วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562
เนชั่นเวย์(สื่อสันติภาพเชิงพุทธ)ในตำนาน
เนชั่นเวย์(สื่อสันติภาพเชิงพุทธ)ในตำนาน : สำราญ สมพงษ์ นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มจร รายงาน
กรณีที่เนชั่นทีวีได้เผยแพร่คลิปที่ระบุเนื้อหาถึงอดีตนักการเมืองคนหนึ่งสนทนากับนักการเมืองคนหนึ่ง ซึ่งข้อเท็จจริงและความจริงจะเป็นอย่างไรนั้นจะไม่ระบุถึง แต่จะระบุถึงผลผลิตจากเนชั่นเวย์ (Nation Way)ที่บรรพชนได้สร้างขึ้นเป็นฐานให้กับอนุชนรุ่นหลังได้พัฒนาตัวเองในวงการสื่อมวลชนและต่อยอดความรู้จนสามารถสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี-เอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้เป็นฐานในการวิจัยเกี่ยวกับจริยธรรมของสื่อมวลชนและสื่อสันติภาพเชิงพุทธ
สำหรับสื่อสันติภาพเชิงพุทธนั้นได้มีผูู้้ได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตาม แนวทางพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก(สันติศึกษา) โดยมีบทคัดย่อความว่า
วิทยานิพนธ์เรื่อง “ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์ตามแนวทางพุทธสันติวิธี : กรณีศึกษาเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก” ซึ่งการดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ นี้ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพตามแนวทางพุทธสันติวิธี (๒) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพในสื่อออนไลน์เว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก และ (๓) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ประโยชน์และคุณค่าของรูปแบบการสื่อสารเพื่อสันติภาพตามแนวทางพุทธสันติวิธีในสื่อออนไลน์เว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึกเพื่อเป็นต้นแบบนำไปประยุกต์ใช้ในสังคม
ผลการวิจัยพบว่า หลักการสื่อสารเพื่อสันติภาพตามแนวทางตามแนวทางพุทธสันติวิธี คือหลักการใช้ “วาจาสุภาษิต” มีองค์ประกอบ ๕ ประการคือ เหมาะกาล จริง ไพเราะ ประสานประโยชน์ และประกอบด้วยเมตตา เป็นองค์ธรรมพื้นฐานช่วยให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นต้นแบบการใช้วาจาสุภาษิตจะพิจารณาองค์ประกอบเหล่านี้ภายใต้เงื่อนไข ๖ กรณี ได้แก่ ๑) คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์ไม่ตรัส ๒) คำพูดที่จริง ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์ไม่ตรัส ๓) คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์เลือกเวลาตรัส ๔) คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์ไม่ตรัส ๕) คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์ไม่ตรัส และ ๖) คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น พระองค์เลือกเวลาตรัส จะเห็นได้ว่ามีเพียง ๒ กรณี เท่านั้นที่พระองค์ตรัสโดยการพิจารณาองค์ประกอบเรื่องเวลาที่เหมาะสม
ส่วนทฤษฎีและหลักการการสื่อสารทั่วไปและการสื่อสารเพื่อสันติภาพ มีองค์ประกอบสอดรับกับหลัก “วาจาสุภาษิต” แต่มีจุดเด่นคนละมิติ โดยการสื่อสารทั่วไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อออนไลน์มีจุดเด่นด้านมิติแห่งกาลเวลาต้องฉับไวทันทีมุ่งกระจายข้อมูล ขณะการสื่อสารเพื่อสันติภาพมีจุดเด่นด้านมิติของการมีส่วนร่วมสร้างประโยชน์ต่อสังคม แต่มีจุดด้อยด้านกระบวนการซึ่งการสื่อสารทั่วไปพิจารณาเพียงมีองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งก็นำเสนอแล้ว ขณะที่การสื่อสารเพื่อสันติภาพค่อนข้างสอดคล้องกับหลักการและรูปแบบแห่งวาจาสุภาษิต แต่ติดขัดด้านองค์ประกอบอื่นอย่างเช่นรายได้ของผู้ส่งสาร
จากการวิเคราะห์พบว่าเว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึกได้ปฏิบัติหน้าที่สะท้อนบริบทของการสื่อสารตามหลัก “วาจาสุภาษิต” ตามโมเดล “๑๔ ส.” คือ “สื่อสารสาระ สืบสานสัมพันธ์ สมัยสมพงษ์ สังคมสุขสำราญ และสร้างสรรค์สันติภาพ” ที่มุ่งสื่อสารที่มีสาระประโยชน์ด้วยลีลาภาษาที่สุภาพสืบสานความสัมพันธ์ให้คนในสังคมไม่โกรธเกลียดกันได้อย่างเหมาะสมกับกาลเวลา ก่อให้เกิดคุณค่าและส่งเสริมให้สังคมเกิดสันติสุขได้ในระดับหนึ่ง
ทั้งนี้สามารถติดตามเนื้อทั้งหมดได้ที่ http://www.mcu.ac.th/site/thesiscontent_desc.php?ct=1&t_id=2892
หากนักสื่อสารมวลชน นักการเมือง ประชาชนทั่วไปได้ศึกษาอย่างตั้งใจ ในเนื้อหาของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ จะทำให้เข้าใจคำว่า ความขัดแย้ง ความรุน สงคราม สันติวิธี สันติภาพและความสงบนั้นเป็นอย่างไร จะมีทำให้เข้าใจว่า ความขัดแย้งนั้นมีสภาพเป็นอย่างไร จะก้าวข้ามความขัดแย้งได้อย่างไร ไม่ใช่เพียงใช้เป็นวาทกรรมตอนหาเสียงหรือการเดินข้ามเท่านั้น
และจากวิทยานิพนธ์เล่มดังกล่าวได้ต่อยอดการศึกษาในระดับปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) โดยเสนอเป็นโครงร่างดุษฎีนิพนธ์เรื่อง "พุทธนวัตกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อสันติภาพของพระสงฆ์ในสังคมไทย" ผ่านเรียบร้อยแล้วขณะนี้กำลังหาทุนในการทำวิจัยอยู่ เชื่อแน่ว่าจะสอดรับกับสภาพสังคมไทยในยุคดิรัปชั่นได้เป็นอย่างดี
Cr.ภาพภาพจาก http://newsjunkies-suthichaiyoon.blogspot.com/2011/10/social-media-nation-way.html
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ กิมพิลวรรค์ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22
วิเคราะห์ กิมพิลวรรค์ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งเน้นว...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น