พุทธปณิธานชั่วโมงที่6เปรียบเทียบพุทธกับพราหมณ์เทวนิยมกับอเทวนิยมคืออะไร
วิจัย ๕
ไทยให้ความหมาย ๒ คำนี้เบาไป
เจโตปะณิธิ / มโนปะณิธาน – การวางจิตลง / การตั้งใจ
น่าจะใช้แทนคำ Mindset ได้
ไทยให้ความหมาย ๒ คำนี้เบาไป
เจโตปะณิธิ / มโนปะณิธาน – การวางจิตลง / การตั้งใจ
น่าจะใช้แทนคำ Mindset ได้
&&&&&&&&
(Mindset is possibly identical with the Buddhist term 'Manopanidhanna' / 'Cetopanidhana' that I regard as the 'Mindset for the Buddhahood'. Out of that, Vacipanidhana (verbal vow) and Kayapanidhana (physical vow) come. In this view, the Buddhist term is deeper in the meaning.)
@ คำถาม
ตามที่ได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับ Mindset ไปนั้นมีท่านที่สนใจถามมาว่า แล้วจะจะหาบาลีคำไหนมาใช้เป็นคำแปลหรือคำแทนของ Mindset ดี
ขอท้าวความสักนิด คราวที่แล้วหลังจากแสดงความเห็นเกี่ยวกับ Mindset แล้ว ผมได้ยกคำบาลีมาเทียบ คือ ปะณิหิตะจิตตะ (จิตที่วางไว้, จิตที่ตั้งไว้) หลายท่านพยักหน้ารับ และขอให้ผมหาลองคำที่ใกล้เคียงกว่านี้
“ได้ครับ” ผมตอบรับ แล้วนึกถึงคำ “เจโตปณิธิ / มโนปณิธาน” ขึ้นมาทันที เลยวันนี้ลองนำเสนอดู
ขอท้าวความสักนิด คราวที่แล้วหลังจากแสดงความเห็นเกี่ยวกับ Mindset แล้ว ผมได้ยกคำบาลีมาเทียบ คือ ปะณิหิตะจิตตะ (จิตที่วางไว้, จิตที่ตั้งไว้) หลายท่านพยักหน้ารับ และขอให้ผมหาลองคำที่ใกล้เคียงกว่านี้
“ได้ครับ” ผมตอบรับ แล้วนึกถึงคำ “เจโตปณิธิ / มโนปณิธาน” ขึ้นมาทันที เลยวันนี้ลองนำเสนอดู
@ คำ – ความหมาย
๐ เจโตปะณิธิ หรือ เจโตปณิธิ ในภาษาบาลี มาจาก เจโต ( จิต, ความคิด) + ปณิธิ (ป บทหน้า นิ > ณิ (เข้า, ลง) + ธิ (วาง) แปลกันตามตัวว่า การวางจิตลง หรือ จะแปลว่า การวางลงไปในจิต ก็น่าจะได้
๐ ส่วน มโนปะณิธิ หรือ มโนปณิธาน ในภาษาบาลี ก็มาจาก มโน (ใจ, ความคิด) + ปณิธิ (ป บทหน้า นิ > ณิ (เข้า, ลง) + ธิ (วาง) แปลเหมือนกับข้างบน
๐ เจโต กับ มโน เป็นศัพท์ตระกูลเดียวกัน หมายถึง จิต, ใจ, ความคิด (แล้วไทยก็เอาคำนี้ไปปรับใช้แล้วสร้างคำขึ้นมาอีกหลายคำ เช่น เจตคติ มโนทัศน์ มโนภาพ) เมื่อสมาส (มารวม) กับ ปณิธิ ไทยเราจึงแปลง่ายๆว่า การตั้งใจ การวางใจ
แต่เอาเข้าจริง คำนี้เมื่อพิจารณาถึงรูปคำที่สร้างขึ้นมาแล้ว การแปลเพียงแค่นี้ไม่พอ น่าจะลงลึกได้มากกว่านั้น คืออาจจะแปลได้อีกว่า การวางจิตลง การวางลงไปในจิต
๐ วางจิตลง คือ การวางจิตลงลึกไปในความดีที่มีเป้าหมายชัดเจน ส่วน การวางลงไปในจิต คือ การวางความดีที่มีเป้าหมายชัดเจนลงไปในจิต
๐ สรุปแล้ว คือ ความคิดทำดีที่ฝังลงลึกจนยากจะเปลี่ยนแปลง เพราะเกิดจากความประทับใจอย่างสุดซึ้งหรือสะเทือนใจอย่างลึกซึ้งกับเหตุการณ์รุนแรงเฉพาะหน้า อาจดีหรือร้ายก็ได้ จึงสำเร็จเป็นความคิดดีที่ถูกวางลงไปเพื่อเป้าหมายนั้นแล้วสร้างคุณธรรมขึ้นมาบ่มเพาะความคิดดีที่ฝังลงไปนั้นให้แก่กล้าหรือสุกหง่อม อย่างที่ภาษาบาลีเรียกว่า “ปริปากะ” และจิตวิทยาเรียกว่า “Maturity” ซึ่งนักการศึกษาไทยแปลเสียสวยหรูว่า “วุฒิภาวะ”
