วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562

Good Monday!'ทักษิณ'แนะทางฟื้นเศรษฐกิจใน1ปี




เมื่อวันที่ 18 มีนาคม  นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้จัดรายการกู๊ด มันเดย์ (Good Monday) กับ ดร.ท้กษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นรายการที่จัดขึ้นทุกวันจันทร์ ตอนที่ 10 โดยครั้งนี้ใช้ชื่อหัวข้อ ถามตอบอนาคตประเทศไทย ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 เป็นการตอบคำถามจากทางบ้านว่า ทำอย่างไรให้พัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้นใน 1 ปี ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ทุกภาคส่วน จัดการกระจายทรัพยากรใหม่ให้ทั่วถึง และบริหารจัดการเปิดเสรีภาพแบบยุคโลกาภิวัตน์

โดยตอนที่ 1  นายทักษิณ ได้ระบุถึงหลักการที่ทำให้เศรษฐกิจฟื้นใน 1 ปี โดยดูที่ทรัพยากรในประเทศ ปัจจุบันบางอย่างลงทุนเยอะไป บางอย่างลงทุนน้อยไป หรือเรียกว่า  Re-Matching Resources ปัจจัยต่อมาคือรายได้ตั้งแต่ระดับครอบครัวหรือระดับประเทศ และยุคโลกาภิวัฒน์มีการเคลื่อนย้ายแรงงานทุน เน้นการซื้อขายออนไลน์ รวมถึงความรู้และเทคโนโลยีแม้ัจะสามาเข้าห้องสมุดโลกแต่ติดที่ปรับปรุงภาษาอังกฤษ และเสริมสภาพคล่องให้กับคนชนบทด้วย CryptoMoney เพราะคนส่วนใหญ๋ต้องดิ้นรนเพื่อมีชีวิตอยู่กู้หนี้ยืมสินหมุนเงินไปเรื่อยทำให้หนี้ครัวเรือนสูง

ดังนั้นการที่จะพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้กลับขึ้นมาดีภายใน 1 ปี เนี่ยคือ  1.ต้องปรับโครงสร้างหนี้ให้ประชาชนและภาคธุรกิจขนาดเล็ก 2.ต้องจัดการบริหารทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสม โดยที่ยังไม่ต้องไปกู้เพิ่ม แล้วก็ 3.บริหารด้านของโลกาภิวัตน์ให้ดี เพื่อจะไม่ให้เราต้องขาดดุลตลอดเวลา โดยที่ขาดดุลนอกบัญชี ขาดดุลในบัญชีมันไม่ขาดดุลเพราะว่าเราส่งออกเยอะ แต่ขาดดุลนอกบัญชีมันจะเกิดขึ้น โดยที่เงินมันไหลออกเราไม่รู้ตัว

"การเกษตรต้องเปลี่ยนจากเกษตรวิถีเป็นเกษตรเพื่อธุรกิจ นั่นคือต้องเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ต้องเอาการตลาดเข้ามาใช้ ต้องเอาระบบการขายออนไลน์เข้ามาใช้ เพราะฉะนั้นต้องหากินกับดินส่วนหนึ่ง หากินกับดิน หากินกับการเกษตรเนี่ยส่วนหนึ่ง ส่วนที่ 2 ก็หากินกับสิ่งที่มันอยู่ในสายเลือดหรือใน DNA ของคนไทย นั่นก็คือความมีสุนทรียะ การมีทักษะ ไม่ว่าจะเป็นทำกับข้าว คนอีสานยังทำกับข้าวอาหารญี่ปุ่นได้ ฝรั่งได้หมด เรามีงานฝีมือที่สวยงาม  แต่ว่าก็ต้องเอาเทคโนโลยีเข้ามาบวกด้วย" นายทักษิณ กล่าวและว่า 

หากินด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยมีเทคโนโลยีเข้ามาใส่ แล้วอันนึงก็คือหากินบนเทคโนโลยีจริงๆ เหมือนที่เด็กหนุ่มชื่อ นาดีม ที่ทำอยู่ที่อินโดนีเซียนะครับ วันนี้คนไทยเราเด็กหนุ่มของเรามีศักยภาพอีกเยอะ แต่เพียงไม่มีทุน สมัยก่อนเนี่ยของผมใช้แลกเช็ค แต่สมัยนี้ยังมีพวกกองทุนต่างๆ มากมาย แต่ว่าสำคัญคือไอเดียต้องมี เดี๋ยวนี้มีไอเดียแล้วเงินมันหาง่าย แต่ถ้าไม่มีไอเดีย วิ่งไปขอกู้เงินก่อน เพราะว่าเงินขาดมือเนี่ยกู้ยาก เพราะคนไม่เชื่อถือ เพราะฉะนั้นต้องกู้ด้วยไอเดีย ต้องมีไอเดีย ของผมระยะหลังตอนหลังมาที่ผมพ้นจากแลกเช็คเนี่ย ผมก็เอาไอเดียไปขายแล้วก็กู้ บางที่สมัยก่อนเลียนแบบก็มีนะครับ เราเอาไอเดียไปขาย เค้ามีตังค์หนิ เค้าเลียนแบบเราเลยก็มี ต้องระวังหน่อย ต้องเอาไอเดียที่ดีไปเสนอ แต่ว่าหลักการ วิธีการเนี่ยเราเก็บไว้ เพราะเราต้องเป็นคนทำ 

