วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2562
อานุภาพพุทธสันติวิธี! ตำรวจนาแกปราบปอบ
อานุภาพพุทธสันติวิธี! ตำรวจนาแกปราบปอบ : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
ปรากฏการณ์ปราบปอบของ ร.ต.อ.ภูริทัตต์ ภูริทัตตานนท์ รอง สวป.สภ.นาแก จ.นครพนม ในเหตุการณ์เกิดขึ้นที่บ้านแสงสว่าง ต.พิมาน อ.นาแก จ.นครพนม ร.ต.อ.ภูริทัตต์เมื่อเดินทางไปที่เกิดเหตุวิเคราะห์พฤติกรรมของหญิงสาวอายุประมาณ 35 ปี เกิดอาการประหลาดคลุ้มคลั่ง พูดจาไม่รู้เรื่อง ด้วยใช้ทฤษฎีปอบเพราะลักษณะท่าทางของหญิงคนนี้ เหมือนคนถูกผีเข้าตามคติความเชื่อของชาวอีสาน จึงสังเคราะห์ลงความเห็นว่าถูกปอบเข้า
หลังจากนั้งจึงเข้าสู่ยุทธวิธีของการแก้ปัญหา ยุทธวิธีแรกคือแนวทางสันติวิธีวิถีตำรวจถือการเจรจากับหญิงสาวที่เกิดความผิดปกติคลุ้มคลั่งเป็นพฤติการณ์ของการความขัดแย้งในระดับรุนแรงหรือทุกข์ พร้อมกันนี้ยังใช้พุทธสันติวิธีเข้ามาบูรณาการด้วยการสวดบทปฏิจจสมุปบาทจนทำให้หญิงสาวคนนั้นลดระดับความรุนแรงหรือคลุ้มคลั่งลง
จากการปฏิบัติหน้าที่สร้างสันติภาพให้เกิดขึ้นกับหญิงสาวคนนั้นของร.ต.อ.ภูริทัตต์ ยังได้ใช้ยุทธวิธีการสื่อสารประกอบด้วยโดยให้ลูกน้องบันทึกคลิปการทำงานเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์จนเป็นข่าวโดงดังทางได้รับการชื่นชมในความสามารถในครั้งนี้
เมื่อดังสื่อกระแสหลังก็ให้ความสนใจเดินทางไปสัมภาษณ์ทราบว่า ก่อนที่เข้ารับราชการตำรวจนั้นได้ร่ำเรียนพุทธสันติวิธีวิชาความรู้ทางธรรมมาตั้งแต่เป็นเด็กโดยบวชเรียนตั้งแต่อายุ 13 ขวบ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุในเวลาต่อมา รวมบวชเรียนในร่มผ้ากาสาวพัสตร์ 9 ปี 9 เดือน จึงนำมาบูีรณาการในการออกทำงาน
ร.ต.อ.ภูริทัตต์ ได้กล่าวว่า การเผยคลิปภาพการทำงานดังกล่าว ไม่ได้มีเจตนาหลบหลู่ความเชื่อ หรืออวดใคร แต่อยากสร้างความเชื่อมั่นกับประชาชนว่า การทำงานของตำรวจเจอทุกรูปแบบ ทุกสถานการณ์ หากเราเอาสติ ความสามารถที่มีอยู่มาใช้ จะทำให้ทุกอย่างจบด้วยดี ปราศจากการสูญเสีย หรือเหตุการณ์รุนแรง หลังแจ้งเหตุมีหญิง ที่มีอาการผิดปกติ คลุ้มคลั่ง ใส่ชุดขาว เนื่องจากเคยมีอาการป่วยทางประสาท ชาวบ้านเชื่อว่า มีผีเข้า ตนจึงได้ร่วมกับทีมงานตำรวจ ออกไปตรวจสอบ เกรงว่าจะเกิดปัญหาวุ่นวาย เพราะหญิงผู้นี้เข้าไปโวยวายในบ้านของฝรั่ง
"เบื้องต้นใช้วิธีเจรจาต่อรองสอบถาม ซึ่งพบว่าไม่สามารถพูดคุยรู้เรื่อง มีอาการขาดสติ ตามความเชื่อและศึกษาทางธรรมมา น่าจะมาจากผีเข้า ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนบุคคล จึงได้ใช้หลักธรรมะที่ร่ำเรียนมาพูดคุยให้เกิดสติ และมีการสวดมนต์เป็นบทแผ่เมตตา สวดสาธยายธรรม ตามตำราพระไตรปิฎก เรียกบทสวดปฏิจจสมุปบาท ที่พระพุทธเจ้าเคยสวดให้พระสาวกฟังที่เกี่ยวกับอริยสัจ 4" ร.ต.อ.ภูริทัตต์ กล่าวและว่า
หลักคำสอนพระพุทธเจ้า คือความจริงอันประเสริฐ ทุกข์ มรรค สมุทัย นิโรธ ทำให้เกิดเรื่องแปลกจากหญิงที่พูดจาไม่รู้เรื่องเหมือนผีเข้า มีอาการสงบ และทำให้สถานการณ์คลี่คลาย ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของความเชื่อที่ต้องใช้วิจารณญาณ โดยการทำงานของตำรวจในการดูแลประชาชน อยากให้ประชาชน ต้องเข้าใจว่าไม่ได้ ใช้เฉพาะหลักกฎหมาย หรือความรุนแรง จะต้องมีการพิจารณานำหลักธรรมะ หรือหลักความเป็นจริงเกี่ยวกับความเชื่อ ความศรัทธา เข้ามาใช้ด้วย จึงจะทำให้การทำงานเกิดความสงบสุขในสังคม ซึ่งส่วนตัวทุกวันนี้ ยังชอบเข้าวัดปฏิบัติธรรมตลอด
