพุทธสันติวิธีหรือตำราพุทธพิชัยสงครามตามแนว “อริยสัจโมเดล” ที่บูรณาการกับหมวดธรรมคือปธาน 4 สอดประสานกับหลักสันติวิธีตะวันตก ที่มุ่งเน้นการเน้นการสร้างสันติภายในเริ่มจากการปริยัติหรือสันติศึกษาภายในด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จนกระทั้งเกิดสัมมาทิฐิ ว่า “โลกทั้งผองคือพี่น้องกัน” ก็จะทำให้เป็นนักสันติวิธีแบบวิถีชีวิต (Pacifism)  สามารถยุติปัญหาความขัดแย้ง รุนแรงและสงครามเกิดสันติภาพภายใยแบบไม่มีความขัดแย้งภายใน ก็จะทำให้เกิดพลังทั้ง 5 คือศรัทธา วิริยะ  สติ  สมาธิ  และปัญญา ในการแก้ปัญหาความขัดแยง รุนแรง และสงครามไร้ตัวตนหรือหลบในของชุมชน สังคม ประเทศชาติ และโลกให้เกิดสันติภาพ ด้วยโมเดลต่างๆ โดยเริ่มจากหลัก “4ป.” ในพื้นที่ “บวร” เพื่อให้เกิด “ภาวนา4” ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือต้องมีหลักการ ๒ คือความรู้คู่คุณธรรม เมื่อจะนำความรู้ไปใช้ในการสร้างสันติภาพต้องอยู่บนพื้นฐานของเงื่อนไข 3คือ ประมาณ เหตุผล และภูมิคุ้มกันความเสี่ยง แบบเข้าใจ เข้าถึง และพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะทำให้นักพุทธสันติวิธีสามารถยุติปัญหาความขัดแย้ง รุนแรงและสงครามได้ระดังหนึ่งแต่การจะทำให้ “อริยสัจโมเดล” คงจะต้องมีการบูรณาการเข้ากับศาสตร์ใหม่ให้ทันกาล 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์

  วิเคราะห์ 3. สุนทรวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 24 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 16 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ สุน...