วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา เมื่อเจริญสติภาวนาเป็นประจำ
จะเกิดอะไรขึ้นกับตัวเรา เมื่อเจริญสติภาวนาเป็นประจำ – การเจริญภาวนาเป็นการกระตุ้นระบบพาราซิมพาเทติก (PNS) ได้หลายทางทีเดียว รวมทั้งเป็นการดึงความสนใจของคุณออกมาจากเรื่องราวที่เคร่งเครียด เป็นการผ่อนคลาย และเป็นการนำสติกลับมาตระหนักรู้อยู่ที่ร่างกาย นับเป็นการกระตุ้นระบบพาราซิมพาเทติก (PNS) และระบบประสาทส่วนอื่น ๆ ของคุณนั่นเอง
การเจริญสติภาวนาเป็นประจำจะก่อให้เกิดผลดังนี้
• เพิ่มเนื้อเยื่อสมองส่วนที่เป็นสีเทาในสมองส่วนอินซูลา ฮิปโปแคมปัส และคอร์เท็กซ์กลีบหน้าส่วนหน้าผาก ลดการบางลงของสมองส่วนคอร์ติคัลอันเรื่องจากการมีอายุมากขึ้น โดยเห็นได้ชัดในบริเวณส่วนหน้าที่ได้รับการเสริมสร้างให้แข็งแกร่งด้วยการเจริญสติภาวนา ช่วยทำให้การทำงานทางจิตที่เกี่ยวข้องกับสมองส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ดีขึ้น เช่น มีสมาธิดีขึ้น มีความเมตตามากขึ้น และมีความเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นมากขึ้น
• เพิ่มการทำงานของสมองส่วนหน้าซ้าย ซึ่งช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
• เพิ่มพลังและระยะทางของคลื่นสมองอันรวดเร็วในเขตแกมมาของสมองของนักภาวนาชาวทิเบตที่มีประสบการณ์สูง คลื่นสมอง คือ คลื่นไฟฟ้าที่อ่อนแต่สมารถวัดได้ ถูกสร้างด้วยการที่ปริมาณเซลล์ประสาทจำนวนมากส่งกระแสสัญญาณออกไปพร้อมกันอย่างเป็นจังหวะ
• ลดปริมาณของฮอร์โมนคอร์ติซอลที่เกี่ยวกับความเครียด
• เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแกร่ง
• ช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยทางกายหลายอย่าง เช่น โรคเกี่ยวกับหัวใจและระบบหลอดเลือด หอบหืด เบาหวานประเภท 2 กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (PMS) และอาการปวดเรื้อรัง
• ช่วยอาการทางจิตหลายประเภทด้วยกัน เช่น อาการนอนไม่หลับ กระวนกระวาย โรคกลัว (phobia) และโรคการกินผิดปกติ (eating disorder)
หัวใจสำคัญในการที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการเจริญภาวนาก็คือการพัฒนาการฝึกปฏิบัติทุก ๆ วัน ไม่สำคัญว่าจะเป็นเวลาสั้นเพียงใด ลองสัญญากับตัวเองว่าคุณจะไม่มีวันเข้านอนก่อนที่จะได้เจริญภาวนาในวันนั้น แม้จะเพียงสั้น ๆ แค่หนึ่งนาทีก็ยังดี
ที่มา สมองแห่งพุทธะ (Buddha’s Brain) – ดร.ริค แฮนสัน, นพ. ริชาร์ด แมนดิอัส สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ อ้างอิงใน https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/123704.html?fbclid=IwAR0NOpuRN-mIrKMBQfdKYagk6lI0RtrmCLGTXvX2G3EDx5FpcVsJDvvHKa0
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย
การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น