วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562

สสส.หนุนคณะสงฆ์บุรีรัมย์ จัดตั้งกองบุญ เพื่อสุขภาพพระสงฆ์



คณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์ โดยคณะสงฆ์ตำบลบ้านแวง ซึ่งได้รับคัดเลือกให้พื้นที่นำร่องระดับตำบล (ของภาคอีสาน) สนับสนุนโดย สสส.  ผุดโมเดลนำหลักสังคหวัตถุ 4แปลง ทุน เป็น บุญ จัดตั้งกองบุญเพื่อสุขภาพระสงฆ์ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง  จังหวัดบุรีรัมย์



เมื่อเวลา 09.00-11.00 น. วันที่ 17 มีนาคม 2562  ที่ศาลาการเปรียญ วัดสระบัว  พระครูปทุมสราภรณ์เจ้าคณะตำบลบ้านแวง ประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล  เจ้าอาวาสวัดสระบัว  ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ พื้นที่นำร่องระดับตำบล(ของภาคอีสาน) ตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์  พร้อมด้วยคณะสงฆ์ตำบล ชุมชน หน่วยงานภาครัฐในเขตตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง ร่วมกับ ดร.ปิยวัฒน์ คงทรัพย์ อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา วิทยาลัยสงฆ์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) พร้อมคณะทำงานระดับพื้นที่  ประชุมรายงานผลการดำเนินโครงการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ ระดับตำบลในรอบที่ผ่านมา เพื่อนำเสนอผลการศึกษาต่อกับคณะสงฆ์ชุมชนภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

พระครูปทุมสราภรณ์   กล่าวว่า  โดยที่สถานการณ์สุขภาพในพื้นที่ตำบลบ้านแวง ในรอบปีที่ผ่านมา กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นตำบลบ้านแวง องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแวง ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านแวง ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพแก่ประชาชนในตำบลรวมทั้งตรวจและคัดกรองสุขภาพพระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษา ตามวัดต่าง ๆ ในพื้นพี่ครบทุกวัดตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งแบ่งเขตปกครองเป็น 13 หมู่บ้าน ปัจจุบัน มีวัด ๖ วัด เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย 5 วัด วัดสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย 1 วัด มีโรงเรียน 2 แห่ง มี 1,196 หลังคาเรือน มีประชากร 5,094 คน ผู้สูงอายุ 578 คน  ซึ่งการดูแลสุขภาพพระสงฆ์นั้น เป็นสิ่งสำคัญ เพราะพระสงฆ์เป็นผู้สืบทอดพระศาสนา ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ศึกษาหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า แล้วนำหลักธรรมคำสอนนั้นมาประกาศเผยแผ่ให้พุทธศาสนิกชนได้ศึกษาและปฏิบัติตาม นอกจากนี้พระสงฆ์ยังทำหน้าที่เกื้อกูลชุมชน สังคม เป็นที่พึ่งทางใจแก่พุทธศาสนิกชนในการดำเนินชีวิต เป็นเนื้อนาบุญให้พุทธศาสนิกชนได้ทำบุญในโอกาสต่าง ๆ     
  
อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขภาวะของพระสงฆ์ ก็เป็นสิ่งสำคัญว่าทำอย่างไรจึงจะดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ให้มีสุขภาพดี ทำอย่างไรพระสงฆ์จึงจะไม่เป็นผู้ป่วยรายใหม่ในสังคมจากประเด็นดังกล่าวนี้  พระครูปทุมสราภรณ์ เจ้าคณะตำบลบ้านแวง ประธานหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล  เจ้าอาวาสวัดสระบัว ตำบลบ้านแวง     อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์  จึงได้ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายในพื้นที่ระดับตำบลเพื่อร่วมขับเคลื่อน “ธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ' สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)หวังสร้างสุขภาวะพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย โดยดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม พร้อมหนุนกลไกพื้นที่ขับเคลื่อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยเน้นการให้ความรู้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของพระสงฆ์ สร้างพระรุ่นใหม่จิตอาสาเป็นพระคิลานุปัฎฐาก เพื่อสาธารณสุขอุปัชฌาย์อาจารย์ตามนัยแห่งพระไตรปิฎก มีทั้งพระสงฆ์ดูแลกันเองตามพระธรรมวินัย ชุมชนสังคมเข้ามาดูแลอุปัฏฐากท่านตามพระธรรมวินัย บทบาทการเป็นผู้นำของพระสงฆ์ในการดูแลสุขภาวะของชุมชนสังคมโดยเฉพาะสุขภาวะด้านปัญญา จำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน ทุกภาคส่วน รวมถึงประชาชนซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนทุกท่านต้องช่วยกันเพื่อให้พระสงฆ์มีสุขภาวะที่ดีทั้งทางด้านกาย ใจ สามารถปฏิบัติธรรมและเป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณสามารถเผยแพร่หลักธรรมคำสอน ให้กับพุทธศาสนิกชนได้อย่างยั่งยืน

เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวให้เห็นเป็นรูปธรรม มั่นคง และยั่งยืน จึงได้ร่วมกับชุมชน ระดมทรัพยากร ทุน และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากชุมชนมาใช้สนับสนุนโครงการและกิจกรรมที่กำหนดไว้ ชุมชนมีการบริจาคทุนทรัพย์ เข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพชุมชน ตามกำลังศรัทธาเพื่อบำเพ็ญสาธารณกุศล ในโอกาสในงานบุญตามประเพณีต่าง ๆ  ด้วยการสืบสานปณิธานตามพุทธดำรัสที่พระองค์ทรง ตรัสเกี่ยวกับการได้ดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์ไว้ว่า “การได้ดูแลอุปัฏฐากพระสงฆ์ผู้ป่วย ก็เป็นบุญเท่ากับ ได้อุปัฏฐากพระพุทธเจ้า ”นั่นเอง

ดร. ปิยวัฒน์ กล่าวว่า  การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ เกิดจากการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์คณะสงฆ์ วัด ชุมชน สังคม และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วน ร่วมกันออกแบบ พัฒนา ขับเคลื่อน และทบทวนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ระดับพื้นที่ร่วมกันวางเป็นกรอบทิศทาง วิสัยทัศน์ หรือข้อตกลงร่วม หรือกรอบกติการ่วมที่พระสงฆ์ คณะสงฆ์ชุมชน สังคมและหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการตามธรรมนูญสุขภาพ ในระดับพื้นที่ เพื่อกำหนดเป็นประเด็นทางสุขภาพในเบื้องต้น คือ หมวดที่ 5 เรื่องการขับเคลื่อนธรรมนูญพระสงฆ์แห่งชาติสู่การปฏิบัติ ข้อที่ 1 และ 2” (ขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ระดับพื้นที่ในเขตตำบลบ้านแวงการจัดตั้งกองทุนสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ระดับตำบล) วางกรอบแนวคิด แปลง ทุน ให้เป็น บุญ สู่กองบุญ  โดยชื่อว่า “กองบุญ เพื่อสุขภาพพระสงฆ์ตำบลบ้านแวง”เพื่อเป็นต้นแบบนำไปสู่การปฏิบัติและวัดได้อย่างเป็นรูปธรรม  

โดยมีการวางระบบบริหารจัดการ รูปแบบ คณะกรรมการบริหาร มีคณะทำงานคณะอนุกรรมการ แต่ละชุด ชุดที่ 1 ทำหน้าที่  ตรวจสอบ/กลั่นกรองแผนงาน/โครงการกิจกรรมชุดที่ 2 ทำหน้าที่ด้านการเงิน/การบัญชีการช่วยเหลือต้นทาง /กลางทาง/ปลายทางชุดที่ 3 ทำหน้าที่ ติดตามประเมินผลรายงานการดำเนินงานเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าร่วมในการวิเคราะห์ปัญหาสุขภาพของพระสงฆ์ ชุมชน และร่วมจัดทำแผนสุขภาพตำบล โครงการและกิจกรรม ผู้รับผิดชอบ เพื่อการแก้ปัญหาด้วยกระบวนของชุมชน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบทบาทภาคประชาชน ท้องถิ่น และทุก ๆ ภาคส่วนในท้องถิ่นที่มีการบูรณาการร่วมกัน ช่วยกันค้นหา หรือกำหนดปัญหาสุขภาพ กำหนดอนาคต ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาด้านสุขภาพและมาตรการทางสังคมรวมทั้งนวัตกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ด้วยความตั้งใจ เต็มใจ มีจิตสำนึกสาธารณะ สร้างทัศนคติ ความเชื่อ ลักษณะนิสัย ค่านิยม(Values)และพฤติกรรม เป็นวิถีชีวิตวิถีชุมชน โดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมและเรียนรู้ร่วมกัน