นายทักษิณ กล่าวด้วย 3 อย่างวันนี้ที่ผมมองเห็นเร็วๆ เนี่ย คือ 1.ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ในการทำมาหากินทางเทคโนโลยีนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Blockchain ก็ดี การค้าขายออนไลน์ก็ดี การทำ Sharing Economy เหมือนที่โกเจ็กทำก็ดี แล้วก็เรื่องของการที่จะทำเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แล้วอันที่ 3 ก็ทำเกี่ยวกับเรื่องดิน เอาการเกษตรทั้งหลายนะครับ ถ้าจะทำ Organic ก็ต้องพลิกหน้าดินก่อน   มีกองทุนพลิกหน้าดิน อันนี้ต้องทำนะครับ ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้ถ้าทำพร้อมๆ กันใน 1 ปี ทำได้ 

สำหรับตอนที่ 2  ได้ระบุถึง Sharing economy เทคโนโลยีในอนาคต โดยเฉพาะหุ่นยนต์เข้ามาแรง โดยได้ไปคุยกับ Google Google ของอินโดนีเซียถือว่าเป็น Google ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ตอนนี้กำลังทำเรื่อง Deep Mind ก็คือว่การ ใช้ AI หรือ artificial intelligence เข้าใจมนุษย์ที่ลึก เข้าใจวิธีคิดของมนุษย์ด้วยเขาก็ไปได้ไกล  ดังนั้นอุตสาหกรรมไทยจะต้องปรับปรุง

โดยเริ่มจากการพัฒนาการศึกษาต้องเปลี่ยนรูปโฉมการศึกษาอย่างสิ้นเชิง ถ้าเรายังศึกษาแบบเดิมอยู่เนี่ย เด็กไทยจะไม่ฉลาด คิดไม่เป็น และไม่ทันโลก ในปี 2045 เขาทำนายไว้ว่า Robot จะคิดเป็นทำเป็นเท่ากับมนุษย์ที่มีสมองอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย แต่ถ้ามนุษย์ที่มีเกณฑ์สมองที่สูงกว่าเฉลี่ยก็จะเก่งกว่าหุ่นยนต์ ต่ำกว่าเฉลี่ยก็จะโง่กว่าหุ่นยนต์ เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าการศึกษาเราไม่ปรับปรุงขืนยังเป็นอย่างนี้อยู่  แล้วเป็นแบบท่องจำอยู่ ครูไม่สามารถจะสอนแบบใหม่ได้ เด็กไม่มีทางจะฉลาดได้ อันที่สองก็คือเรื่องภาษาอังกฤษ    นั่นคือเห็นว่าการเรียนรู้ยุคใหม่เนี่ยต้องไปด้วยระบบดิจิตอลหมด ส่วนครูจะต้องกลายเป็นแค่ผู้อำนวยความสะดวก(facilitator) ไม่ใช่ครูเป็นคนสอนอย่างเดียว และต้องกระจายอำนาจการศึกษา