ความคิดดีที่วางลงลึกนั้น อาจเพื่อการแก้ไขหรือสร้างสรรค์แนวทางให้ได้สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์
ความคิดดีที่วางลงลึกนั้น อาจเพื่อการแก้ไขหรือสร้างสรรค์แนวทางให้ได้สิ่งใหม่ที่เป็นประโยชน์
@ ที่มาของคำ
๐ ผมคิดคำนี้ได้จากการศึกษา ปณิธาน ๓ ระยะของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ คือ ผู้ตั้งจิตปรารถนาบรรลุพระโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า มีปณิธานหรือการตั้งใจไว้ ๓ ระยะ ได้แก่ กายปณิธาน (ปณิธานระยะลงมือทำความดีเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า) ตามที่มีวิจีปณิธาน (ปณิธานระยะเปล่งวาจาแสดงความปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้า) กายปณิธานและวจีปณิธานทั้งสองนี้มาจาก มโนปณิธาน คือ ปณิธานระยะคิดปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า
๐ ที่ว่ามาว่าตามการแสดงออกที่จะให้เข้าใจง่าย แต่จริงๆแล้วต้องเริ่มต้นที่
๐๐ มโนปณิธาน คือ ตั้งใจหรือคิดปรารถนาที่จะบรรลุโพธิญาณก่อน โพธิญาณ คือ ความรู้ขั้นสูงสุด (อนุตตะรา โพธิ) มีตัวชี้วัด รู้ ตื่น เบิกบาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว แต่ตัวชี้วัดจริงต้องดูที่การแสดงออกของ พระมหากรุณา – ความสงสารอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อสรรพสัตว์ไม่จำกัดด้วยสงสารว่าสรรพสัตว์สรรพสิ่งมีทุกข์เหมืนกัน คือ เกิด แก่ ตาย แต่แม้จะมีทุกข์ขนาดนี้ก็ไม่มีสรรพสัตว์ตนใดจะแหวกว่ายพ้นทุกข์ไปได้ ความสงสารนี้มาจาก พระมหาปัญญา ที่ลึกซึ้ง เข้าใจสรรพสิ่งได้ทะลุปรุโปร่งตามเป็นจริง มองด้วยความเป็นเหตุเป็นผลได้ทุกแง่ทุกมุมไม่ติดขัด เป็นพระมหากรุณาและพระมหาปัญญาที่บ่มเพาะจนทำลายกิเลสได้หมดสิ้น จึงทำให้มี พระมหาวิสุทธิ – ความบริสุทธิ์อย่างยิ่งใหญ่
๐๐ แล้วจึงแสดงออกมาทาง วาจา เป็นวจีปณิธาน เป็นการให้คำมั่นสัญญากับสรรพสัตว์ว่า ท่านจะมาช่วยให้พวกเขาพ้นทุกข์ทั้งปวง เน้นไปที่ทุกข์หลัก คือ ชาติ หรือ การเกิด เมื่อพ้นจากการเกิดได้ ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงก็ไม่มี
๐๐ วจีปณิธาน อาจทำก่อนหรือพร้อมกับกายปณิธานก็ได้ เพราะแสดงว่า พูดแล้วทำ หรือ ทำตามที่พูด ซึ่งทั้งสองนี้ก็ออกมาจาก มโนปณิธาน
๐๐ มโนปณิธาน คือ ตั้งใจหรือคิดปรารถนาที่จะบรรลุโพธิญาณก่อน โพธิญาณ คือ ความรู้ขั้นสูงสุด (อนุตตะรา โพธิ) มีตัวชี้วัด รู้ ตื่น เบิกบาน ซึ่งเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว แต่ตัวชี้วัดจริงต้องดูที่การแสดงออกของ พระมหากรุณา – ความสงสารอันยิ่งใหญ่ที่มีต่อสรรพสัตว์ไม่จำกัดด้วยสงสารว่าสรรพสัตว์สรรพสิ่งมีทุกข์เหมืนกัน คือ เกิด แก่ ตาย แต่แม้จะมีทุกข์ขนาดนี้ก็ไม่มีสรรพสัตว์ตนใดจะแหวกว่ายพ้นทุกข์ไปได้ ความสงสารนี้มาจาก พระมหาปัญญา ที่ลึกซึ้ง เข้าใจสรรพสิ่งได้ทะลุปรุโปร่งตามเป็นจริง มองด้วยความเป็นเหตุเป็นผลได้ทุกแง่ทุกมุมไม่ติดขัด เป็นพระมหากรุณาและพระมหาปัญญาที่บ่มเพาะจนทำลายกิเลสได้หมดสิ้น จึงทำให้มี พระมหาวิสุทธิ – ความบริสุทธิ์อย่างยิ่งใหญ่