ก่อให้เกิดมีการระดมทรัพยากร ทุน และภูมิปัญญาท้องถิ่นจากชุมชนมาใช้สนับสนุนโครงการและกิจกรรมที่กำหนดไว้ ชุมชนมีการบริจาคทุนทรัพย์ เข้ากองบุญ เพื่อสุขภาพพระสงฆ์ตำบลบ้านแวง ตามกำลังศรัทธาเพื่อบำเพ็ญสาธารณกุศล ในโอกาสในงานบุญตามประเพณีต่าง ๆ โดยนำหลักพุทธธรรม คือ สังคหวัตถุ 4 (4S) มาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุสู่เป้าหมาย และกลายเป็นคตินิยม(Values) สำหรับชุมชน คือ พระแข็งแรง วัดมั่นคง  ชุมชนเป็นสุขซึ่งสามารถสรุปเป็นกรอบแนวคิดได้ดังนี้

1. Smile = (ทาน) หมายถึง การจัดตั้งกองทุนสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ระดับตำบลแสดงให้เห็นว่า ทุกคนรู้จักการให้และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รวมถึงการช่วยเหลือเกื้อกูล การที่ยิ่งใหญ่คือการให้อภัยกัน การที่ดีโดยไม่ต้องลงทุนมาก คือ Smile การยิ้ม รอยยิ้มเป็นประตูสู่หัวใจสร้างสุขภาพจิตที่ดีให้แก่กันและกัน

2. Speaking = (ปิยวาจา) หมายถึง การจัดตั้งกองทุนสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ระดับตำบล แสดงให้เห็นว่า ทุกคนรู้จักการให้และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รวมถึงการช่วยเหลือเกื้อกูล ด้วยคำพูดที่มีความไพเราะ มีประโยชน์ มีความเหมาะสม ตรงจุดมุ่งหมาย ด้วยการใช้ศิลปะการพูด ก่อให้การมีส่วนร่วมเป็นพลังในการขับเคลื่อนส่งผลให้การติดต่อประสานและทำงานบรรลุจุดหมาย

3. Service = (อัตถจริยา) หมายถึง การจัดตั้งกองทุนสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ระดับตำบลแสดงให้เห็นว่า ทุกคนมีจิตบริการ บำเพ็ญตนให้เกิดประโยชน์ ทั้งประโยชน์ส่วนตน ประโยชน์ส่วน และทั้งประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์ส่วนตัว ด้วยจุดมุ่งหมาย 1) ให้เกิดประโยชน์เฉพาะหน้าตาเห็น ๆ คือประโยชน์ปัจจุบันประโยชน์ (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) คุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพจิตดี และการยอมรับที่ดีจากสังคมรอบข้างที่เราอยู่ ที่สุดก็เพื่อให้คนเรารู้จักเห็นอกเห็นใจกัน ช่วยเหลือกันฉันท์พี่น้องคนที่เดือดร้อนก็ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ไม่ถูกทอดทิ้ง มีชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นสังคมที่มีความสุข เพราะคนเราในโลกต้องเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้ออาทรต่อกัน จะอยู่แบบตัวใครตัวมันไม่ได้ 