ช่วงท้ายนายทักษิณได้ตอบคำถามถึงแนวทางในการใช้ชีวิตและพัฒนาตัวเองเป็นยังไงบ้างว่า ผมเป็นคนพุทธ แต่จริงๆ แล้วหลักการทุกศาสนาเหมือนกันนะครับ สอนให้เป็นคนมีหลักมีเกณฑ์ เป็นคนดีนะครับ ก็ผมจะยึดหลักธรรมเยอะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนสมัยก่อนที่ผมจะเป็นนายกเนี่ย คณะลูกศิษย์พระพุทธทาสก็มาขอให้ผมไปพูดเรื่องพระพุทธทาสที่ข้าพเจ้ารู้จัก ตอนนั้นผมก็ได้ยินแต่ชื่อท่าน แต่ไม่รู้จักหลักธรรมที่ท่านสอน คณะลูกศิษย์ก็เลยเอาหนังสือพระพุทธทาสมาเป็นสิบๆ เล่มเลย ผมไปอยู่เมืองนอกช่วงนั้นก็ไปอ่าน ก็ต้องยอมรับว่าตอนแรกๆ อ่านยากไม่เข้าใจ ตอนหลังได้ความรู้เยอะมาก ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีปรัชญา ถ้าเราเข้าใจปรัชญา เราปรับใช้ในชีวิตได้เลย เพราะฉะนั้นหลักธรรมที่เป็นปรัชญาจะเป็นหัวใจสำคัญในการไกด์ใช้ชีวิตเราควบคุมชีวิตเรา ให้เรามีหลักมีเกณฑ์นะครับ
แล้วก็ผมเนี่ยเจอลีกวนยู ลีกวนยูมาเยี่ยมผมตอนผมเป็นนายก ผมก็ถามท่านว่าทำไมท่านถึงมีความรู้มากมายขนาดนี้ ท่านอ่านหนังสือเยอะเหรอ ท่านก็บอกว่าหนังสือก็อ่านอยู่หรอก แต่หนังสือมันเยอะเหลือเกิน อ่านไม่ทันหรอก มั้นต้องอาศัยว่าได้พบปะพูดคุยกับผู้คน ผู้คนแต่ละคนที่มาพบผมเนี่ยนะ ก็มีประสบการณ์ในชีวิตเป็นสิบๆ ปีมา บางทีบางครั้งเนี่ยมีประเด็นอะไรต่างๆ เราถามเขา ดูวิธีการที่เค้าตอบ เขารีแอคขึ้นมาเนี่ย มันทำให้เราเข้าใจอะไรเยอะขึ้น แล้วเราเรียนรู้จากคนอื่นที่เขามีประสบการณ์ทั้งชีวิตมาเนี่ย เป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะฉะนั้น ผมก็หลักในการใช้ชีวิตผมก็คือ มีหลักปรัชญาตามคำสั่งสอนของศาสนาพุทธ ซึ่งศาสนาอื่นก็เหมือนกันนะครับมีปรัชญาหมดนะครับ แต่บังเอิญผมเป็นคนศาสนาพุทธผมก็เลยบอกว่าหลักปรัชญาศาสนาพุทธเนี่ยสำคัญ

เพราะฉะนั้นหลักของผมในชีวิตก็คือ 1.ยึดปรัชญาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อันที่ 2.ก็คืออ่านหนังสือพูดคุยกับคน และอันที่ 3.ก็คือว่าเราจะต้องเข้าใจอดีต แต่ไม่อยู่กับอดีต อย่าหลงอดีต ถ้าคนหลงอดีตโตยาก  เพราะฉะนั้นเราจะต้องเข้าใจอดีตเพื่อเป็นบทเรียน


สุดท้ายคือผมต้องการมากที่สุดคือเวลามีคำถามอะไรต้องการคำตอบทางวิทยาศาสตร์ หรือ scientific answer ก็คือต้องมีการค้นคว้าหาข้อมูล มีการวิเคราะห์วิจัย ไม่ใช่ฟังเขามาเรื่อยเปื่อย หรือไม่ใช่เชื่อแบบนิยายปรัมปรา คือพระพุทธเจ้าก็สอนไว้ว่าหลักธรรม ท่านไม่ค่อยเล่นเรื่องของเครื่องรางของขลัง ท่านไม่ได้เล่น ท่านว่าแต่เรื่องของหลักธรรมเป็นปรัชญาอย่างเดียว ปรัชญาของท่านเป็นวิทยาศาสตร์ เพราะฉะนั้นก็หลักการการดำเนินชีวิตที่ดีก็คือ ยึดปรัชญาคำสั่งสอนของพระศาสดา ที่คุณนับถือ  แต่ไม่ใช่เป็นความงมงายลุ่มหลงสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้นะครับ แล้วก็ยึดหลักความสุขที่ถูกต้องก็คือให้คนรอบตัวเรามีความสุขกับเรานะครับ แล้วก็หมั่นเรียนรู้ เป็นโลกของ Lifelong Learning เพราะฉะนั้นก็หยุดเรียนรู้ไม่ได้ ถึงแม้จะจบปริญญาเอกมาก็ยังต้องอ่านหนังสือ หยุดเรียนรู้ไม่ได้ เป็นโลกของ Lifelong Learning ไม่งั้นก็ต้องขยันอ่าน ขยันพบกับผู้คน เพื่อที่แลกเปลี่ยนความรู้กัน ขยันไปดูนิทรรศการต่างๆ เพื่ออัพเดทตัวเอง แล้วเมื่อมีข้อสงสัยต้องหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่จินตนาการนะครับ อันนี้ก็จะทำให้เราชีวิตเรามีความสุขได้ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ อักโกสกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22

  วิเคราะห์ อักโกสกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ อั...