วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2562

‘Data journalism’ ทางรอดสื่อยุคดิจิทัล



‘Data journalism’ กลยุทธ์ทางรอดการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนในยุคดิจิทัล
ในปัจจุบันวงการสื่อสาร มวลชนมีความเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเป็นอย่างมาก การเข้ามาของโซเชี่ยลมีเดียทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็วมากว่าเดิมโดยไม่ต้องพึ่งพานักข่าวอย่างเดียวเหมือน ที่ผ่านมา   

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดคำถามว่าสื่อมวลชนยังจำเป็นต้องมีอยู่หรือไม่ และอะไรจะเป็นตัวช่วยให้แขนงวิชาชีพนี้ กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง 

การเข้ามา Data journalism จึงเป็นคำตอบและอีกเป็นอีก 1 ตัวช่วยที่จะทำให้สื่อมวลชนสามารถเอาตัวรอดในช่วงสภาวะที่การนำเสนอข่าวในแขนงต่างๆถูกความไวและฉาบฉวยของโซเชี่ยลมีเดียบดบัง 

ดร.เอกพล เถียรถาวร อาจารย์ประจำสาขาวารสารศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้กล่าวถึงการรายงานข่าว โดยใช้ Data journalism ในโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกูรูออนไลน์ ปีที่ 4 ครั้งที่  1 โดยระบุว่า

Data journalism เป็นการรายงานข่าวจากข้อมูลเชิงประจักษ์ หรือข้อเท็จจริงที่จับต้องได้ เป็นหลักโดย วิเคราะห์ อย่างเป็นระบบ ผสมผสานกับการตั้งคำถามและการเล่าเรื่อง เพื่อให้เกิดเป็นประเด็นใหม่ แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตาราง หรืออินโฟกราฟฟิก ให้ประชาชนสามารถรับรู้และเข้าใจเรื่องดังกล่าวได้ง่ายขึ้น 

‘ในประเทศไทยเริ่มมีการใช้ Data journalism มารายงานข่าวบ้างแล้วโดยเฉพาะสื่อออนไลน์ ข่าวที่นำเสนอ Data journalism อันดับ 1 คือข่าวการเมือง รองลงมาคือด้านการเงินและลงทุน อย่างไรก็ตามข่าวบันเทิงและกีฬาก็นำมาใช้ได้เช่นกัน’   ดร.เอกพล กล่าว

ดร.เอกพล ยังได้ยกตัวอย่าง สำนักข่าวออนไลน์อย่าง The MATTER  ได้เริ่มใช้ Data journalism มาสร้างประเด็นใหม่ให้น่าสนใจ อย่างการนำเสนอเรื่องเปิด ‘กรุผีไทย’ จากรายการ The shock 

ดร.เอกพล ยังพูดถึงการเข้าถึงข้อมูลเพื่อรายงานข่าวในสไตล์  Data journalism สามารถ ทำได้หลากหลายวิธีไม่ว่าจะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การขอข้อมูลจากภาครัฐโดยการใช้พ.ร.บ. ข่าวสาร แม้กระทั่งข้อมูลจาก google data ก็สามารถนำใช้ได้

‘เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วเราสามารถหาประเด็นจากข้อมูล จากการนับความถี่ หรือ คิดเป็นสัดส่วน มากน้อยแค่ไหน กี่เปอร์เซ็น หรือจะเป็นการเปรียบเทียบทางสังคม,พื้นที่,เวลา แนวโน้มการเพิ่มหรือลดในแต่ละปี เพื่อมาสนับสนุนการรายงานข่าวจาก Data journalismได้’ ดร.เอกพล กล่าว 

อย่างไรก็ตาม ดร.เอกพล ระบุว่า ยังไม่มีคำตอบว่า Data journalism จะมาแทนที่การทำข่าวแบบเดิมหรือได้หรือไม่ แต่สิ่งที่ Data journalism ทำได้ในขณะนี้คือ ช่วยเหลือสื่อออนไลน์ หรือสื่อในแขนงต่างๆ ทำประเด็นข่าวให้ดูดีและมีประโยชน์ อีกทั้งเป็นการเจาะลึก ช่วยเปิดเผยเรื่องที่ปกปิดอยู่ในรูปแบบของข้อมูลที่กระจัดกระจาย เป็นส่วนซับพอร์ตที่ทำให้ข่าวน่าเชื่อถือมากขึ้น

 ‘โลกของเราเต็มไปด้วยทรัพยากรข้อมูล เราสามารถดึงมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในแง่ต่างๆได้ และ Data journalism มีความสำคัญต่อผู้บริโภคเป็นอย่างมาก เพราะช่วยให้ผู้บริโภค สร้างความคุ้นเคยการบริโภคข่าวจากข้อเท็จจริง ทำให้ รู้เท่าทันไม่ถูกบิดเบือนข้อมูลจนเกิดความเข้าใจผิดได้’  ดร.เอกพล กล่าวทิ้งท้าย 

นับว่า ‘Data journalism’ เป็นทางรอดของสื่อยุคดิจิทัลที่ต้องใช้สู้กับกระแสข่าวจากโซเชี่ยลมีเดียที่เต็มไปด้วยความฉาบฉวย สามารถสร้างประโยชน์ให้กับผู้สื่อข่าวและผู้ที่รับข่าวสารได้อย่างแท้จริง

Cr. https://www.tnnthailand.com/content/14513?fbclid=IwAR1JFTjPqxhR2PfZVlQv7fTltipVAp9yn3Xq7fxoNxm-_trIT-y9n4UYpjQ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บุคคลไม่ควรคบยามสูงวัย

การแยกแยะบุคคลที่ควรคบในวัยสูงอายุเป็นสิ่งสำคัญในบริบทพุทธสันติวิธี เพื่อเสริมสร้างความสงบสุขภายในและการใช้ชีวิตที่สมดุล การปฏิบัติตามหลักธร...