2) ประโยชน์เลยตาเห็น(สัมปรายิกัตถะ) ประโยชน์สุขที่สูงขึ้น นั่นคือในระดับจิตที่สูงขึ้นไปเพื่อเราจะได้เรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเอง ให้เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นบุคคลที่มีศีลธรรม มีคุณธรรม มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความอบอุ่นซาบซึ้งสุดใจด้วยศรัทธา ภาคภูมิใจ อิ่มใจ แกล้วกล้ามั่นใจในชีวิตที่ได้ทำบุญ เพื่อจัดตั้งกองทุนสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ โดยความรวมถึงจุดหมายต่อมาเมื่อละโลกนี้ไปแล้วด้วย  3) ประโยชน์สูงสุด (ปรมัตถะ) ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ ประโยชน์ที่เป็นสาระแท้จริงของชีวิต ได้แก่ มีจิตเป็นอิสระปลอดโปร่งผ่องใส ไม่หวั่นไหวไปกับความผันผวนปรวนแปรของชีวิต หรือการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักในชีวิต ไม่ถูกบีบคั้นโดยความยึดมั่นของตนเอง สงบเย็นสว่างไสวโดยสมบูรณ์ตามหลักแห่งประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ส่วนรวมที่เรียกว่าอัตถะ 3 คือ 

1) อัตตัตถะ ประโยชน์ตน 2) ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น และ3) อุภยัตถะ ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ช่วยกันสร้างสรรค์ชุมชนให้อยู่ดี มีความเจริญงอกงามมั่นคง และเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความเจริญงอกงามและประโยชน์สุขของทุกคน แต่ละคนก็จะทำชีวิตของตนให้ดีงาม มีความสุขความเจริญ เป็นชีวิตที่ประณีตประเสริฐเข้าถึงประโยชน์สุขที่สูงยิ่งขึ้นไป พร้อมทั้งเป็นผู้พร้อมที่จะทำประโยชน์ให้แก่เพื่อนร่วมชุมชนและเป็นผู้นำชุมชนได้อย่างดี อันเนื่องจากทุกคนรับผิดชอบต่อชีวิตของตนและทุกคนในชุมชนทุกคน นั่นเอง
               
4. Support = (สมานัตตตา) หมายถึงการจัดตั้งกองทุนสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ระดับตำบล เป็นการสนับสนุนการทำความดี หรือผู้ทำความเจริญ ให้ดียิ่งๆขึ้นไปโดยปรารถนาให้ทุกคนมีความสุข แสดงถึงความมีจิตแผ่ไมตรีมีน้ำใจปรารถนาประโยชน์สุขที่เกิดขึ้นต่อส่วนรวม
               
ทั้ง  4s นำไปสู่ความบรรลุจุดมุ่งหมายให้กลายเป็นคตินิยม V1 (Values) สำหรับชุมชน      ในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพระสงฆ์ระดับตำบลบ้านแวง อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์เป็น คตินิยม (Values) ว่า.....  ทางธรรมนำทางโลก  : พระแข็งแรง วัดมั่นคง  ชุมชนเป็นสุข

จากการดำเนินการ ดังกล่าว นอกจาก ทำให้ได้ทราบถึงสถานการณ์สุขภาพของประชาชนและพระสงฆ์ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านแวงอำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ ได้สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของพระสงฆ์คณะสงฆ์ วัด ชุมชน สังคม และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการออกแบบ พัฒนา ขับเคลื่อน และทบทวนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ระดับพื้นที่ โดยพระสงฆ์คณะสงฆ์ วัด ชุมชน สังคม และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่     มีการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม ตามหลักศาสนา ในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ระดับพื้นที่ในเขตตำบลบ้านแวงและจัดตั้งกองทุนสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ระดับตำบล ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม  โดยใช้ชื่อว่า  “กองบุญเพื่อสุขภาพพระสงฆ์ตำบลบ้านแวง” แล้ว ยัง ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ส่งผลต่อตนเอง สังคม ชุมชน โดยมีการจัดตั้ง “กองบุญเพื่อสุขภาพพระสงฆ์ตำบลบ้านแวง”แสดงให้เห็นว่าทุกคนรู้จักการให้และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รวมถึงการช่วยเหลือเกื้อกูล การให้ที่ยิ่งใหญ่ คือ การให้อภัยกัน การทำดีโดยไม่ต้องลงทุนมาก คือ การยิ้ม (Smile)รอยยิ้มเป็นประตูสู่หัวใจ สร้างสุขภาพจิตที่ดีให้แก่กันและกัน ทุกคนรู้จักการให้และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รวมถึงการช่วยเหลือเกื้อกูล ด้วยคำพูด(Speaking)ที่มีความไพเราะ มีประโยชน์ มีความเหมาะสม ตรงจุดมุ่งหมาย ด้วยการใช้ศิลปะการพูด ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมเป็นพลังในการขับเคลื่อนส่งผลให้การติดต่อประสานและทำงานบรรลุจุดหมาย

