วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2562
'ปีย์ มาลากุล'แนะเลือกให้ดี ถ้า'ไม่ชอบปฏิวัติ-ชุมนุม'
วันที่ 10 มี.ค.2562 นายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ เครือแปซิฟิก โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นถึงการเลือกผู้แทนประชาชนในการเลือกตั้งครั้งนี้ ว่า เรื่องหนึ่งที่ผมพูดอยู่เสมอก็คือ การให้ความรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยและการทำหน้าที่ของตนเองตามระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง มีความสำคัญมากกว่าการเลือกตั้ง
ผมไม่ได้ต่อต้านการเลือกตั้ง แต่ขอให้พิจารณาบรรยากาศทางการเมืองในเวลานี้ ทั้งที่การเลือกตั้งกำลังใกล้เข้ามา แทนที่เราจะได้มานั่งถกกันว่านโยบายของพรรคการเมืองไหนโดดเด่นอย่างไร มาคุยกันถึงประวัติการทำงานของนักการเมืองแต่ละคน ผลงานของแต่ละพรรค เรากลับได้ยินแต่การแสดงความเห็นที่ชัดเจนว่าคือความเกลียดชัง และดูหมิ่นกันอย่างเปิดเผยไม่สนใจแล้วว่า เรากำลังจะเลือกนักการเมืองเข้าไปทำอะไรในสภา
หลายคนอวดอ้างว่าตนเองคือประชาธิปไตย แต่กลับไม่รับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง แล้วก็ลงท้ายด้วยการใช้ถ้อยคำรุนแรงต่อกัน ที่รู้สึกเป็นห่วงที่สุด ทนไม่ได้จริงๆคือการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของศาลโดยที่ไม่ได้อ่าน ไม่ได้ฟัง ไม่ได้คิดตามคำวินิจฉัยนั้น รู้แต่ว่านี่คือคำตัดสินที่ไม่ได้เป็นไปอย่างที่ต้องการ เป็นการกระทำที่ละเมิดอำนาจศาล ที่ผมส่วนตัวเคารพ การพูดครั้งนี้เข้าข่ายละเมิดอำนาจศาลกันอย่างชัดเจน ที่สุด เราจะเหลืออะไร เป็นที่ยึดเหนี่ยว
ความแตกแยกในสังคมมันชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ หากเราเลือกนักการเมืองด้วยเหตุผลเรื่องรูปลักษณ์ เรื่องที่มีวาทะเฉียบคม แทนที่จะมาพิจารณากันว่านโยบายของเขาทำได้จริงหรือไม่ จะส่งผลดีต่อสังคมของเราหรือไม่ แล้วเราจะได้นายกรัฐมนตรี และพรรคการเมืองแบบไหนมาบริหารบ้านเมือง...แล้วประเทศไทยของเราจะก้าวไปในทิศทางใด....นี่คือความกังวลใจของผมในเวลานี้
ถ้าถือซะว่าเป็นข้อดี คือมีโอกาสได้ยินได้ฟัง ที่นักการเมืองแต่ละคนเปิดเผยธาตุแท้ออกมาว่า เขาอยู่ฝ่ายไหน ที่เห็นๆว่าเมืองไทยมีพรรคการเมืองอยู่มากมายเป็นร้อยนั้น แต่แท้ที่จริงเรามีอยู่ไม่ถึงสิบ แถมบางคนยังชัดเจนว่าสนับสนุนคนที่ทำผิดกฎหมาย ด้วยการอ้างอิงตรรกะที่ผมไม่เข้าใจ ดีครับ ได้ยินแล้วก็ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เหลือตัวเลือกที่จะนำมาพิจารณาน้อยลง
ผมรักประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เคารพและเทิดทูนใน 3 สถาบันอันประกอบไปด้วยชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมในอำนาจทั้ง 3 คืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ
ผมยังคงยืนยันคำเดิมที่ว่า เราต้องรู้ว่าประชาธิปไตยคืออะไร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่เรากำลังจะไปใช้สิทธิ์เลือกกันในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ มีหน้าที่อะไรในสภา นี่คือเรื่องสำคัญมากนะครับ หากคุณไม่ชอบการปฏิวัติ ไม่อยากเห็นการชุมนุมทางการเมืองอย่างรุนแรงเกิดขึ้นอีก เราก็ต้องพิจารณาให้ดีครับ ใช้ปัญญาครับ เพราะอะไรที่จะเกิดขึ้นกับบ้านเมืองเรา พวกเรามีส่วนทุกคนครับ”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ อักโกสกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22
วิเคราะห์ อักโกสกวรรค ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ ในปริบทพุทธสันติวิธี บทนำ อั...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น