จากผลการปฏิบัติหน้าที่ของร.ต.อ.ภูริทัตต์ดังกล่าวนั้น ที่มีเมตตาเป็นพื้นฐาน ได้บูรณาการศาสตร์ทั้งศาสตร์ตำรวจ หลักสันติวิธีคือการเจรจาต่อรอง และหลักพุทธสันติวิธีอันดับแรกคือดึงสติของหญิงสาวคนดังกล่าวให้กลับคือมาด้วยการสวดบทสวดปฏิจจสมุปบาท หรือเรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น คือสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี การเทศนาปฏิจจสมุปบาท ดังแสดงไปแล้วข้างต้น เรียกว่า อนุโลมเทศนา หากแสดงย้อนกลับจากปลายมาหาต้น จากผลไปหาเหตุปัจจัย เช่น ชรามรณะเป็นต้น มีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชาติมีเพราะภพเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย ดังนี้ เรียกว่า ปฏิโลมเทศนา
ปฏิจจสมุปบาทที่ระบุข้างต้นคือสายเกิดทุกข์ ขณะเดียวกันก็ได้ระบุถึงปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับทุกข์ คือ ความทุกข์ จะดับไปได้เพราะ ชาติ (การเกิดอัตตา"ตัวตน"คิดว่าตนเป็นอะไรอยู่) ดับ ชาติ จะดับไปได้เพราะ ภพ (การมีภาระหน้าที่และภาวะทางใจ) ดับ ภพ จะดับไปได้เพราะ อุปาทาน (ความยึดติดในสิ่งต่าง ๆ) ดับ อุปาทาน จะดับไปได้เพราะ ตัณหา (ความอยาก) ดับ ตัณหา จะดับไปได้เพราะ เวทนา (ความรู้สึกทุกข์หรือสุขหรือเฉยๆ) ดับ เวทนา จะดับไปได้เพราะ ผัสสะ (การสัมผัส) ดับ ผัสสะ จะดับไปได้เพราะ สฬายตนะ (อายตนะใน6+นอก6) ดับ สฬายตนะ จะดับไปได้เพราะ นามรูป (รูปขันธ์) ดับ นามรูป จะดับไปได้เพราะ วิญญาณ (วิญญาณขันธ์) ดับ วิญญาณ จะดับไปได้เพราะ สังขาร (อารมณ์ปรุงแต่งวิญญาณ-เจตสิก) ดับ สังขาร จะดับไปได้เพราะ อวิชชา (ความไม่รู้อย่างแจ่มแจ้ง) ดับ
ดังนั้นจึงรวมปฏิจจสมุปบาทเป็น 24 ประการ หรือเรียกว่า อริยสัจใหญ่ ส่วนอริยสัจ 4 เรียกว่า อริยสัจเล็ก
ความจริงแล้วบทสวดปฏิจจปสมุปบาท ก็คือบทสวดที่มีเนื้อว่าด้วยหลักแห่งเหตุผล ซึ่งหลักแห่งเหตุผลนี้เป็นคุณลักษณะของมนุษย์ไม่ใช่ลักษณะของปอบ เพราะมนุษย์เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล หากคนใดไม่มีเหตุผลก็อาจจะแสดงได้ว่าไม่ใช่มนุษย์ คำว่า "สิ่งนี้มีสิ่งนี้" ขยายความคือ "เหตุนี้มีผลนี้จึงมี" ไม่มีเหตุก็ไม่มีผล
บทปฏิจจสมุปบาทที่ตำรวจนาแกท่องให้ผู้หญิงคนฟังนั้น ก็คือบทที่พระอัสสชิแสดงธรรมให้แก่อุปติสสมาณพแล้วดวงตาเห็นธรรม จึงทำหญิงสาวคนดังกล่าวมีสติเห็นธรรมหายจากอาการคลุ้มคลั่งเกิดสันติภาพ เพราะอานุภาพแห่งพระธรรมและอานุภาพแห่งพระธรรมก็คืออานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า บวกกับการทำหน้าที่ของร.ต.อ.ภูริทัตต์ที่มีลักษณะเป็นสังฆานุภาพจนเกิดเอกภาพเป็นมรรคสมังคี ทำให้เกิดสันติภาพดังกล่าว
Cr.ข้อมูลจาก https://www.springnews.co.th/crime/454960,ภาพจาก
https://www.tnamcot.com/view/A06eUTS
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์
วิเคราะห์ปัญจาลวรรคในพระไตรปิฎกเล่มที่ 23: พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 15 อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ พระไตรปิฎกเล...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น