วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ไทยสู่เวทีนานาชาติคุณหมิงจีน



ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ไทยสู่เวทีนานาชาติ หวังแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะกับกลุ่มประเทศแถบลุ่มน้ำโขง

วันที่ 3 พ.ย.2561 พระมหาประยูร โชติวโร ผู้อำนวยการกองกิจการนิสิต  มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  คณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่2-3 พ.ย.2561 ที่มหาวิทยาลัยการแพทย์ คุณหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้แทนคณะทำงานจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ เข้าร่วมประชุมนานาชาติว่าด้วยการสาธารณสุขของประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เรื่อง “ความเท่าเทียมทางสุขภาพและคำตอบของวิกฤด้านสุขภาพ” ในงาน The 10 th International Conference on Public Health among GMS Countries(ICPH-GMS ครั้งที่10)

การนี้มีผู้แทนคณะทำงานได้เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลการดำเนินการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมสุขภาวะพระสงฆ์ผ่านการจัดทำนโยบายสาธารณะระดับชาติ ซึ่งเริ่มจากมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติสู่มติมหาเถรสมาคม มติคณะกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์มหาเถรสมาคม กระบวนการยกร่างและเวทีรีบฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม การประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ และการนำธรรมนูญฯไปขับเคลื่อนเพื่อสร้างพื้นที่รูปธรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการดูแลรักษาฟื้นฟูภิกษุอาพาธ การเข้าถึงสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ การพัฒนาพระคิลานุปัฏฐาก รวมทั้งส่งเสริมบาทพระสงฆ์ในการเป็นผู้นำในการดูแลสุขสุขภาพชุมชนและสังคม

การประชุมนี้เกิดจากความร่วมมือของเครือข่าย Greater Mekong Sub-region Public Health Academic Network เพื่อส่งเสริมสุขภาพของสมาชิกในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ที่มีพันธกิจในการเพิ่มขีดความสามารถในระดับภูมิภาค ที่สำคัญยังมีการรับมือกับความท้าทายทางด้านสาธารณสุข โดยใช้การศึกษา การวิจัยและการสนับสนุนนโยบาย ที่จะช่วยให้ประชาชนในภูมิภาคนี้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิกประกอบด้วย 12 มหาวิทยาลัย และ 13 สถาบันการอบรมด้านสาธารณสุข จากราชอาณาจักรกัมพูชา,สาธารณรัฐประชาชนจีน, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว,ประเทศเมียนมาร์, ประเทศไทยและประเทศเวียดนาม โดยมีบุคลากรด้านสาธารณสุขในด้านวิชาการและวิจัยจากประเทศต่างๆ เข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ด้วย

ผลการเข้าร่วมและนำเสนอผลการจัดทำและขับเคลื่อนธรรมสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติและการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมสู่เวทีนานาชาติในครั้งนี้ จึงเป็นโอกาสสำคัญเพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดำเนินการนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพแบบมีส่วนร่วมผ่านเครื่องมือธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติกับกลุ่มประเทศแถบลุ่มน้ำโขง ซึ่งมีประชากรนับถือศาสนาพุทธและมีพระภิกษุสงฆ์ เป็นจำนวนมาก จึงกล่าวได้ว่าการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการเผยแผ่ผลงานวิชาการแล้วยังถือเป็นการทำนุบำรุง สืบทอดพระศาสนาให้มีความเจริญมั่นคงสืบไปอีกทางหนึ่งด้วย


Cr.Prayoon Chothivaro

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มส. เห็นชอบแต่งตั้ง "หลวงปู่ศิลา" ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 9 ธรรมยุต รายงานผลการดำเนินงาน "หมู่บ้านรักษาศีล 5"

แนะประยุกต์ใช้ AI ในการเสริมสร้างหมู่บ้านศีลห้าจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาชุมชนไทยในทางที่ยั่งยืนและสันติสุข บนพื้นฐานของศีลธรรมและจริยธรรมในป...