ทุกคนมีจิตบริการ(Service) บำเพ็ญตนให้เกิดประโยชน์ ทั้งประโยชน์ส่วนตน ประโยชน์ท่าน ทั้งประโยชน์ส่วนรวมและประโยชน์ส่วนตัว ด้วยจุดมุ่งหมาย 1) ให้เกิดประโยชน์เฉพาะหน้า  ตาเห็น ๆ คือประโยชน์ปัจจุบันประโยชน์ (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) 2) ประโยชน์เลยตาเห็น(สัมปรายิกัตถะ) ประโยชน์สุขที่สูงขึ้น นั่นคือในระดับจิตที่สูงขึ้นไป เพื่อเราจะได้เรียนรู้ที่จะพัฒนาตัวเอง ให้เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นบุคคลที่มีศีลธรรม มีคุณธรรม มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความอบอุ่นซาบซึ้งสุดใจด้วยศรัทธา ภาคภูมิใจ อิ่มใจ แกล้วกล้ามั่นใจในชีวิตที่ได้ทำบุญ เพื่อจัดตั้งกองทุนสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ โดยความรวมถึงจุดหมายต่อมาเมื่อละโลกนี้ไปแล้วด้วย  3) ประโยชน์สูงสุด (ปรมัตถะ) ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ สภาวะจิตใจสงบเย็นสว่างไสวโดยสมบูรณ์ตามหลักแห่งประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ประโยชน์ส่วนรวมที่เรียกว่าอัตถะ 3 คือ 

1) อัตตัตถะ ประโยชน์ตน 2) ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น และ 3) อุภยัตถะ ประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย ช่วยกันสร้างสรรค์ชุมชนให้อยู่ดี มีความเจริญงอกงามมั่นคง และเป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อความเจริญงอกงามและประโยชน์สุขของทุกคน แต่ละคนก็จะทำชีวิตของตนให้ดีงามมีความสุขความเจริญ เป็นชีวิตที่ประณีตประเสริฐเข้าถึงประโยชน์สุขที่สูงยิ่งขึ้นไป พร้อมทั้งเป็นผู้พร้อมที่จะทำประโยชน์ให้แก่เพื่อนร่วมชุมชน และเป็นผู้นำชุมชนได้อย่างดี อันเนื่องจากทุกคนรับผิดชอบต่อชีวิตของตนและทุกคนในชุมชนทุกคน นั่นเอง เป็นการสนับสนุนการทำความดี หรือผู้ทำความเจริญ ให้ดียิ่งๆขึ้นไปโดยปรารถนาให้ทุกคนมีความสุข แสดงถึงความมีจิตแผ่ไมตรี(Support) มีน้ำใจปรารถนาประโยชน์สุขที่เกิดขึ้นต่อส่วนรวม
                
และได้ส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ คณะสงฆ์ วัด ชุมชน สังคมและหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วนในระดับพื้นที่ให้มีการนำหลักพุทธธรรม คือ หลักสังคหวัตถุ 4 และ 4sมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรม ตามหลักศาสนาในการขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์ระดับพื้นที่ในเขตตำบลบ้านแวงและจัดตั้งกองทุนสุขภาพสำหรับพระสงฆ์ระดับตำบล ขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วิเคราะห์ กิมพิลวรรค์ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22

  วิเคราะห์ กิมพิลวรรค์ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งเน้นว...