๐๐ แล้วจึงแสดงออกมาทาง วาจา เป็นวจีปณิธาน เป็นการให้คำมั่นสัญญากับสรรพสัตว์ว่า ท่านจะมาช่วยให้พวกเขาพ้นทุกข์ทั้งปวง เน้นไปที่ทุกข์หลัก คือ ชาติ หรือ การเกิด เมื่อพ้นจากการเกิดได้ ทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงก็ไม่มี
๐๐ วจีปณิธาน อาจทำก่อนหรือพร้อมกับกายปณิธานก็ได้ เพราะแสดงว่า พูดแล้วทำ หรือ ทำตามที่พูด ซึ่งทั้งสองนี้ก็ออกมาจาก มโนปณิธาน
๐ ตัวอย่างของ มโนปณิธาน
๐๐ คัมภีร์หลายคัมภีร์บันทึก มโนปณิธานแรก ของพระพุทธเจ้าโคดมของเราไว้สรุปว่า
“...ชาตินั้น พระองค์เกิดเป็นชายยากจน ทำมาหากินลำบากมาก นอกจากเลี้ยงตัวเองยังต้องเลี้ยงมารดาผู้ชราอีกด้วย วันหนึ่ง ตัดสินใจรับเป็นนายเรือคุมเรือสิ่งสินค้าไปค้าขายที่สุวรรณภูมิ แต่มีเงื่อนไขขอเอาแม่ผู้ชราไปด้วย หลังจากตกลงเรื่องค่าจ้างวิธีการทำงานตามเงื่อนไขแล้วก็ออกเรือ เดินทางไปออกไปกลางทะเลไม่กี่วัน เกิดมรสุมหนัก ท่านแสดงภาวะผู้นำด้วยการพยายามปลอบโยนลูกเรือไม่ให้เสียขวัญ แต่ในที่สุดก็สู้คลื่นลมไม่ได้ เรือแตกทะลุน้ำทะลัก ท่านจนปัญญาจะช่วยใครได้ เห็นภาพที่เรือแตกลูกเรือถูกฉลามฮุบบ้าง จมน้ำตายบ้าง ท่านเกิดธรรมสังเวช (สะเทือนใจในธรรม)อย่าแรง จึงตั้งจิตปรารถนาว่า
‘ทะเลกว้างใหญ่ มีอันตรายมากเหลือเกิน ดูเถอะ คนแหวกว่ายในทะเล ยากที่ใครจะรอดพ้นอันตรายได้ แต่ทะเลแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอันตรายกว่านี้มาก ไม่มีใครรอดพ้นจากเกิดแก่และตายไปได้เลย ขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้า เราจะได้ช่วยสัตว์โลกให้ข้ามทะเลแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้’
จากนั้นก็คว้ากระดานแผ่นใหญ่แผ่นหนึ่งที่ลอยอยู่ตรงหน้าได้ ประคองแม่นั่งบนแผ่นกระดาน แล้วใช้เท้าพุ้ยน้ำเกาะกระดานเข้าหาฝั่งได้สำเร็จ
นี่คือชาติแรกที่พระองค์คิดปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ และชาติแรกนี้ทำให้มีชาติต่อ ๆ มาถึงอีก ๔ อสงไขย กับ ๑๐๐,๐๐๐ กัป (โอกาสหน้า ค่อยว่าเรื่องนี้)
๐๐ ผมอยากจะเรียก มโนปณิธาน ของพระโพธิสัตว์ครั้งแรกนี้ว่า “Mindset” คือ ความคิดที่ตั้งไว้จนกลายมาเป็นชุดความคิดที่นำไปสู่การพูดและทำตามความคิดที่ตั้งไว้ และคิดนี้เองที่ทำให้ธรรมทั้งหลายที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้าหลั่งไหลออกมาเป็นชุด ๆ เช่น บารมี ๑๐ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และสั้น ๆ หน่อยก็ได้ คือ มรรคมีองค์ ๘
