วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562
๒๕ มีนาคม ๖๒ วัดทุ่งเสลี่ยมหล่อพระประธานในอุโบสถ 'พระธรรมสามิราชศาสดา'
๑๑.๑๙ น. ๒๕ มีนาคม ๖๒ วัดทุ่งเสลี่ยม อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย จัดพิธีเททอง "พระธรรมสามิราชศาสดา" หน้าตัก ๑๐๘ นิ้ว เพื่อประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ
พระครูสุเขตสุทธาลังการ (อลงกรณ์ อนาลโย) เจ้าอาวาส วัดทุ่งเสลี่ยม บอกว่า พระธรรมสามิราชศาสดา เป็น พระพุทธรูปปางมหาจักรพรรดิ์ทรงเครื่องใหญ่ ศิลปะสุโขทัยทรงเครื่องใหญ่ สมัยอยุธยาตอนปลาย องค์พระพุทธรูปทรงเครื่องขัตติยราชแบบกษัตริย์อย่างเต็มยศ เช่น สวมมงกุฎ มีกรรเจียกจอน ตกแต่งเครื่องถนิมพิมพาพร อาทิ กุณฑล พาหุรัด ข้อพระกร ธำมรงค์ สร้อยสังวาล ทับทรวง ปั้นเหน่ง สนับเพลา ชายไหว กำไลพระบาท รองพระบาท โดยมีพุทธลักษณะคล้ายกับ พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา พระพุทธรูปทรงเครื่อง ยังมีความหมายในหลาย 'นัย' เช่น เรื่องการรวมร่างกษัตริย์ให้เป็นเทวราชา
การนับถือพระพุทธเจ้าว่าอยู่ในวรรณะกษัตริย์ และยังเป็นการอธิบายความว่า กษัตริย์ของสยามประเทศเป็น 'หน่อพระพุทธเจ้า' หรือผู้สืบเชื้อสายจากพระพุทธองค์โดยตรง เป็นต้น ในสยามประเทศ การสร้าง พระพุทธรูปทรงเครื่อง เป็นที่นิยมอย่างมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ -๒๓ จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๔ โดยแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือ พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย และ พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ 'พระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย' เป็นพระพุทธรูปที่มีเค้าโครงศิลปะบาปวน ศิลปะบายน อาจทำเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก หรือ ‘พระชัยพุทธมหานาถ’
ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ ทรงโปรดฯ ให้จำหลักขึ้นทั้งหมด ๒๓ องค์ และพระราชทานไปประดิษฐานยังที่ต่างๆ ในขอบเขตของพระราชอำนาจ เช่น ที่เมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นต้น โดยมาปรากฏอย่างชัดเจนในสมัยอยุธยา มีการแต่งองค์ทรงเครื่อง เช่น สวมเทริด หรือศิราภรณ์ มีกุณฑล (ตุ้มหู) สังวาล ทับทรวง ปั้นเหน่ง สนับเพลา รองพระบาท ฯลฯ แต่ยังไม่เต็มยศ
สำหรับ พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่' เริ่มปรากฏตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางเรื่อยมา องค์พระพุทธรูปจะทรงเครื่องขัตติยราชแบบกษัตริย์อย่างเต็มยศมากขึ้น เช่น สวมมงกุฎ มีกรรเจียกจอน ตกแต่งเครื่องถนิมพิมพาพร อาทิ กุณฑล พาหุรัด ข้อพระกร ธำมรงค์ สร้อยสังวาล ทับทรวง ปั้นเหน่ง สนับเพลา ชายไหว กำไลพระบาท รองพระบาท อย่างอลังการ เช่น พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ วัดหน้าพระเมรุ จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งนับเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
โดยผู้ทำบุญสมทบ ๑๐๐ บาท รับพระธานองค์จิ๋วหน้าตักกว้าง ๑.๕ซม.ห้อยคอได้ ๑ องค์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร ๐๖๓-๑๖๒๕๔๙๕ และเพจวัดทุ่งเสลี่ยม https://www.facebook.com/profile.php?id=100027849861287หรือชมคลิปวิดีโอได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=K1mBKsFG5c8&feature=youtu.be
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย
การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น