วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562
'นิสิตอินเตอร์ มจร' ใช้สติเป็นฐานสัมผัสกลิ่นไอ พุทธศิลป์ถิ่นล้านนา
วันที่ 21 มี.ค.2562 พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส รศ.ดร. ผู้อำนวยการวิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติและหลักสูตรสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหาุจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผยว่า #วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ #IBSC มจร ได้นำนิสิตอินเตอร์ระดับปริญญาตรี สาขาพระพุทธศาสนา ที่กำลังศึกษา #รายวิชาพุทธศิลปะ มุ่งหน้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ เมืองที่ร่ำรวยด้วยพุทธศิลปะและวัฒนธรรม ระหว่าง 17-22 มีนาคม 2562 โดยความร่วมมือและรับการสนับสนุนจาก มจร สาขาพุทธศิลปะ หลักสูตรภาษาไทย #วิทยาเขตเชียงใหม่ ซึ่งมี #พระครูธีรสุตพจน์,ดร. อาจารย์ประจำหลักสูตรพุทธศิลปะ ให้การดูแลการศึกษาดูงาน และการปฏิบัติอย่างใดล้ชิด
วัตถุประสงค์หลักของวิทยาลัยนั้น นอกจากมุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจต่อหลักการและเหตุผลของพระพุทธศาสนา (Reason) ซึ่งเป็นสมองซีกซ้ายแล้ว ยังมุ่งเน้นพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ (Emotion) ซึ่งเป็นสมองซีกขวาด้วย วิชาพุทธศิลปะ จึงเป็นการกระตุ้นแง่มุมด้านสุนทรียศาสตร์ ทั้งในส่วนที่เป็นจิตรกรรม ปฏิมากรรม รวมถึงประเพณีและวัฒนธรรม ที่มีพระะพุทธศาสนาเป็นรากฐานที่สำคัญ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว หลักสูตรจึงเริ่มด้วยด้วยการฝึกจิตให้นิสิตเกิดความนิ่งสงบผ่านกิจกรรมทำวัตรสวดมนต์ การใช้สติฝึกจิตให้เกิดสมาธิอย่างแน่วแน่ แล้วนำนิสิตออกไปปรับชุดความคิด (Mindset) ด้วยการเยี่ยมชมพุทธศิลปะ ณ วัดเจ็ดยอด ชมพิพิธภัณฑ์จ๊างนัก เข้าเยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายจาก #พระเทพสิงหวราจารย์ เจ้าอาวาสวัดพระะสิงห์ อดีตรองอธิการบดีวิทยาเขตเชียงใหม่ พร้อมทั้งกราบสักการะและชมความงามของหอลายคำและพระพุทธสิหิงห์
หลังจากนั้น จึงเข้าสู่กระบวนการของการลงมือมือปฏิบัติด้วยการวาดภาพพุทธศิลปะ โดยมีคณาจารย์สาขาพุทธศิลปะ และ #รศ.ลิปิกร มาแก้ว #เฮินศิลป์ใจ๋ยอง อาจารย์ประจำ มทร. ล้านนา เชียงใหม่ เป็นวิทยากรให้การฝึกอบรมทักษะการวาดภาพในครั้งนี้ ซึ่งสามารถกระตุ้นอารมณ์ และทักษะการวาดภาพให้แก่นิสิตอินเตอร์ได้อย่างดียิ่ง จนสามารถทำให้นิสิตได้แปรสุนทรียะออกมาเป็นรูปภาพได้อย่างประสมกลมกลืน
แนวทางนี้ จะสอดรับและกระตุ้นวิสัยทัศน์วิทยาเขตเชียงใหม่ที่เน้น #วิถีล้านนาสู่สากล อันเป็นการยกระดับพุทธศิลปะล้านนาให้ #GoInter และนำอินเตอร์ให้มาสนใจล้านนาแบบ #ComeInter พุทธศิลปะล้านนานั้น มีความโดดเด่นเป็นอินเตอร์โดยธรรมชาติอยู่แล้ว โดยไม่ต้องยกอินเตอร์มาครอบความเป็นล้านนาให้เสียอัตลักษณ์และคุณค่าของตัวเอง ชาวโลกสนใจล้านนาด้วยความเป๋นล้านนาที่แสวงหาได้ ณ สถานที่นี้แห่งเดียวเท่านั้น ฉะนั้น พุทธศิลปะล้านนาจึงทรงควรค่าที่ชาวโลกจะต้องมาเสาะแสวงหาและเสพคุณค่าทางใจแบบไร้ขีดจำกัด
"นี่จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ #IBSC จึงต้องนำนิสิตจากทั่วโลกเดินทางมาสัมผัสกลิ่นไอพุทธศิลปะแบบล้านนาที่หาไม่ได้ที่อื่นในโลก ในขณะเดียวกัน วิทยาลัยจะสร้างเวที หรือ Platform เพื่อนำนิสิต และชาวโลกให้มาสนใจพุทธศิลปะแบบล้านนา และพุทธศิลปะของภาคอื่นๆ" พระมหาหรรษา กล่าวและว่า
ในแผน 12 วิทยาลัยจะเพิ่มการเปิดสาขาพุทธศิลปะ หลักสูตรอินเตอร์ ให้สอดรับกับหลักสูตรภาษาของวิทยาเขตเชียงใหม่ เพื่อชาวโลกได้เห็นมาศึกษาพระพุทธศาสนาผ่านศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของสังคมไทย เพื่อลิ้มรสสุนทรียธรรมที่ทรงค่าที่เป็นภูมิปัญญาไทย อันเป็นนำภูมิปัญญาสู่สากล และนำสากลมาสนใจภูมิปัญญาล้านนา และภูมิปัญญาภาคอื่นๆ ในสังคมไทย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
วิเคราะห์ กิมพิลวรรค์ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22
วิเคราะห์ กิมพิลวรรค์ ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 14 อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ปัญจมปัณณาสก์ บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งเน้นว...
-
เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 พระราชวัชรสารบัณฑิต หรือ “เจ้าคุณประสาร” รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(...
-
วิจารณ์สนั่นหลักสูตรบาลีป.ธ.1-2 ถึงป.ธ. 9 เรียนพระไตรปิฎก 149 หน้า "เจ้าคุณหรรษา" ยกสามเณร 2 รูป หนึ่งจบ ป.ธ. 9 อายุ 17 ปี หนึ่งจบ...
-
พระปิดตายันต์ยุ่งมหาอุตโม หลวงปู่ทิม อิสริโก จัดสร้างเพื่อหารายได้ สร้างหอฉันอุตตโม ออกแบบโดยช่างเกษม มงคลเจริญ ประกอบด้วย เนื้...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น