๐๐ คัมภีร์หลายคัมภีร์บันทึก มโนปณิธานแรก ของพระพุทธเจ้าโคดมของเราไว้สรุปว่า
“...ชาตินั้น พระองค์เกิดเป็นชายยากจน ทำมาหากินลำบากมาก นอกจากเลี้ยงตัวเองยังต้องเลี้ยงมารดาผู้ชราอีกด้วย วันหนึ่ง ตัดสินใจรับเป็นนายเรือคุมเรือสิ่งสินค้าไปค้าขายที่สุวรรณภูมิ แต่มีเงื่อนไขขอเอาแม่ผู้ชราไปด้วย หลังจากตกลงเรื่องค่าจ้างวิธีการทำงานตามเงื่อนไขแล้วก็ออกเรือ เดินทางไปออกไปกลางทะเลไม่กี่วัน เกิดมรสุมหนัก ท่านแสดงภาวะผู้นำด้วยการพยายามปลอบโยนลูกเรือไม่ให้เสียขวัญ แต่ในที่สุดก็สู้คลื่นลมไม่ได้ เรือแตกทะลุน้ำทะลัก ท่านจนปัญญาจะช่วยใครได้ เห็นภาพที่เรือแตกลูกเรือถูกฉลามฮุบบ้าง จมน้ำตายบ้าง ท่านเกิดธรรมสังเวช (สะเทือนใจในธรรม)อย่าแรง จึงตั้งจิตปรารถนาว่า
‘ทะเลกว้างใหญ่ มีอันตรายมากเหลือเกิน ดูเถอะ คนแหวกว่ายในทะเล ยากที่ใครจะรอดพ้นอันตรายได้ แต่ทะเลแห่งการเวียนว่ายตายเกิดอันตรายกว่านี้มาก ไม่มีใครรอดพ้นจากเกิดแก่และตายไปได้เลย ขอให้ได้เป็นพระพุทธเจ้า เราจะได้ช่วยสัตว์โลกให้ข้ามทะเลแห่งการเวียนว่ายตายเกิดได้’
จากนั้นก็คว้ากระดานแผ่นใหญ่แผ่นหนึ่งที่ลอยอยู่ตรงหน้าได้ ประคองแม่นั่งบนแผ่นกระดาน แล้วใช้เท้าพุ้ยน้ำเกาะกระดานเข้าหาฝั่งได้สำเร็จ
นี่คือชาติแรกที่พระองค์คิดปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ชื่อว่าเป็นพระโพธิสัตว์ และชาติแรกนี้ทำให้มีชาติต่อ ๆ มาถึงอีก ๔ อสงไขย กับ ๑๐๐,๐๐๐ กัป (โอกาสหน้า ค่อยว่าเรื่องนี้)
๐๐ ผมอยากจะเรียก มโนปณิธาน ของพระโพธิสัตว์ครั้งแรกนี้ว่า “Mindset” คือ ความคิดที่ตั้งไว้จนกลายมาเป็นชุดความคิดที่นำไปสู่การพูดและทำตามความคิดที่ตั้งไว้ และคิดนี้เองที่ทำให้ธรรมทั้งหลายที่จะทำให้เป็นพระพุทธเจ้าหลั่งไหลออกมาเป็นชุด ๆ เช่น บารมี ๑๐ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ และสั้น ๆ หน่อยก็ได้ คือ มรรคมีองค์ ๘
@ สรุป
ฝากไว้ให้พิจารณากันนะครับ จะได้ประโยชน์มาก คือ ใช้แนวคิดฝรั่งเป็นทางเดินของคำสอนของพระพุทธเจ้า จะเรียกว่า บูรณาการ (Integration) ก็น่าจะได้ แล้วเราจะได้ไม่กระโจนไปตื่นเต้นตามตะวันตกอย่างเดียว
เราก็มีของดี...คำสอนของพระพุทธเจ้าใช้ได้หมด เสียแต่ว่าเราคงต้องกลับมาตั้งสติเรียนรู้ที่จะใช้ความรู้ของพระองค์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมทั้งในแง่วิชาการและการใช้ในชีวิตจริง เพราะที่เหนือกว่าตะวันตก คือ
"ความรู้ของพระพุทธเจ้ายึดการสร้างสรรพร้อมกับขจัดกิเลสเป็นตัวตั้ง"
เราก็มีของดี...คำสอนของพระพุทธเจ้าใช้ได้หมด เสียแต่ว่าเราคงต้องกลับมาตั้งสติเรียนรู้ที่จะใช้ความรู้ของพระองค์ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมทั้งในแง่วิชาการและการใช้ในชีวิตจริง เพราะที่เหนือกว่าตะวันตก คือ
"ความรู้ของพระพุทธเจ้ายึดการสร้างสรรพร้อมกับขจัดกิเลสเป็นตัวตั้ง"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น